Header

อยู่ดีๆ ก็ใจสั่น อาการเสี่ยงของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง | ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง

หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

อาการใจสั่น คือความรู้สึกเหมือนหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นช้าหรือเร็วเกินไป เมื่อมีอาการจะเกิดขึ้นไม่นานหัวใจก็จะกลับมาเต้นเป็นปกติเหมือนเดิม และไม่อันตราย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของบางโรคได้ โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนของอาการใจสั่น ที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ

 

อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ พบได้บ่อยแค่ไหน?

อาการใจสั่นนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ปกติ และเป็นสาเหตุหลักที่ผู้ป่วยมักตัดสินใจไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ 

 

อาการใจสั่นอาจรู้สึก

  • หัวใจเต้นช้าหรือเร็วเกินไป
  • อวัยวะบางส่วนสั่น
  • ตื่นตัว นอนไม่หลับ
  • หน้ามืด เวียนหัว
  • เจ็บหน้าอก

 

โรคที่ส่งผลทำให้เกิดอาการใจสั่น

 

สาเหตุที่ทำให้ใจสั่น

  • การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายอย่างหนัก อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ทัน ทำให้หัวใจทำงานหนักเกินไป เต้นแรงและเร็วขึ้น จนกระทั่งเกิดอาการใจสั่นที่ทำให้เรารู้สึกได้ เช่น การวิ่ง 

  • การกินยาบางชนิด

ยาบางชนิดทำให้เกิดอาการใจสั่นได้ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดน้ำหนัก หรือยาความดัน  หากรับประทานยาเหล่านี้ร่วมกันก็อาจทำให้ใจสั่นได้

  • ระดับน้ำตาลในเลือด

หากทั้งวันไม่ได้กินข้าว อาจทำให้มีอาการใจสั่น มือสั่น เหงื่อออก และหน้ามืดได้ เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง

  • เครียดหรือกังวล

ทั้งสองปัจจัยนี้ มีผลเร่งการเต้นของหัวใจ ร่างกายเผชิญความกลัว แม้ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่เป็นอันตรายก็ตาม ส่งผลให้เกิดอาการใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก หายใจติดขัด และเจ็บหน้าอกได้ โดยอาการนี้จะมีอาการคล้ายกับโรคหัวใจ แต่หากไม่แน่ใจว่าเป็นโรคใด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย

  • รับคาเฟอีกมากเกินไป

คาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นการเต้นของหัวใจ ทำให้ใจสั่นได้ นอกจากกาแฟ ยังพบได้จากอาหารหรือเครื่องดื่มอื่น ๆ เช่น ช็อคโกแลต โซดา เครื่องดื่มชูกำลังต่าง ๆ เป็นต้น 

  • มีไข้ ติดเชื้อ

มีไข้มากกว่า 37.8 องศาเซลเซียส ทำให้ร่างกายใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับความเจ็บป่วย หัวใจจึงทำงานหนัก ทำให้เกิดอาการใจสั่นได้

  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีหลายชนิด ภาษาอังกฤษเรียกว่า Arrhythmia ซึ่งทำให้เกิดอาการใจสั่นได้ อาจเร็วไปหรือช้าไป โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีหลายชนิด มีความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนแตกต่างกัน

  • โรคไทรอยด์เป็นพิษ

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) เป็นภาวะที่ฮอร์โมนไทรอยด์หลั่งออกมามากเกินความจำเป็น ส่งผลต่อระบบเผาผลาญของร่างกาย ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีอาการใจสั่น เนื่องจากหัวใจเต้นเร็วเกินไป 

 

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • ตรวจเลือด
  • การทดสอบปัสสาวะ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG/EKG)
  • Echocardiogram (อัลตราซาวนด์หัวใจ)
  • เครื่อง Holter ที่คุณสวมใส่เป็นเวลาหนึ่งวันหรือนานกว่านั้นเพื่อบันทึกกิจกรรมของหัวใจ
  • การศึกษาสรีรวิทยาไฟฟ้า
  • การใส่สายสวนหัวใจ
  • พบนักสรีรวิทยาไฟฟ้า เพื่อปรึกษาเรื่องจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ


 

วิธีรักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ

วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งหากมีโรคประจำตัว หรือภาวพแทรกซ้อนอื่นๆ การรักษาของแต่ละบุคคลก็จะแตกต่างกันออกไป

 

เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบฝัง (ICD)

เครื่องกระตุ้นหัวใจเป็นเครื่องช่วยที่ใช้ส่งชีพจรไฟฟ้าไปยังหัวใจ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ ใช้เพื่อป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่สม่ำเสมอ หรือช้าเกินไปหรือเร็วเกินไป โดย ICD สามารถช่วยป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหันในกรณีที่มีความเสี่ยงสูง บางทีอาจต้องผ่าตัดเพื่อวางเครื่องช่วยนี้บริเวณร่างกาย 

เครื่องกระตุ้นหัวใจ

เครื่องกระตุ้นหัวใจเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ส่งไฟฟ้าเพื่อช่วยให้หัวใจเต้นในอัตราและจังหวะปกติ เครื่องกระตุ้นหัวใจยังสามารถใช้เพื่อช่วยให้ห้องหัวใจเต้นพร้อมกัน เพื่อให้หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดไปยังร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจชั่วคราว (ระยะสั้น) หรือถาวร (ระยะยาว)

 

วิธีควบคุมอาการใจสั่น

เมื่อรู้สึกวิตกกังวลหรือเครียดแล้วเกิดอาการใจสั่น คุณสามารถควบคุมได้โดยการทำกิจกรรมที่ทำให้จิตใจสงบ เช่น โยคะ สมาธิ การฝึกการหายใจ นอกจากนี้ ควรลดการดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพื่อป้องกันการกระตุ้นให้เกิดอาการใจสั่น

 

วิธีการป้องกัน

วิธีการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • ลดระดับความเครียด ด้วยการการออกกำลังกาย เช่น โยคะ ไทเก๊ก และหากิจกรรมที่ช่วยฝึกการหายใจ
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
  • ไม่สูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ควบคุมความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอล
  • ควบคุมน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน

 

อาการใจสั่น อันตรายไหม? แล้วเมื่อไหร่ควรพบแพทย์

อาการใจสั่นมักไม่เป็นอันตราย แต่อย่างไรก็ตาม อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ตามมา ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการ

  • วิงเวียนศีรษะ
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจลำบาก
  • มีเหงื่อออกผิดปกติ
  • มีอาการใจสั่นบ่อยขึ้น

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -15.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4601 หรือ 092 131 6465

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

พญ.ศิริพร อธิสกุล

อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง

อายุรแพทย์โรคหัวใจ

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

นพ.โชติช่วง ทินกร ณ อยุธยา

อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรวจหาแคลเซียม และหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CORONARY CALCIUM SCORE

การตรวจหาปริมาณแคลเซียม หรือหินปูนที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องมือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan)

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจหาแคลเซียม และหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CORONARY CALCIUM SCORE

การตรวจหาปริมาณแคลเซียม หรือหินปูนที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องมือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan)

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาการแน่นหน้าอก เป็นหนึ่งอาการที่บ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ

การแน่นหน้าอก เป็นหนึ่งอาการที่บ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่โรคหัวใจก็มีหลายชนิด แถมมีวิธีคัดกรองหลากหลายวิธี

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาการแน่นหน้าอก เป็นหนึ่งอาการที่บ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ

การแน่นหน้าอก เป็นหนึ่งอาการที่บ่งชี้ถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่โรคหัวใจก็มีหลายชนิด แถมมีวิธีคัดกรองหลากหลายวิธี

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การตรวจหัวใจด้วย คลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ECHOCARDIOGRAM

ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เป็นการตรวจหลอดเลือดใหญ่และหัวใจ ทำงานโดยการอาศัยหลักของการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเช่นเดียวกับอัลตราซาวด์

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การตรวจหัวใจด้วย คลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ECHOCARDIOGRAM

ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เป็นการตรวจหลอดเลือดใหญ่และหัวใจ ทำงานโดยการอาศัยหลักของการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเช่นเดียวกับอัลตราซาวด์

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม