Header

โรคไทรอยด์เป็นพิษ

blank บทความโดย : คลินิกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายและมีความสำคัญอย่างมาก โดยมีหน้าที่หลักคือหลั่งฮอร์โมนซึ่งสำคัญกับการทำงานของร่างกาย หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติอาจทำให้ต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าปกติหรืออาจนำไปสู่ความผิดปกติรุนแรงต่าง ๆ ตามมาได้

หากมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ใจสั่น หงุดหงิดง่าย รู้สึกหรือเห็นก้อนขนาดใหญ่ที่บริเวณคอร่างกายอาจกำลังบ่งบอกว่าเสี่ยงเป็น “โรคไทรอยด์เป็นพิษ” อยู่ก็เป็นได้โดยโรคไทรอยด์เป็นพิษมักพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย


ไทรอยด์เป็นพิษคืออะไร

ไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากเกินไป เมื่อร่างกายมีปริมาณฮอร์โมนมากเกินความต้องการ จะมีสภาวะเป็นพิษจนส่งผลต่อร่างกาย เช่น น้ำหนักลดแม้ทานอาหารมากขึ้น ใจสั่น หัวใจและชีพจรเต้นเร็ว เป็นต้น บางรายที่เป็นนาน ๆ ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็อาจมีหัวใจเต้นผิดจังหวะหัวใจวายหรือว่าภาวะกระดูกบางที่เกิดจากแคลเซียมในเลือดที่สูงกว่าปกติ ทำให้กระดูกอ่อนแอ กลายเป็นโรคกระดูกพรุน


อาการไทรอยด์เป็นพิษ
  • ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว จังหวะไม่สม่ำเสมอ
  • ตาโปน คอโต
  • น้ำหนักตัวลดทั้ง ๆ ที่ทานจุ
  • อารมณ์แปรปรวน กระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย
  • อ่อนเพลีย
  • มีอาการสั่น โดยเฉพาะมือ
  • ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย
  • ถ่ายอุจจาระบ่อย หรือท้องเสีย
  • มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง

ภาวะที่ไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤติ ผู้ป่วยจะมีอาการหัวใจเต้นเร็วมากผิดปกติมีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส อาเจียน ท้องเสีย ตัวและตาจะเหลือง สับสนมึนงงอย่างรุนแรง มีภาวะขาดน้ำและอาจช็อก นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายที่ตรวจพบล่าช้าอาจมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย สาเหตุมาจากหัวใจเต้นเร็วและเต้นผิดจังหวะ


วิธีตรวจต่อมไทรอยด์เบื้องต้น...ด้วยตัวเอง
  • ส่องกระจก ยืดลำคอขึ้น หันทางซ้ายและขวาช้า ๆ เพื่อหาความผิดปกติบริเวณลำคอ
  • ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือทั้งสองข้างคลำลำคอพร้อม ๆ กันในแต่ละด้าน จากด้านหลังไปด้านหน้า และจากบนลงล่าง
  • หากพบการสัมผัสที่ติดขัดเหมือนมีก้อน…ให้ลองคลึงดู
  • หากพบก้อนผิดปกติให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด

ไทรอยด์เป็นพิษ รักษาอย่างไร

การรับประทานยา : ยาที่ใช้ในการรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ คือ ยาที่ออกฤทธิ์ลดการสังเคราะห์ฮอร์โมน ทำให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยลงเมตาบอลิซึมของร่างกายจะลดลงอาการต่าง ๆ ที่เกิดจากการมีเมตาบอลิซึมสูงจะหายไปเช่นใจสั่นเหนื่อยผอมลงขี้หงุดหงิดมือสั่นโดยมากจะให้ยา 1-2 ปีแล้วหยุดยา ผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะสามารถหยุดยาได้โดยไม่กลับมาเป็นซ้ำแต่ผู้ป่วยบางส่วนต่อมไทรอยด์จะกลับเป็นพิษขึ้นอีกภายในระยะเวลา1ปีหลังหยุดยาซึ่งสามารถให้การรักษาด้วยการกินยาต่อไปหรือใช้วิธีอื่นรักษาได้

  • ข้อดีของการรักษาด้วยยา เป็นการรักษาเริ่มต้นและผลข้างเคียงน้อยกว่าวิธีอื่น โดยต่อมไทรอยด์ไม่ถูกทำลายและจะไม่เกิดภาวะไทรอยด์ต่ำเมื่อหยุดยา
  • ข้อเสียของการรักษาด้วยยา ต้องมีการปรับยาเพื่อให้ต่อมสร้างฮอร์โมนออกมาในระดับที่พอดี ผู้ป่วยบางคนอาจกลับเป็นซ้ำเมื่อหยุดยาไม่หายขาดการแพ้ยาระดับที่ไม่รุนแรงอาจเป็นเพียงผื่นคันที่ผิวหนังหรืออาจมีระดับรุนแรง (เกิดน้อย) โดยในผู้ป่วยบางรายอาจพบว่ายามีผลกดให้ระดับเม็ดเลือดขาวต่ำลงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นในระยะ 1-2 เดือนแรกของการกินยาต้องมาพบแพทย์เพื่อติดตามอาการตามนัดโดยเฉพาะหากมีอาการไข้ เจ็บคอหรือมีสัญญาณของการติดเชื้อต้องรีบกลับมาพบแพทย์ เพื่อตรวจวัดระดับของเม็ดเลือดขาว

การรักษาด้วยสารรังสี : การกลืนสารไอโอดีนกัมมันตรังสี จะทำให้เกิดการทำลายของเนื้อเยื่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง แต่ข้อเสียคือผู้ป่วยจะต้องสัมผัสกับสารไอโอดีนกัมมันตรังสีและจะมีเนื้อเยื่อไทรอยด์บางส่วนที่ถูกทำลายไป

การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ : การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนหรือการผ่าตัดออกทั้งหมดสามารถควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็วมักใช้วิธีนี้เมื่อใช้วิธีอื่นแล้วไม่ประสบความสำเร็จแต่ข้อเสียคือผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดและมีโอกาสเกิดภาวะไทรอยด์ต่ำหลังการรักษาเช่นกัน อาจพิจารณาในกรณีมีโรคอื่นของต่อมไทรอยด์ที่ต้องผ่าตัดร่วมด้วย เช่น เนื้องอกของต่อมไทรอยด์ เป็นต้น

เราควรคอยสังเกตอาการตัวเองว่ามีความผิดปกติหรือไม่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถตรวจรักษาภาวะผิดปกติได้รวดเร็วหากมีอาการที่สงสัยภาวะไทรอยด์เป็นพิษดังที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบพบแพทย์ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน ตรวจง่าย วินิจฉัยโรคชัดเจน ไม่น่ากลัว

การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน เป็นวิธิการตรวจวินิจฉัยรูปแบบนึง โดยแพทย์จะใช้กล้องที่ออกมาเฉพาะ โดยจะผ่านกล้องเข้าไปสู่บริเวณที่เราต้องการจะทำการตรวจ

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รู้จักการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน ตรวจง่าย วินิจฉัยโรคชัดเจน ไม่น่ากลัว

การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน เป็นวิธิการตรวจวินิจฉัยรูปแบบนึง โดยแพทย์จะใช้กล้องที่ออกมาเฉพาะ โดยจะผ่านกล้องเข้าไปสู่บริเวณที่เราต้องการจะทำการตรวจ

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ออกกำลังกายแล้วปวดหลัง สัญญาณเสี่ยงที่ควรพบแพทย์

การออกกำลังกายถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการดูแลสุขภาพที่ได้รับการยอมรับ และทำกันอย่างแพร่หลาย โดยการออกกำลังกายนั้นสามารถช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เสริมสร้างระบบการย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหาร ไปจนถึงการสร้างกล้ามเนื้อ หรือช่วยลดความซึมเศร้าหรือความเครียดได้อีกด้วย

ออกกำลังกายแล้วปวดหลัง สัญญาณเสี่ยงที่ควรพบแพทย์

การออกกำลังกายถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการดูแลสุขภาพที่ได้รับการยอมรับ และทำกันอย่างแพร่หลาย โดยการออกกำลังกายนั้นสามารถช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เสริมสร้างระบบการย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหาร ไปจนถึงการสร้างกล้ามเนื้อ หรือช่วยลดความซึมเศร้าหรือความเครียดได้อีกด้วย

มะเร็งตับ (Liver Cancer)

มะเร็งตับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต และเจ็บป่วยเรื้อรังจนเป็นสาเหตุการตายก่อนวัยอันสมควร เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งอยู่ในระยะท้ายของโรค

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งตับ (Liver Cancer)

มะเร็งตับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต และเจ็บป่วยเรื้อรังจนเป็นสาเหตุการตายก่อนวัยอันสมควร เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งอยู่ในระยะท้ายของโรค

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม