Header

มะเร็งกระเพาะอาหาร ภัยซ่อนเร้นของอาการปวดท้อง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

มะเร็งกระเพาะอาหารถือเป็นมะเร็งอันดับที่ 5 ที่มักเกิดขึ้น โรคนี้ถือเป็นอีกโรคที่น่ากลัวที่เราควรตระหนัก เพราะเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ จากโรคมะเร็งทั้งหมดทั่วโลกเลยทีเดียว

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรค

  • การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารแปรรูป อาหารปิ้งย่าง
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • เพศ โดยเพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิงถึง 2 เท่า
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • เคยผ่าตัดกระเพาะอาหาร
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ภาวะอ้วน
  • อาชีพ โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องสัมผัสกับฝุ่นและสารเคมีบางชนิด
  • การติดเชื้อ Helicobacter pylori แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหารและสร้างภาวะอักเสบ หากปล่อยทิ้งไว้เรื้อรัง อาจนำไปสู่โรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้

มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นภัยซ่อนเร้นของอาการปวดท้อง ในระยะแรกของโรคอาจไม่มีอาการแสดงที่เฉพาะและอาจมีอาการคล้ายกับโรคอื่น ๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะอาหารอักเสบ อาหารไม่ย่อย เป็นต้น ซึ่งอาการพวกนี้ทำให้เรามักชะล่าใจที่จะตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง และทำให้ผู้ป่วยหลาย ๆ คนได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องเมื่อโรคเข้าสู่ระยะลุกลามหรือระยะท้าย ๆ แล้ว จึงทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากลำบากยิ่งขึ้น

 

อาการของโรค

  • ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ ปวดเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ
  • ท้องอืดเรื้อรัง
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลด
  • ท้องผูกสลับท้องเสีย
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำคล้ำ ถ่ายเป็นเลือด

ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์

 

การวินิจฉัย

  1. การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
  2. การส่องกล้องกระเพาะอาหาร ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้การตรวจส่องกล้องไม่น่ากลัวอีกต่อไป ผู้ป่วยสามารถทำการตรวจแล้ว สามารถกลับบ้านได้เลย โดยไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล
  3. การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
  4. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

เพราะความผิดปกติเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารและลำไส้มักไม่ได้แสดงอาการเฉพาะที่ชัดเจนตั้งแต่แรกเริ่ม แถมอาหารทั้งหลายยังมีลักษณะคล้ายคลึงกับโรคธรรมดาไม่ร้ายแรง ดังนั้นการตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องจึงเป็นวิธีบ่งชี้ความผิดปกติที่ดีที่สุดที่ช่วยหยุดยั้งโรคร้ายได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

 

เตรียมตัวก่อนเข้ารับการส่องกล้องอย่างไร?

  • งดอาหารและน้ำล่วงหน้าก่อนเข้ารับการส่องกล้อง 6 – 8 ชั่วโมง
  • งดทานยาบางชนิดตามที่แพทย์แจ้งก่อนเข้ารับการตรวจ 7 – 10 วัน เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกในกระเพาะอาหารระหว่างส่องกล้อง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ควรมีญาติมารับกลับบ้าน เพราะผู้ตรวจอาจได้รับยาระงับความรู้สึกเฉพาะจุด ซึ่งอาจส่งผลให้อ่อนเพลีย ง่วงนอน หรือมึนงงได้ จึงไม่ควรขับรถกลับบ้านเองหลังจากทำการส่องกล้อง

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบบทดสอบการนอนและตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)

การตรวจการนอนหลับ คือ การตรวจเพื่อสังเกตและวัดการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายขณะนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระดับออกซิเจนในเลือด และกล้ามเนื้อ

แบบทดสอบการนอนและตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)

การตรวจการนอนหลับ คือ การตรวจเพื่อสังเกตและวัดการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายขณะนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระดับออกซิเจนในเลือด และกล้ามเนื้อ

การเรียนออนไลน์กับเด็ก

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด- 19  เด็กไม่สามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติเป็นระยะเวลานานเป็นปี และเพื่อไม่ให้เด็กขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ การเรียนออนไลน์เป็นรูปแบบการเรียนที่โรงเรียนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศนิยมใช้กันทั่วไป

การเรียนออนไลน์กับเด็ก

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด- 19  เด็กไม่สามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติเป็นระยะเวลานานเป็นปี และเพื่อไม่ให้เด็กขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ การเรียนออนไลน์เป็นรูปแบบการเรียนที่โรงเรียนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศนิยมใช้กันทั่วไป

ดูแค่เล็บ ก็เช็คโรคได้

“เล็บมือ” ของคนเราสามารถบอกสุขภาพได้ โดยพิจารณาจากลักษณะรูปทรง ผิวของเล็บ สีของเล็บ ดอกของเล็บ และวงจันทร์ หรือไม่มีวงจันทร์ที่ฐานเล็บ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ดูแค่เล็บ ก็เช็คโรคได้

“เล็บมือ” ของคนเราสามารถบอกสุขภาพได้ โดยพิจารณาจากลักษณะรูปทรง ผิวของเล็บ สีของเล็บ ดอกของเล็บ และวงจันทร์ หรือไม่มีวงจันทร์ที่ฐานเล็บ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม