Header

การเรียนออนไลน์กับเด็ก

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด- 19  เด็กไม่สามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติเป็นระยะเวลานานเป็นปี และเพื่อไม่ให้เด็กขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ การเรียนออนไลน์เป็นรูปแบบการเรียนที่โรงเรียนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศนิยมใช้กันทั่วไป
 

ข้อดีของการเรียนออนไลน์

  1. เด็กและครอบครัวรู้สึกปลอดภัยจากการติดเชื้อ
  2. ครอบครัวได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น
  3. พ่อแม่คอยส่งเสริมและสนับสนุนลูกในด้านการเรียน เด็กอาจทำงานโดยมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
     

การเรียนออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ

  1. เด็กและครอบครัวจะต้องมีอุปกรณ์เทคโนโลยีที่พร้อม ทันสมัยและเหมาะสม
  2. โรงเรียนมีสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะกับรูปแบบออนไลน์ 
  3. ครูและนักเรียน รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องมีความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีนั้น

ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา พบว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้วัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่อายุระหว่าง 18-24 ปี ร้อยละ 63 มีความวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน จากการศึกษาทั้งในต่างประเทศและประเทศไทย พบว่าการเรียนออนไลน์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต พฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก ดังนี้
 

ผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย

  • ปวดตา มีปัญหาด้านสายตา ปวดเมื่อย ปวดหลัง เนื่องจากต้องนั่งอยู่หน้าจอนานๆ
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นเนื่องจากขาดการออกกำลังกายหรือกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามปกติเมื่อเด็กไปโรงเรียน
  • รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา พักผ่อนและนอนน้อยลง จากการบ้านที่เพิ่มขึ้น ขาดการฝึกวินัยในการเข้านอน ตื่นและรับประทานอาหารเพื่อไปโรงเรียน
     

ผลกระทบต่อด้านสุขภาพจิต พฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก

  • เด็กรู้สึกเบื่อ ไม่มีสมาธิ และขาดแรงจูงใจในการเรียน เนื่องจากการเรียนออนไลน์จะประยุกต์การจัดกิจกรรมและฝึกปฏิบัติการเช่นที่โรงเรียนได้ค่อนข้างยาก  หรือสภาพแวดล้อมที่บ้านไม่เหมาะสมกับการเรียนออนไลน์
  • เด็กแอบเล่นเกมในระหว่างเรียนออนไลน์ ไม่ได้ติดตามการเรียนในขณะนั้น
  • เด็กต้องเรียนอยู่หน้าจอตลอด  มีการบ้านมากและต้องส่งครูด้วยวิธีการที่ต่างไปจากเดิมทำให้เด็กรู้สึกเหนื่อยล้า หากเรียนที่โรงเรียนเด็กสามารถขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆหรือครูในการส่งการบ้านได้ในบางเรื่อง
  • การเรียนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน สมองของเด็กจะมีการประมวลผลข้อมูลอื่นๆร่วมด้วย เช่น สีหน้าท่าทาง การสบตา ภาษากาย จังหวะและระดับของเสียงที่พูด เป็นต้น
  • เด็กขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนซึ่งเป็นโอกาสที่เด็กจะได้ฝึกทักษะทางสังคม เด็กบางรายจะรู้สึกวิตกกังวลและซึมเศร้า
  • เด็กได้รับผลกระทบจากความเครียดของผู้ปกครองที่เครียดจากสถานการณ์ ปัญหาเศรษฐกิจและต้องคอยกำกับดูแลลูกในการเรียนออนไลน์โดยเฉพาะผู้ปกครองเด็กเล็ก
  • เด็กที่ต้องสอบเข้าในช่วงชั้นต่อไป เช่น ม. 1, ม.4 หรือสอบเข้ามหาวิทยาลัย จะมีความเครียด วิตกกังวลเกี่ยวกับการสอบ รวมทั้งการวัดและประเมินผลที่จะต้องนำผลสอบไปใช้
     

แนวทางสำหรับพ่อแม่ในการดูแลเด็กที่เรียนออนไลน์

  • จัดตารางกิจกรรมในแต่ละวันร่วมกับลูก ได้แก่ การรับประทานอาหาร การเรียน ทำงานบ้าน พักผ่อนและออกกำลังกาย
  • จัดสิ่งแวดล้อม มุมสงบในบ้านเป็นสถานที่เฉพาะสำหรับการเรียนเพื่อช่วยให้เด็กมีสมาธิในการเรียน
  • ให้เด็กได้เว้นช่วงการเรียน พักจากหน้าจอเป็นระยะๆ ไปทำกิจกรรมอื่นๆบ้าง
  • ชวนลูกออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมเคลื่อนไหวต่างๆ
  • พูดคุยกับลูก ทำกิจกรรมที่สนุกร่วมกัน
  • กำกับและควบคุมในเรื่องวินัยของลูก เช่น การตื่น การรับประทานอาหาร เวลาเรียนและเข้านอนอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก
  • ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในห้องรียนในรูปแบบออนไลน์

 

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคอัลไซเมอร์

คุณเคยสังเกตผู้สูงอายุที่บ้านหรือไม่ว่ามีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป มีอาการหลงลืม สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ไม่สามารถรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และใช้ภาษาผิดปกติ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคอัลไซเมอร์

คุณเคยสังเกตผู้สูงอายุที่บ้านหรือไม่ว่ามีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป มีอาการหลงลืม สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ไม่สามารถรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และใช้ภาษาผิดปกติ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คลายนิ้วล็อค…ง่ายนิดเดียว

โรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยทั่วไปจะพบในผู้หญิงมากกว่าชาย กลุ่มโรคนิ้วล็อกในปัจจุบันพบได้มากขึ้น เนื่องจากใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คลายนิ้วล็อค…ง่ายนิดเดียว

โรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยทั่วไปจะพบในผู้หญิงมากกว่าชาย กลุ่มโรคนิ้วล็อกในปัจจุบันพบได้มากขึ้น เนื่องจากใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยจะมีอุบัติการณ์มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่50ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเช่น การตรวจพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่(colonic polyp), การมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคลำไส้อักเสบ(inflammatory bowel disease), การทานผักน้อยและทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก เป็นต้น

การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยจะมีอุบัติการณ์มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่50ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเช่น การตรวจพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่(colonic polyp), การมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคลำไส้อักเสบ(inflammatory bowel disease), การทานผักน้อยและทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก เป็นต้น