Header

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองอันตราย อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด !!

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่อยู่ใกล้ตัวเรา  และไม่ควรมองข้ามเช่นกัน ควรใส่ใจ และให้ความสำคัญ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถเกิดได้ในทุกอวัยวะ เพราะต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น คอ รักแร้ ข้อพับแขน ข้อพับขา ช่องอก หรือช่องท้อง อีกทั้งเซลล์น้ำเหลืองก็ยังอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายด้วย ไม่ว่าจะเป็นลำไส้ หรือกระเพาะอาหารจึงสามารถเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้หมดทุกที่ของร่างกาย

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คืออะไร ?

โรคที่มีเนื้องอกร้ายชนิดหนึ่งเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำเหลืองหรือโครงสร้างต่อม ซึ่งระบบน้ำเหลืองก็เป็นระบบหนึ่งของภูมิคุ้มกัน ประกอบไปด้วย อวัยวะน้ำเหลือง ได้แก่ ม้าม และไขกระดูก ซึ่งภายในอวัยวะเหล่านี้จะเต็มไปด้วยน้ำเหลือง มีหน้าที่นำสารอาหาร และเซลล์เม็ดเลือดขาวไปทั่วร่างกาย และเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านี้เกิดความผิดปกติ จึงทำให้เกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองขึ้นมา


 

ประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งเป็น 2 ประเภท

  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin’s Lymphoma: HL) เกิดจากความผิดปกติลิมโฟไซต์ชนิดB หรือชนิดT ซึ่งเป็นชนิดของเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำการแบ่งตัวโดยไม่สามารถควบคุมได้ และสะสมกลายมาเป็นเซลล์มะเร็งในระบบน้ำเหลืองในที่สุด
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin’s Lymphoma: NHL) เกิดความผิดปกติและทำการแบ่งตัวโดยไม่สามารถควบคุมได้ สุดท้ายจะถูกสะสมจนกลายมาเป็นเซลล์มะเร็งในระบบน้ำเหลือง

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ปัจจัยเสี่ยง คือ ภาวะที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าการที่มีปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งแล้วจะต้องเกิดโรคนั้นเสมอไป ในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถบอกสาเหตุของมะเร้งต่อมน้ำเหลืองทุกรายได้อย่างชัดเจนแต่พบมีความสัมพันธ์กับหลายภาวะ ได้แก่

  • อายุ : อุบัติการณ์ของมะเร้งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นโดยอุบัติการณืสูงสุดอยู่ที่ช่วงอายุ 60-70 ปี
  • เพศ : เพศชายพบเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากกว่าเพศหญิง
  • การติดเชื้อ พบความสัมพันธ์ระหว่างมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดกับการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori กับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด MALT lymphoma การติดเชื้อไวรัส EBV กับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Burkitt
  • ภาวะพร่องภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ป่วย HIV พบอุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น
  • โรคภูมิแพ้ตนเอง (Autoimmune disease) ผู้ป่วย SLE พบอุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น
  • การสัมผัสสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลงจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง


 

การวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

การวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะเริ่มต้นจากการซักประวัติและการตรวจร่างกาย จากนั้นจะพิจารณาสืบค้นเพิ่มเติมอีก ได้แก่

  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา (ฺBiopsy)
  • การตรวจไขกระดูก (Bone marrow biopsy)
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (PET scan หรือ CT scan)
  • การเจาะเลือดเพื่อดูผลเลือดต่าง ๆ

ซึ่งผลการตรวจทั้งหมดจะนำมาประเมินระยะของโรค เพื่อเป็นแนวทางในการพยากรณ์โรคและการรักษาโรคต่อไป


 

การประเมินระยะของโรค

แพทย์ผู้ทำการรักษาจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากการสืบค้นเพิ่มเติม แล้วนำมาประมวลว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะใดของโรค เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการวางแผนการรักษาต่อ ระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งออกเป็น 4 ระยะ

ระยะที่ 1 : มีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองหรือนอกต่อมน้ำเหลืองเพียงบริเวณเดียว

ระยะที่ 2 : มีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองหรือนอกต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ 2 ตำแหน่งขึ้นไป โดยต้องอยู่ภายในด้านเดียวกันของกะบังลม

ระยะที่ 3 : มีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองหรือนอกต่อมน้ำเหลือที่อยู่คนละด้านของกะบังลม และ/หรือพบรอยโรคที่ม้ามร่วมด้วย

ระยะที่ 4 : มีรอยโรคกระจายออกไปเกินตำแหน่งเริ่มต้นที่พบ ตำแหน่งที่พบการกระจายได้บ่อย เช่น ตับ, ไขกระดูก, หรือปอด

นอกเหนือจากการประเมินระยะของโรคแล้ว แพทย์ผู้รักษาจะอาศัยข้อมูลอื่น ๆ ของผู้ป่วยเพื่อนำมาคำนวณหาดัชนีประเมินการพยากรณ์โรคเพิ่มเติมด้วย ซึ่งจะสามารถแบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง และกลุ่มเสี่ยงต่ำ


 

อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

  • จะพบก้อนที่บริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ โดยก้อนเหล่านั้นจะไม่มีอาการเจ็บ ต่างจากการติดเชื้อที่จะมีอาการเจ็บที่ก้อนเนื้อ มีไข้ หนาวสั่น มีเหงื่อออกมากในกลางคืน
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดเร็ว อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ​ไอเรื้อรัง
  • หายใจไม่สะดวก
  • ต่อมทอนซิลโต
  • ปวดศีรษะ ซึ่งอาการนี้มักพบบริเวณต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาท

แต่บางครั้งการคลำเจอก้อนก็อาจไม่ใช่ก้อนมะเร็งเสมอไป เพราะอาจเป็นเรื่องของการอักเสบจากการติดเชื้อ หรืออาจเป็นตัวโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง โดยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงควรสังเกตตัวเองอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติ รีบมาพบแพทย์


 

แนวทางการรักษา

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีหลายวิธีประกอบกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิด และระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองการรักษาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้สามารถใช้ได้ทั้งเป็นการรักษาแบบเดียว หรือการรักษาแบบผสมผสาน

  • การเฝ้าติดตามโรค (Watch&Wait)

การเฝ้าติดตามโรคมักใช้ในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดค่อยเป็นค่อยไป (Indolent) หรือในรายที่ผู้ป่วยมีอาการจากตัวโรคไม่มาก ระหว่างการเฝ้าติดตามโรค จะมีการตรวจเลือด หรือตรวจทางรังสีเป็นระยะ ๆ

  • การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)

ยาเคมีบำบัดจะทำลายเซลล์มะเร็ง โดยไปรบกวนกรแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งการเลือกชนิดของยาเคมีบำบัดนั้นจะขึ้นอยู่กับชริดของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยทั่วไปการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองมักจะได้ยาเคมีบำบัดหลายขนานรวมกัน หรืออาจให้ร่วมกับการรักาด้วยแอนติบอดี (Monoclonal Antibodies)

  • การรักษาด้วยยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibodies)

ยาโมโนโคลแอนติบอดี คือ สารสังเคราะห์ที่จะไปจับกับโปรตีนบนผิวของเซวล์มะเร็งหลังจากนั้นจะมีการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อมากำจัดเซลล์มะเร็งนั้น

  • การรักษาด้วยการฉายรังสี (Radiation Therapy)

คือการรักษาด้วยการใช้รังสีปริมาณสูง เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง

  • การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Tranplantation)

หลักการของการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด คือ การทำลายเซลล์มะเร็งให้หมดไป แล้วแทนที่ด้วยเซลล์ที่ปกติ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด โดยอาศัยเซลล์ของผู้บริจาค (Allogeneic transplantation)
  • การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด โดยอาศัยเซลล์ของผู้ป่วยเอง (Autologous transplantation)


มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นโรคที่มีเนื้องอกร้ายชนิดหนึ่งเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำเหลือง หรือโครงสร้างต่อม ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองคือช่วงอายุ 60-70 ปี ผู้ที่มีภาวะพร่องภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ป่วย HIV และผู้ที่สัมผัสสารเคมีเช่น ยาฆ่าแมลง  อาการเริ่มแรกคือพบก้อนบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ โดยก้อนเหล่านั้นจะไม่มีอาการเจ็บ ซึ่งในปัจจุบันสามารถรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ได้อย่างหายขาด ถ้าหากเป็นในระยะแรกเริ่ม รักษาอย่างถูกต้องครบถ้วน และร่างกายมีการตอบสนองที่ดี ที่สำคัญการได้รับกำลังใจจากคนในครอบครัว และเพื่อน เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่จะมีกำลังใจในการต่อสู้กับโรคต่อไปนะคะ



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคข้อสะโพกเสื่อม

เกิดขึ้นได้กับทุกข้อต่อในร่างกาย ซึ่งกระดูกอ่อนที่คลุมพื้นผิวของข้อค่อยๆ มีความขรุขระ บางลง หรืออักเสบ หลุดออก จนทำให้เกิดอาการปวดและมีการเคลื่อนไหวติดขัด

blank ศูนย์ Joint Surgery Center โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคข้อสะโพกเสื่อม

เกิดขึ้นได้กับทุกข้อต่อในร่างกาย ซึ่งกระดูกอ่อนที่คลุมพื้นผิวของข้อค่อยๆ มีความขรุขระ บางลง หรืออักเสบ หลุดออก จนทำให้เกิดอาการปวดและมีการเคลื่อนไหวติดขัด

blank ศูนย์ Joint Surgery Center โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน ด้วยการตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ ใครบ้างที่มีความเสี่ยง?

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน ด้วยการตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ ใครบ้างที่มีความเสี่ยง?

อัลตราซาวด์ช่องคลอด

การตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด คืออะไร เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านเครื่องอัลตราซาวด์ที่เป็นแบบหัวตรวจ ซึ่งนิยมใช้ในงานของแผนกสูตินรีเวช

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อัลตราซาวด์ช่องคลอด

การตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด คืออะไร เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านเครื่องอัลตราซาวด์ที่เป็นแบบหัวตรวจ ซึ่งนิยมใช้ในงานของแผนกสูตินรีเวช

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม