Header

อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ควรให้ความสำคัญไม่แพ้โรคภัยไข้เจ็บ ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและเมื่อเกิดแล้วอาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย โดย 1 ใน 3 พบว่ามักอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ  หากทราบปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้หกล้มและมีแนวทางการป้องกันที่เหมาะสมจะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุชนิดนี้ได้

อุบัติเหตุในผู้สูงอายุ

การเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุมักมีสาเหตุจากความเสื่อม และการถดถอยของร่างกาย อีกทั้งจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นผลให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ลดลง สำหรับอุบัติเหตุที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุก็คือ การหกล้ม เช่น ลื่นล้มในห้องน้ำ การตกเตียง ตกบันได เป็นต้น ซึ่งมักเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60 ปีขึ้นไป

และปัญหาที่พบบ่อยของผู้สูงอายุที่ได้รับอุบัติเหตุดังกล่าว คือ กระดูกสะโพกแตก หัก หรืออุบัติเหตุทางสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มีอัตราการความพิการ และอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูงมาก เนื่องจากผู้สูงอายุมักจะมีภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุน เมื่อหกล้มกระดูกจึงเกิดการแตกหรือหักได้ง่าย นอกจากการบาดเจ็บแล้วยังส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เคยหกล้มไปแล้ว จะยิ่งกลัวมากขึ้นจนกังวล และขาดความมั่นใจที่จะเดิน จนเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้


สาเหตุของอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ มีดังนี้
  • การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น มองเห็นไม่ชัด หูตึง อาจไม่ได้ยินเสียงรถ เสียงแตร เวลาข้ามถนนระบบการทรงตัวไม่ดี เช่น หูชั้นในเริ่มเสื่อม กล้ามเนื้อขาดความแข็งแรงในการช่วยพยุงตัว ข้อไม่ดี ระบบประสาทสัมผัสเสื่อม เช่น เป็นเบาหวานมานาน ระบบหัวใจ และหลอดเลือด เช่น เจ็บหน้าอก หน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่า
  • สิ่งแวดล้อม เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ พื้นบ้านลื่น โดยเฉพาะพื้นผิวขัดมัน หรือ พื้นเปียก บันไดบ้านลื่น หรือไม่มีราวบันไดห้องน้ำ พื้นลื่นเปียก ไม่มีราวเกาะพื้นที่มีสิ่งของวางระเกะระกะ กีดขวาง เช่น สายไฟ ของเล่นเด็ก ผ้าขี้ริ้ว สัตว์เลี้ยง
  • ยา เช่น ยาลดความดันโลหิต ยานอนหลับ
  • เสื้อผ้าที่ใส่ หลวม ยาวรุ่มร่าม มีเชือกยาวไป
  • เครื่องมือช่วยเดินไม่ดี เช่น ไม้เท้าที่ไม่มียางกันลื่น หรือ รถเข็นที่ไม่มีที่ห้ามล้อ

อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ
  • การลื่นหกล้ม การหกล้มเป็นปัญหาที่พบบ่อยและอันตรายมากในวัยผู้สูงอายุในแต่ละปี 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมักประสบกับการลื่นล้มและครึ่งหนึ่งลื่นล้มมากกว่า 1 ครั้ง ร้อยละ 10 ของการลื่นล้ม ทำให้กระดูกสะโพกหัก ร้อยละ 25 ของการบาดเจ็บกระดูกสะโพกเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต โดยเฉพาะช่วงกลางคืนเมื่อไปเข้าห้องน้ำเนื่องจากสูญเสียการทรงตัว เพราะสมอง กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ เกิดความเสื่อม การได้ยินและมองเห็นลดลง ทำให้มีโอกาสลื่นล้มได้ง่าย ซึ่งการบาดเจ็บมีตั้งแต่เล็กน้อยไปถึงขั้นรุนแรง พิการและเสียชีวิตได้
  • พลัดตกหกล้ม จะเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุมักเดินช้า ตามองไม่ชัด การได้ยินเสียงและความจำไม่ดี รวมทั้งมักมีอาการเวียนศีรษะจึงพลัดตกหกล้มได้ง่าย มักเกิดจากการตกเตียง ตกบันได เก้าอี้ ระเบียงบ้าน ต้นไม้ ตกหลุม และตกท่อ เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในบ้านเป็นส่วนใหญ่
  • บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก  เป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยเนื่องจากประสาทสัมผัสความรู้สึกร้อนเสื่อมลง เช่น ขณะอาบน้ำ ปรุงอาหาร ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อยอาจมีอาการปวดแสบปวดร้อนพอทนได้ และค่อย ๆ หายไปได้เอง แต่ถ้าเป็นมากเกิดบริเวณกว้างและแผลลึกมักจะมีภาวะแทรกซ้อนทำให้ทุพพลภาพหรือเสียชีวิตได้
  • ร่างกายอ่อนแรง  ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงกล้ามเนื้ออ่อนแรง เพราะจำนวนขนาดและเส้นใยของกล้ามเนื้อบวกกับแรงในการหดตัวของกล้ามเนื้อลดลง ทำให้เคลื่อนไหวไม่คล่องตัว ซึ่งอาการอ่อนแรงมีหลายระดับตั้งแต่กำมือแน่น กำมือไม่แน่น ไปจนถึงการยกขา บางคนเมื่อเป็นแล้วอาจมีอาการช่วงสั้น ๆ แล้วหายไป แต่บางครั้งไม่มีสัญญาณเตือนและมีอาการรุนแรงได้เช่นกัน ดังนั้นควรหมั่นสังเกตและตรวจกับแพทย์เฉพาะทาง
  • อุบัติเหตุเกิดจากท้องถนน  ผู้สูงอายุโดนรถชนเนื่องจากไม่ได้ยินเสียงแตรเพราะหูตึง และโดนรถชนเพราะมองไม่เห็นรถที่กำลังวิ่งผ่าน เนื่องจากสายตาเสื่อมลงทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจน เกิดจากการเสื่อมถอยของร่างกายของผู้สูงอายุ เช่น การรับรู้ทางสายตาและประสาทหูลดลง หรือการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้าทำให้ต้องใช้เวลานาน
  • บาดเจ็บจากการออกกำลังกาย  ก่อนออกกำลังกายผู้สูงอายุควรตรวจเช็คสุขภาพร่างกายของตนเองให้ดีก่อน หากมีโรคประจำตัว ควรพบแพทย์เจ้าของไข้เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพราะบางโรคอาจกำเริบได้เมื่อออกกำลังกาย นอกจากนี้ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายด้วยท่าง่าย ๆ เพื่อป้องกันอันตราย
  • บาดเจ็บจากการถูกแมลงสัตว์กัดต่อย  บ่อยครั้งที่ผู้สูงอายุมักได้รับการบาดเจ็บจากสัตว์มีพิษกัดต่อย เช่น งู ตะขาบ แมงป่องกัด ดังนั้นการดูแลสุขภาพตลอดจนการปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันสัตว์ร้ายเข้าไปหลบอาศัยภายในบ้านเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากรอบบ้านรกร้าง อาจเป็นสาเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นกับคนสูงวัยได้
  • ถูกของมีคมบาด สำหรับของใช้มีคมในบ้านที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้สูงอายุได้นั้น เช่น กรรไกร       มีดคัตเตอร์ ตะไบเล็บ ที่โกนหนวด สาเหตุเกิดจากการใช้ไม่ถูกวิธีหรือการวางของรวม ๆ กันกับของใช้อื่น  ทำให้เวลาหยิบอาจไปโดนของมีคม ทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้
  • สำลักอาหาร อย่ามองแค่สำลัก หรือเป็นเพียงเรื่องเล็กที่มองข้ามได้ เพราะแม้สำลักเพียงเล็กน้อย ด้วยระบบภูมิคุ้มกันที่เริ่มไม่แข็งแรง แค่สำลักก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ เช่น หากสำลักอาหารเข้าไปในปอดอาจส่งผลทำให้ปอดติดเชื้อ หรือผู้สูงอายุบางรายสำลักมาก ๆ จนเกิดความกลัวการกลืนอาหาร ไม่ยอมรับประทานข้าว นำไปสู่ปัญหาภาวะการขาดสารอาหาร

ป้องกันไว้…ลดความเสี่ยงอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ

แม้ว่าอัตราการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุจะมากขึ้นทุกปี แต่เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดกับผู้สูงอายุในครอบครัวของเราได้ ด้วยการดูแลและใส่ใจรายละเอียดในการใช้ชีวิตประจำวันของท่านอย่างใกล้ชิดได้ดังนี้

  • ฝึกการเดิน การทรงตัว และออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อ เช่น ท่ายืนเขย่งปลายเท้าสลับยืนบนส้นเท้า ทำสลับกัน 10 ครั้ง ท่ายืนงอเข่า ทำสลับกันข้างละ 10 ครั้ง และท่านั่งเหยียดขา ทำสลับกันข้างละ 10 ครั้ง เป็นต้น
  • ควรเปลี่ยนท่าช้า ๆ เพื่อป้องกันภาวะความดันตกในท่ายืน หน้ามืด วิงเวียน ขณะลุกนั่งหรือยืนทุกครั้ง
  • หากการเดินหรือทรงตัวไม่มั่นคง ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า โครงเหล็กช่วยเดิน เป็นต้น
  • สวมใส่เสื้อผ้า รองเท้าที่มีขนาดพอดี รองเท้าควรเป็นรองเท้าส้นเตี้ย ขอบมน มีหน้ากว้าง และเป็นแบบหุ้มส้น พื้นรองเท้าควรมีดอกยาง ไม่ลื่น
  • ควรติดเทปกันลื่นที่บริเวณขอบบันไดแต่ละขั้น เพื่อป้องกันการลื่นล้ม
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง
  • คนในครอบครัว หรือผู้ดูแลใกล้ชิด หมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติทางด้านการรับรู้ เช่น สับสน หลงลืมเกี่ยวกับ วัน เวลา สถานที่ และบุคคล หรือการตอบสนองได้ช้าลงหรือไม่
  • ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวควรตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรเข้ารับการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม เช่น เช็คความผิดปกติของการมองเห็น ความผิดปกติของการเดิน การทรงตัว เป็นต้น รวมทั้งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ เพื่อขอรับคำแนะนำ เกี่ยวกับ การใช้ยา ความผิดปกติในการมองเห็น การเดิน การทรงตัวและการเคลื่อนไหว
  • หมั่นตรวจอุปกรณ์หรือเครื่องช่วยเดินให้อยู่ในสภาพปลอดภัยอยู่เสมอ เช่น ปลายไม้เท้ามียางหุ้มกันลื่น เก้าอี้มีล้อ ตัวห้ามล้อต้องมีสภาพพร้อมใช้งาน เป็นต้น
  • ควรจัดที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ควรออกแบบและจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมและเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มได้

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายก็เสื่อมถอยทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น ลูกหลานและคนในครอบครัวควรดูแลผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ หมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติต่าง ๆ รวมทั้งคอยช่วยเหลือเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดให้ผู้สูงอายุมีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจที่แข็งแรง และสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือการจัดสิ่งแวดล้อมให้มีความเหมาะสมกับความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ จะทำให้ไม่เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ป้องกันตัวเองและคนที่คุณรักได้ง่ายๆ ด้วย 4 วิธีนี้

วัคซีนป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก แม้ฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังมีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่อ่อนแอ

ป้องกันตัวเองและคนที่คุณรักได้ง่ายๆ ด้วย 4 วิธีนี้

วัคซีนป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก แม้ฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังมีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่อ่อนแอ

โรคถุงลมโป่งพอง โรคร้ายใกล้ตัว

โดยหนึ่งโรคร้ายที่พบบ่อยและเกิดขึ้นจากการได้รับมลพิษ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงใกล้ตัว นั่นก็คือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือที่เรามักเรียกกันว่า “โรคถุงลมโป่งพอง”

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคถุงลมโป่งพอง โรคร้ายใกล้ตัว

โดยหนึ่งโรคร้ายที่พบบ่อยและเกิดขึ้นจากการได้รับมลพิษ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงใกล้ตัว นั่นก็คือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือที่เรามักเรียกกันว่า “โรคถุงลมโป่งพอง”

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“ตกขาว” ของผู้หญิงแบบไหน ผิดปกติ?

ตกขาว คือ สารคัดหลั่งมีลักษณะมูก ออกมาจากช่องคลอดของผู้หญิงโดยไม่ใช่เลือดประจำเดือน โดยมูกนี้ถูกขับออกจากปากมดลูกมายังช่องคลอด เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้บริเวณช่องคลอดและช่วยป้องกันการติดเชื้อภายในช่องคลอด

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“ตกขาว” ของผู้หญิงแบบไหน ผิดปกติ?

ตกขาว คือ สารคัดหลั่งมีลักษณะมูก ออกมาจากช่องคลอดของผู้หญิงโดยไม่ใช่เลือดประจำเดือน โดยมูกนี้ถูกขับออกจากปากมดลูกมายังช่องคลอด เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้บริเวณช่องคลอดและช่วยป้องกันการติดเชื้อภายในช่องคลอด

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม