Header

โรคถุงลมโป่งพอง โรคร้ายใกล้ตัว

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ทุกวันนี้ รอบตัวเรามีมลพิษมากมาย จนร่างกายรับไม่ไหว โดยหนึ่งโรคร้ายที่พบบ่อยและเกิดขึ้นจากการได้รับมลพิษ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงใกล้ตัว นั่นก็คือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือที่เรามักเรียกกันว่า “โรคถุงลมโป่งพอง” โดยองค์การอนามัยโลกระบุว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ทั่วโลกกว่า 80 ล้านคน และเสียชีวิตปีละกว่า 3 ล้านคนเลยทีเดียว วันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้ เพื่อเตรียมป้องกันและรับมือกันนะคะ

 

โรคถุงลมโป่งพองคืออะไร

โรคถุงลมโป่งพองคือภาวะที่ถุงลมภายในปอดมีการขยายตัวมากกว่าปกติ ส่งผลให้พื้นที่ผิวในปอดลดน้อยลง จนทำให้หายใจลำบาก และทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ซึ่งโรคนี้ก่อตัวขึ้นจากการหายใจและสูดดมเอามลพิษเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานาน ซึ่งมลพิษดังกล่าวมักอยู่ในรูปของฝุ่น ควัน ก๊าซ สารเคมีที่มีอนุภาคเล็ก ๆ เข้า จึงเกิดการสะสมจนทำลายระบบทางเดินหายใจ อันได้แก่ หลอดลมและปอด ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้

ทุกคนอาจจะยังเห็นภาพไม่ชัด แต่ถ้าเราพูดถึงการสูบบุหรี่แล้วล่ะก็ต้องร้องอ๋อแน่นอน โดยสาเหตุของโรคถุงลมโป่งพองกว่าร้อยละ 90 เกิดมาจากการสูบบุหรี่ แต่สำหรับคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ก็อย่าชะล่าใจไป เพราะควันบุหรี่มือสองก็สามารถทำร้ายเราได้เช่นกัน นอกจากนี้มลภาวะในอากาศตามท้องถนน ตามโรงงานต่าง ๆ เช่น ควันรถยนต์ ควันอาหาร ก็สามารถก่อโรคได้เช่นเดียวกัน ถือว่าอยู่รอบตัวเรากันเลยทีเดียว

 

ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคถุงลมโป่งพอง

  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่
  • แม่ค้าพ่อค้าขายอาหาร
  • ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง โดยเฉพาะตามท้องถนน
  • ผู้ที่ทำงานในโรงงาน หรืออยู่ใกล้โรงงาน

 

อาการของโรคถุงลมโป่งพอง ส่วนใหญ่จะมี 2 ลักษณะ ได้แก่

  • อาการเหนื่อย โดยมักจะเป็นเหนื่อยหอบ หายใจตื้น หายใจลำบากในเวลาที่ออกแรงหรือทำงานหนัก หรือหากถ้ามีอาการหนัก แม้แต่ในขณะพักก็อาจมีอาการเหนื่อยได้ด้วยเช่นกัน
  • อาการไอ มักจะไอเรื้อรัง โดยมักไอและมีเสมหะเล็กน้อยในตอนเช้าหลังตื่นนอน

นอกจากนี้ ในบางรายอาจมีอาการเบื่ออาหาร และน้ำหนักลดได้

 

การตรวจวินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพอง

สามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยการซักประวัติ ร่วมกับการตรวจสมรรถภาพปอดหรือการเป่าปอด เพื่อดูว่ามีการตีบแคบอุดกั้นของหลอดลมหรือไม่

 

การรักษาโรคถุงลมโป่งพอง

  • การรักษาโดยใช้ยา ซึ่งมียาหลักคือยาขยายหลอดลมเพื่อบรรเทาอาการ โดยมีทั้งชนิดกิน ฉีด และพ่น
  • การรักษาโดยไม่ใช้ยา คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และออกกำลังกาย เช่น
  • การงดสูบบุหรี่
  • การใส่หน้ากากปิดปากเพื่อป้องกันมลพิษ
  • การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
  • ในผู้ป่วยที่มีออกซิเจนในร่างกายต่ำอาจมีการให้ออกซิเจนในระยะยาว

รู้จักโรคถุงลมโป่งพองกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นอย่าลืมหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศ ออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง เพื่อค้นหาโรคถุงลมโป่งพองกันนะคะ

 

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง



ศูนย์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกอายุรกรรม

แผนกอายุรกรรม

นพ.ธราวุฒิ เมฆธารา

อายุรศาสตร์ทั่วไป

แผนกอายุรกรรม

พญ.ศิริพรรณ คุณมี

อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและทุพพลภาพ จากสถิติในประเทศไทยในรายงานปี 2562 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองกว่า 34,728 คน

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและทุพพลภาพ จากสถิติในประเทศไทยในรายงานปี 2562 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองกว่า 34,728 คน

สารพัดโรคร้าย ทำลายตับ

ตับเป็นอวัยวะภายในร่างกายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ใต้ชายโครงด้านขวา โดยมีซี่โครงเป็นเกราะกำบัง ทำหน้าที่ควบคุมสภาพร่างกายให้เป็นปกติ

สารพัดโรคร้าย ทำลายตับ

ตับเป็นอวัยวะภายในร่างกายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ใต้ชายโครงด้านขวา โดยมีซี่โครงเป็นเกราะกำบัง ทำหน้าที่ควบคุมสภาพร่างกายให้เป็นปกติ

7 วิธีลดอุบัติเหตุกับ 7 วันอันตรายในเทศกาลสงกรานต์

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลอด 7 วันของการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มักจะเกิดอุบัติเหตุบนท้อนถนน ทำให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตในที่สุด

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
7 วิธีลดอุบัติเหตุกับ 7 วันอันตรายในเทศกาลสงกรานต์

ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลอด 7 วันของการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มักจะเกิดอุบัติเหตุบนท้อนถนน ทำให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตในที่สุด

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม