Header

ชี้ชัด พฤติกรรมเสี่ยง นำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือที่คุ้นหูคุ้นปากประชาชนทั่วไปมากกว่าคือโรค “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” เป็นโรคที่รู้จักกันโดยทั่วไป ว่ามักมีอาการบ่งชี้คือ การปวดหลังร้าวลงขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปลายเท้าชา และมักพบในผู้สูงอายุ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยโรคนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นจาก “พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน” นั่นหมายความว่า ผู้สูงอายุไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงเพียงกลุ่มเดียวอย่างที่เข้าใจกัน แต่โรคนี้อาจจะเกิดกับคนวัยหนุ่มสาวที่กระทำพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเป็นประจำ ซ้ำ ๆ ทุกวันอย่างเป็นกิจวัตร โดยวันนี้ เราจะมาเรียนรู้พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าว เพื่อป้องกันการมาเยือนของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทกัน

พฤติกรรมเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

นอกจากความเสื่อมถอยทางร่างกายจากการมีอายุมากขึ้นที่นำไปสู่การเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแล้ว พฤติกรรมในชีวิตประจำวันก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยของร่างกายก่อนวัยอันควร โดยปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีดังนี้

1. มีน้ำหนักร่างกายสูงเกินไป

การมีน้ำหนักร่างกายสูงเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของภาวะอ้วน จะมีผลให้หลังต้องรับน้ำหนักมาก ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดภาวะหลังแอ่น กระดูกสันหลังส่วนล่างต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักตลอดเวลา ซึ่งนำไปสู่ภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม แตก หรือปลิ้นได้ง่ายกว่าคนที่มีรูปร่างสมส่วน

2. ขาดการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ

เมื่อเราขาดการออกกำลังเป็นเวลานาน จะมีผลให้กล้ามเนื้อลีบ ฝ่อลง ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บบริเวณหมอนรองกระดูกมากขึ้น ดังนั้น การเล่นกีฬาเบา ๆ หรือขยับร่างกายเป็นประจำ มีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงและยืดหยุ่น ทำให้ชะลอความเสื่อมของหมอนรองกระดูกบริเวณสันหลังได้ดี

3. สวมรองเท้าส้นสูงในชีวิตประจำวัน

การสวมรองเท้าส้นสูงในการทำงาน หรือในเวลาอื่น ๆ อาจช่วยเสริมสร้างบุคลิกและความมั่นใจให้ผู้สวมใส่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากสวมรองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานเป็นประจำอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังจากความผิดปกติของแนวกระดูกสันหลังตามมาได้

4. ถือหรือสะพายสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก

การถือหรือสะพายกระเป๋าหรือสัมภาระที่มีความหนักด้วยไหล่ข้างเดียว อาจทำให้กล้ามเนื้อมัดที่เกี่ยวข้องถูกใช้งานตลอดเวลา เป็นผลให้เกิดอาการปวดไหล่เนื่องจากกล้ามเนื้อและกระดูกต้องรับน้ำหนักมาก ซึ่งอาจทีผลร้ายแรงถึงขั้นกระดูกคดงอ

5. นั่งทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน

ในกลุ่มของพนักงานออฟฟิศที่ต้องทำงานหน้าคอมเป็นเวลานาน ๆ และไม่มีการลุกยืนเพื่อยืดกกล้ามเนื้อ หรือปรับเปลี่ยนอริยาบถการนั่งเป็นระยะ ๆ ตลอดจนผู้ที่นั่งหลังไม่พิงพนัก หลังงอ ก้มคอ อาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมากกว่า คนที่ไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว

6. นอนหลับ หรือนอนทำกิจกรรมด้วยท่าที่ไม่เหมาะสม

การนอนขดตัว การนอนหดแขนขา มีผลให้กระดูกสันหลังบิดงอ ผิดรูป และอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อได้ นอกเหนือจากการนอน ท่านอนทำกิจกรรมบางท่าก็มีผลต่อกระดูกสันหลังเช่นกัน อย่างเช่นการนอนคว่ำเพื่ออ่านหนังสือ มีผลทำให้กระดูกสันหลังแอ่นผิดปกติ อาจมีผลให้เกิดการปวดหลังและคอ

7. ประสบอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุบางอย่าง อาจส่งผลต่อกระดูก อย่างเช่น การหยุดรถกระทันหัน การเล่นกีฬาหักโหมซึ่งทำให้เกิดการบิดแรงจนหมอนรองกระดูกฉีกก็อาจเป็นไปได้ ถึงมีโอกาสน้อย หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการแบกของหนัก เป็นต้น

8. สูบบุหรี่จัด

การสูบบุหรี่อาจะฟังดูเป็นปัจจัยที่ไม่น่าเกี่ยวกับการเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่จริง ๆ แล้วเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรค โดยการสูบบุหรี่นั้น ทำให้ออกซิเจนไปเเลี้ยงหมอนรองกระดูกหรือกระดูกสันหลังไม่ดี ทำให้คุณสมบัติความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพการทำงานลดลง



หากคุณทำพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงซึ่งทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นประจำ และกำลังไม่แน่ใจว่าตัวเองมีความเสี่ยงของโรคนี้มากน้อยเพียงใด สามารถทำแบบประมาณความเสี่ยงได้ที่นี่



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคข้อเสื่อม อาการยอดฮิตของผู้สูงวัย

ผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อม หากไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม อาการของโรคจะดำเนินไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่สะดวก

โรคข้อเสื่อม อาการยอดฮิตของผู้สูงวัย

ผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อม หากไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม อาการของโรคจะดำเนินไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่สะดวก

พังผืดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

เป็นกลุ่มอาการปวดชานิ้วบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง บางครั้งอาจเป็นเพียง 1 หรือ 2 นิ้ว พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน

พังผืดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

เป็นกลุ่มอาการปวดชานิ้วบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง บางครั้งอาจเป็นเพียง 1 หรือ 2 นิ้ว พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน

มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่สามของคนไทย ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะรู้ว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือเมื่อมาพบแพทย์ก็มักพบโรคในระยะที่เป็นมากแล้ว

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่สามของคนไทย ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะรู้ว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือเมื่อมาพบแพทย์ก็มักพบโรคในระยะที่เป็นมากแล้ว

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม