Header

การครอบแก้ว…บำบัดโรค

blank บทความโดย : คลินิกแพทย์แผนจีน โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ถ้าหากพูดถึงวิธีการรักษาโรคต่าง ๆ ตามศาสตร์ของการแพทย์แผนจีน เชื่อว่าหลาย ๆ คน คงรู้จัก และนึกถึงแต่การฝังเข็มเป็นส่วนใหญ่ วันนี้จึงอยากจะนำเสนอวิธีการรักษาโรคต่าง ๆ ตามศาสตร์ของการแพทย์แผนจีนอีกวิธีการหนึ่งนั่นคือ การครอบแก้ว หรือครอบกระปุก เป็นวิธีการรักษาโดยใช้กระปุกมาลนไฟให้ร้อน เพื่อไล่อากาศออก จากนั้นจึงครอบกระปุกลงบนผิวหนัง ซึ่งจะมีแรงดูดจากสุญญากาศทําให้เกิดเลือดคั่งขึ้นในบริเวณนั้น อุปกรณ์ครอบจะติดแน่นกับบริเวณผิว และดึงกล้ามเนื้อ เส้นประสาท เส้นเลือด ที่อยู่ถายใต้ บริเวณที่ครอบ ทําให้เกิดการกระตุ้นระบบประสาท ฮอร์โมน และทําให้ระบบหมุนเวียนเลือดสมดุล ไม่ติดขัด แล้วการครอบแก้วช่วยบำบัดโรคอะไรบ้างวันนี้เรามีคำตอบค่ะ

การครอบแก้วคืออะไร ?

ครอบแก้ว (Cupping Therapy) เป็นการบำบัดรักษาทางเลือกของแพทย์แผนจีนชนิดหนึ่ง โดยนำถ้วยแก้วแบบเฉพาะมาวางไว้บนผิวหนังพร้อมกับใช้ความร้อนให้แก้วดูดผิวหนัง หรือกล้ามเนื้อขึ้นมา ซึ่งจะช่วยบำบัดรักษาอาการป่วยได้หลากหลาย เช่น บรรเทาอาการเจ็บปวด ช่วยการไหลเวียนโลหิต การอักเสบ การผ่อนคลาย และเพื่อสุขภาพที่ดี รวมไปถึงเป็นการลงลึกไปถึงชั้นเนื้อเยื่อ หรือช่วยในการขจัดสารพิษออกจากร่างกาย

 

ก่อนทำครอบแก้วต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ?

ก่อนทำการครอบแก้ว ควรเตรียมตัวให้พร้อมโดยการรับประทานอาหารตามปกติ ควรรับประทานอาหารมาก่อนประมาณ 1-2 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานอาหารอิ่มจนเกินไป หากมีโรคประจำตัวสามารถรับประทานยาได้ตามปกติ
 

ครอบแก้วทำอย่างไร ?

แพทย์สอบถามอาการผู้ป่วย และจับชีพจร (แมะ) เพื่อวินิจฉัยโรค จากนั้นแพทย์จะทำการรักษาโดยใช้แก้วสีใสปลอดเชื้อ อาศัยความร้อนไล่อากาศภายในแก้วเพื่อให้เกิดภาวะสุญญากาศ จากนั้นครอบแก้วลงบนผิวหนัง แก้วจะดูดผิวหนังและกล้ามเนื้อขึ้นมา ผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนสี

  • การครอบแก้วแบบครอบทิ้งไว้บนผิวหนัง เพื่อรักษาอาการปวดจากความเย็น ปวดจากร่างกายเสียสมดุล หรือปวดเฉพาะที่
  • การครอบแก้วแบบเคลื่อนไหวหรือการเดินถ้วย (โจ่วก้วน) เพื่อรักษาอาการปวดจากลมปราณติดขัด และอาการชา
  • การครอบแก้วแบบดึงเร็ว (ส่านก้วน) ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวด และชาที่ผิวหนัง หรือสมรรถภาพ (ทางร่างกาย) เสื่อมถอย
  • การครอบแก้วที่ประสานกับการใช้เข็มปลอดเชื้อ (ซื่อลั้วป๋าก้วน) ใช้รักษาโรคไฟลามทุ่ง ฝีหนอง รวมถึงอาการปวดเมื่อยเคล็ดขัดยอก
  • การครอบแก้วที่ใช้คู่กับการฝังเข็ม เพิ่มประสิทธิภาพการฝังเข็ม และครอบแก้วควบคู่กัน


โรคที่เหมาะกับการรักษาด้วยการครอบแก้ว มีโรคอะไรบ้าง ?

  • โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง หอบหืด ปอดบวม ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มปอด อักเสบ ตําแหน่งจุด ต้าจู้เฟิงเหมินเฟ่ยซูอิ๋งชวง
  • โรคระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง ปวดระบบประสาทกระเพาะ อาหารไม่ย่อย กรด เกินในกระเพาะอาหาร ตําแหน่งจุด กานซูผีซูเก๋อซูจางเหมิน ลําไส้อักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง ตําแหน่งจุด ผีซูเว่ยซูต้าฉางซูเทียนซู
  • โรคระบบหมุนเวียนเลือดความดันโลหิตสูง ตําแหน่งจุด กานซูต่านซูผีซูเซิ่นซูเว่ยจงเฉิงซาน จู๋ซานลี่ โรคหัวใจขาดเลือด ตําแหน่งจุด ซินซูเก๋อซูเกาฮวงซูจางเหมิน
  • โรคระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ปวดกระดูกต้นคอ ข้อไหล่ปวดไหล่สะบัก ปวดข้อศอก ตําแหน่งจุด จุดที่กดเจ็บ หรือ บริเวณข้อต่อต่าง ๆปวดหลัง ปวดเอว ปวดก้นกบ ปวดสะโพก ตําแหน่งจุด ตามจุดที่ปวดต่าง ๆ หรือรอบ ๆ ข้อต่อต่าง ๆ ปวดเข่า ปวดข้อเท้า ปวดส้นเท้า ตําแหน่งจุด ตําแหน่งที่ปวด และรอบ ๆ ข้อต่อ
  • โรคระบบประสาท ปวดหัวจากระบบประสาท ตําแหน่งจุด จางเหมิน ซีเหมิน และบริเวณปวดชายโครง ปวดเส้นประสาทไซแอทิค ตําแหน่งจุด จื้อเบียน หวนเทียว เว่ยจง โรครูมาตอยด์ตําแหน่งจุด ต้าจุยเกาฮวงซูเซิ่นซูเฟิงซื่อ และบริเวณที่ปวดชา กล้ามเนื้อลําคอหดเกร็ง ตําแหน่งจุด เจียนจิ่ง ต้าจุย เจียนจงซูเซินจู้ กล้ามเนื้อหดน่องเกร็ง ตําแหน่งจุด เว่ยจงเฉิงซาน และบริเวณที่คนไข้หดเกร็ง เส้นประสาทใบหน้าหดเกร็ง ตําแหน่งจุด เซี่ยกวน ยิ้นกางเจี๋ยเชอ กระบังลมหดเกร็ง ตําแหน่งจุด เก๋อซูจิงเหมิน
  • โรคสตรี ปวดท้องประจําเดือน ตําแหน่งจุด กวนหยวน จื่อกง ตกขาว ตําแหน่งจุด กวนหยวน จื่อกง ซานอินเจียว อุ้งเชิงกราน ตําแหน่งจุด จื้อเปียน เยาซูกวนหยวน
  • โรคอายุรกรรมภายนอก ฝีหนอง ตําแหน่งจุด เซินจู้กับบริเวณฝี มีก้อนซีสอักเสบ ตําแหน่งจุด จื้อหยาง

 

สีจากการครอบแก้วบอกอะไรได้บ้าง ?

เมื่อทำการรักษาโดยการครอบแก้วเสร็จแล้ว ตรงบริเวณของผิวหนังที่โดนครอบแก้วจะเกิดเป็นรอยจ้ำสีม่วง ๆ ขึ้น ซึ่งความเข้มของรอยจ้ำดังกล่าว สามารถบอกได้ถึงลักษณะอาการปวดตรงบริเวณนั้น ๆ ได้ว่าเป็นอย่างไร โดยยิ่งมีสีที่เข้มมากเท่าไร ก็แสดงได้ว่า บริเวณดังกล่าวมีอาการปวดมากเป็นพิเศษ (รอยจ้ำ ๆ ของผิวหนังบริเวณที่โดนครอบแก้ว จะเป็นรอยอยู่ประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วจะจางหายไปเอง)

  • สีชมพูอ่อน : สุขภาพแข็งแรงดี ระบบเลือดลงไหลเวียนปกติ
  • สีแดง : ร่างกายมีความร้อนเล็กน้อย อ่อนล้าปานกลาง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • สีแดงสด : ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง รุนแรง เลือดลมติดขัด
  • สีซีด : ลมปราณ และ เลือดอยู่ในระดับพร่องพลังในร่างกายน้อยลงกว่าปกติ
  • สีคล้ำ : ลมปราณติดขัดจนเกิดเลือดคั่ง ความเย็นสะสม
  • มีรอยจุดสีคล้ำ อยู่บริเวณที่ครอบแก้ว : ลมปราณติดขัดจนเกิดเลือดคั่ง ความเย็นสะสม


ปฏิบัติตัวอย่างไรหลังครอบแก้ว ?

  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น ควรดื่มน้ำสะอาดที่อุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่นเป็นเวลา 1 วัน เพราะการดื่มน้ำอุ่นจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายขับของเสียออกได้โดยง่าย
  • งดอาบน้ำ หรือตากแอร์เย็นเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากครอบแก้ว
  • ควรพักผ่อนหลังจากครอบแก้ว เพราะการครอบแก้วอาจทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิดอาการอ่อนเพลียได้
  • อาการผิดปกติที่ควรโทรสอบถาม หรือมาพบแพทย์ เช่น มีอาการบวม แดง แสบร้อน มากผิดปกติ ปวดรุนแรงบริเวณจุดครอบแก้ว หรือมีไข้สูง
  • โดยเฉลี่ยสามารถครอบแก้วได้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หากผู้ป่วยมารับการรักษาต่อเนื่อง ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามคำแนะนำของแพทย์ จะทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

การรักษาโรคโดยการครอบแก้ว (Cupping) สามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่มีการติดขัดทำให้เลือดและพลังมีการไหลเวียนที่ดีขึ้น สามารถรักษาอาการปวด โดยเฉพาะบริเวณ บ่า หลัง และเอว (เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะ หรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน) และด้านการส่งเสริมความงามช่วยให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่ง มีเลือดฝาด  หลังจากการทำครอบแก้วแล้ว บริเวณผิวหนังอาจมีรอยคล้ำ แต่ไม่มีอันตราย รอยจะหายเองในเวลาประมาณ 5–7 วันและสามารถทำได้อีกเมื่อรอยจางหายค่ะ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

สูบบุหรี่…สารพัดโรคร้ายทำลายปอด

การสูบบุหรี่ สร้างผลกระทบต่อระบบการหายใจหลายระบบด้วยกัน เรียกได้ว่าเป็นอันตรายระดับรุนแรงต่อ “ปอด”

สูบบุหรี่…สารพัดโรคร้ายทำลายปอด

การสูบบุหรี่ สร้างผลกระทบต่อระบบการหายใจหลายระบบด้วยกัน เรียกได้ว่าเป็นอันตรายระดับรุนแรงต่อ “ปอด”

ประโยชน์ของการหัวเราะ

มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่าเพียงหัวเราะก็ง่ายกว่าการไปหาหมอหรือมีประสิทธิภาพดีกว่ายาเสียอีก ซึ่งจะบอกว่าเสียงหัวเราะเป็น “ยาวิเศษ” ก็ไม่ผิดตามคำกล่าว

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ประโยชน์ของการหัวเราะ

มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่าเพียงหัวเราะก็ง่ายกว่าการไปหาหมอหรือมีประสิทธิภาพดีกว่ายาเสียอีก ซึ่งจะบอกว่าเสียงหัวเราะเป็น “ยาวิเศษ” ก็ไม่ผิดตามคำกล่าว

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาการโรคเบาหวานเป็นอย่างไร ทดสอบความเสี่ยงเบาหวานก่อนสาย

โรคเบาหวานนั้นอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด โดยจากสถิติของสมาคมโรคเบาหวาน พบว่า ในปี 2562 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน มากถึง 4.8 ล้านคน หากเทียบให้เห็นภาพคือเกือบเท่าคนกรุงเทพฯ ทั้งจังหวัดเลยทีเดียว

อาการโรคเบาหวานเป็นอย่างไร ทดสอบความเสี่ยงเบาหวานก่อนสาย

โรคเบาหวานนั้นอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด โดยจากสถิติของสมาคมโรคเบาหวาน พบว่า ในปี 2562 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน มากถึง 4.8 ล้านคน หากเทียบให้เห็นภาพคือเกือบเท่าคนกรุงเทพฯ ทั้งจังหวัดเลยทีเดียว