Header

บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด

blank บทความโดย : แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด

บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด

บางครั้ง อาการป่วยจากโรคบางโรค อุบัติเหตุการทำงาน การเล่นกีฬา หรือการใช้ชีวิตประจำวัน อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ พังผืด หรือหมอนรองกระดูกบาดเจ็บ ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายไม่ปกติ องศาการเคลื่อนไหวถูกจำกัด ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ดีดังเดิม มีอาการปวด เมื่อย ตึง ชา หรือปวดร้าวที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันและสภาพจิตใจ

ที่แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ เราให้บริการในการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจและปอดและระบบประสาทดังนี้

 

บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด

  1. ผู้ที่มีอาการปวดบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งอาการปวดแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น ปวดคอบ่าจากการนั่งทำงานต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน (office syndrome) ปวดหลังส่วนล่าง ข้อเท้าพลิก หกล้ม ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา คอตกหมอน ปวดเข่าจากข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น
  2. ผู้ที่มีปัญหาองศาการเคลื่อนไหวลดลง เช่น ข้อไหล่ยึดติด ข้อเข่ายึดติด ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ชีวิตประจำวัน หลังภาวะกระดูกหัก หรือด้วยสาเหตุอื่น ๆ
  3. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเดินและการเคลื่อนย้ายตนเอง เช่น กระดูกขาหัก ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าหรือข้อสะโพก
  4. ผู้ป่วยทางโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น มีปัญหาเสมหะคั่งค้าง ไอขับเสมหะลำบาก
  5. ผู้ป่วยที่มีความทนทานของร่างกายลดลง หลังหายป่วยจากโรค เช่น ภาวะโพสต์โควิด (Post Covid) หรือ ลองโควิด (Long Covid)
  6. มารดาที่ตั้งครรภ์สามารถเข้ารับการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การฝึกหายใจ การออกกำลังกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อขา การนวดคลายบริเวณหลังส่วนล่าง และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์
  7. มารดาหลังคลอดบุตรที่มีปัญหาในการให้นมบุตร เช่น มารดาที่มีภาวะท่อน้ำนมอุดตัน

 

การบริการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

การลดปวด 

  • การลดปวดด้วยการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด ได้แก่ เครื่อง Shockwave, เครื่องอัลตร้าซาวด์, เครื่องเลเซอร์, การกระตุ้นไฟเพื่อลดปวด, การวางประคบร้อน/เย็น
  • การลดปวดด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด เช่น การยืดกล้ามเนื้อ การนวด การดัดดึงข้อต่อ

หมายเหตุ : อัลตร้าซาวด์ทางกายภาพบำบัด เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรักษา โดยจะเป็นคนละเครื่องมือกับอัลตร้าซาวด์ที่แพทย์ใช้ในการตรวจดูอวัยวะภายใน

การเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว

  • การขยับดัดดึงข้อต่อเพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว
  • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

การหัดเดิน และการสอนใช้กายอุปกรณ์

  • การหัดเดินในผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกหัก หรือในผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรง รวมทั้งสอนการขึ้นลงบันได เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนย้ายช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด
  • การสอนใช้กายอุปกรณ์เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ เช่น การสอนใช้เฝือกพยุงลำตัว อุปกรณ์พยุงเอว รวมถึงให้คำแนะนำในการดูแลรักษากายอุปกรณ์อย่างถูกวิธี

การฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อ

  • การสอนการออกกำลังกายตั้งแต่ก่อนผ่าตัด การฝึกหายใจ รวมถึงแจ้งข้อห้ามข้อควรระวังหลังการผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
  • การฝึกเคลื่อนย้ายตนเองอย่างถูกวิธีหลังผ่าตัด เช่น การพานั่ง พายืน และพาเดิน

การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการบาดเจ็บต่าง ๆ

  • การกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ
  • การขยับข้อต่อเพื่อรักษาองศาการเคลื่อนไหวของร่างกาย

มารดาทีมีปัญหาการให้นมบุตร

  • การนวดกระตุ้นต่อมน้ำนม การทำอัลตร้าซาวด์บริเวณเต้านม และการวางผ้าร้อน เพื่อระบายน้ำนมที่คั่งค้างและทำให้น้ำนมสามารถระบายออกได้มากขึ้น
  • การสอนท่านวดกระตุ้นน้ำนมให้มารดาไว้ปฏิบัติเองเมื่อมีอาการ
  • การให้คำแนะนำในการดูแลตนเองเมื่อให้นมบุตร

 

การให้บริการทางระบบหัวใจและปอด

การฟื้นฟูในผู้ป่วยที่มีภาวะเสมหะคั่งค้าง

  • การจัดท่าระบายเสมหะ
    • การเคาะปอด สั่นปอด
    • การดูดเสมหะ
    • การสอนการไอ และสอนการหายใจเพื่อระบายเสมหะด้วยตนเอง

การฟื้นฟูสมรรถภาพของระบบหัวใจและปอด

  • การฝึกหายใจเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ทำให้หายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของระบบหัวใจและปอด

การให้บริการทางระบบประสาท

  • การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในระยะเฉียบพลัน
    • การขยับข้อต่อและออกกำลังกาย เพื่อคงองศาการเคลื่อนไหวและคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
    • การฝึกหายใจเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบติดเชื้อ
  • การฟื้นฟูผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง
  • การฟื้นฟูผู้ป่วยเส้นประสาทส่วนปลายบาดเจ็บ

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด  โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

สถานที่

อาคาร B ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -17.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 1302

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดหลังร้าวลงขา สัญญาณหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หลาย ๆ คนอาจจะเคยหรือกำลังประสบกับปัญหาการปวดหลัง ซึ่งฟังดูแล้วน่าจะเป็นปัญหาทางสุขภาพทั่วไปที่ไม่ได้รุนแรงอะไร สามารถรักษาได้ง่าย ๆ ด้วยการออกกำลัง ยืดเส้นยืนสาย หรือทานยาเพื่อระงับอาการปวด

ปวดหลังร้าวลงขา สัญญาณหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หลาย ๆ คนอาจจะเคยหรือกำลังประสบกับปัญหาการปวดหลัง ซึ่งฟังดูแล้วน่าจะเป็นปัญหาทางสุขภาพทั่วไปที่ไม่ได้รุนแรงอะไร สามารถรักษาได้ง่าย ๆ ด้วยการออกกำลัง ยืดเส้นยืนสาย หรือทานยาเพื่อระงับอาการปวด

อะไรคือ Computer vision syndrome?

เป็นกลุ่มโรคที่ทำให้มีอาการทางตาที่สัมพันธ์กับการใช้คอมพิวเตอร์ หรือ มือถือ เป็นเวลานาน โดยอาการทางตาจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือ กล่าวคือ ถ้ายิ่งใช้งานคอมมาก อาการทางตาก็จะเป็นมากขึ้น

พญ.พรรักษ์ ศรีพล พญ.พรรักษ์ ศรีพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อะไรคือ Computer vision syndrome?

เป็นกลุ่มโรคที่ทำให้มีอาการทางตาที่สัมพันธ์กับการใช้คอมพิวเตอร์ หรือ มือถือ เป็นเวลานาน โดยอาการทางตาจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือ กล่าวคือ ถ้ายิ่งใช้งานคอมมาก อาการทางตาก็จะเป็นมากขึ้น

พญ.พรรักษ์ ศรีพล พญ.พรรักษ์ ศรีพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated disc)

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท คือการเสื่อมสภาพของเส้นสันหลัง ซึ่งอาจเกิดจาก การเสื่อมสภาพ การบาดเจ็บ การขยายตัวของเส้นสันหลัง เเละสภาพพันธุกรรม หรือปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้า ซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated disc)

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท คือการเสื่อมสภาพของเส้นสันหลัง ซึ่งอาจเกิดจาก การเสื่อมสภาพ การบาดเจ็บ การขยายตัวของเส้นสันหลัง เเละสภาพพันธุกรรม หรือปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้า ซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม