Header

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด  โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด เป็นการบริการทางแพทย์ ให้บริการด้วยทีมสหวิชาชีพที่มีประสบการณ์ นำโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักกำหนดอาหาร เป็นต้น โดยมีขอบเขตการให้บริการตั้งแต่การตรวจประเมิน วินิจฉัย วางแผนการรักษาหรือฟื้นฟูสมรรถภาพ ด้วยวิธีการที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อบรรเทาอาการปวด อันเนื่องมาจากความเสื่อมของร่างกาย การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือกับผู้ที่มีปัญหาอาการปวดทั้งในระยะเฉียบพลัน และเรื้อรัง การออกกำลังกายเพื่อการรักษาเฉพาะบุคคล การฝึกการเคลื่อนไหว และการฝึกกล้ามเนื้อ หรือการฝึกการใช้ชีวิตประจำวัน ในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหวให้กลับมาปกติ หรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด ให้การฟื้นฟูผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ฟื้นฟูการกลืน การพูด รวมถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้สูงอายุ และส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ

จุดมุ่งหมายของแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ เรามุ่นเน้นการให้ประสบการณ์ที่ดีกับผู้รับบริการ ให้การรักษาฟื้นฟูด้วยเครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ร่วมกับการทำหัตถการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ด้วยตนเอง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

เปิดให้บริการคลินิกกิจกรรมบำบัดครอบคลุมทั้งกลุ่มผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่

  • ฝึกพัฒนาการเด็ก
  • ฝึกกลืน
  • ฝึกพูด (pre-speech)
  • ฝึกการรับรู้-ความเข้าใจ
  • ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก/การใช้แขนและมือ (Hand function)
  • ฝึกกิจวัตร (ADL training)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Line: psuv_pt

 

บริการตรวจวินิจฉัย

    • การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า (Electromyography; EMG)

เป็นการตรวจวัดสัญญาณไฟฟ้าในเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยและพยากรณ์พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อ เป็นการตรวจที่มีความเจ็บปวดและใช้ระยะเวลานาน โดยการตรวจจะใช้ระยะเวลาประมาณ 30 นาที - 2 ชั่วโมง การตรวจประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

  1. การตรวจการความเร็วในการนำสัญญาณประสาทของเส้นประสาท (Nerve conduction study ; NCS) เป็นการตรวจโดยปล่อยกระแสไฟฟ้าในขนาดที่ปลอดภัย กระตุ้นตามแนวของเส้นประสาท ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่สงสัยความผิดปกติ เพื่อใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของเส้นประสาทในบริเวณที่สงสัยว่ามีรอยโรค
  2. การตรวจวินิจฉัยคลื่นไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ (Electromyographic study ; EMG) ตรวจโดยใช้เข็มขนาดเล็กตรวจรับสัญญาณผิดปกติในกล้ามเนื้อ โดยแพทย์จะนำข้อมูลจากการตรวจทั้งสองส่วนมาประกอบกันเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค
  • การตรวจประเมินทางกายภาพบำบัด
  • การตรวจประเมินทางกิจกรรมบำบัด
  • การทดสอบสมรรถภาพทางกาย (Physical fitness test)

 

บริการทางการแพทย์

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัดให้บริการครอบคลุมผู้ป่วยในทุกช่วงระยะของการฟื้นตัว ตั้งแต่ฟื้นฟูระยะเฉียบพลัน (Acute care) ฟื้นฟูระยะกลาง (Intermediate care) และฟื้นฟูระยะยาว (Long term care)

    •  
    • การฝังเข็มเฉพาะจุดแบบ (Dry Needling) การฝังเข็ม Dry Needling เป็นการฝังเข็มแบบตะวันตกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อให้จุด “Trigger Point” เกิดการกระตุกและคลายตัวออก อาการปวดจึงทุเลา และค่อย ๆ หายไป

ผู้ป่วยที่สามารถฝังเข็มได้ มีกลุ่มโรคอะไรบ้าง

      • กลุ่มโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Myofascial Pain Syndrome, MPS)

      • กลุ่มโรคกล้ามเนื้อทำงานไม่สมดุล ซึ่งเกิดจากใช้งานกล้ามเนื้อนานๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดบ่าไหล ปวดสะโพก ข้อเข่าเสื่อม เล่นโทรศัพท์มือถือ อาการปวดจากออฟฟิศซินโดรม

      • ปวดหัวไมเกรนที่มีสาเหตุร่วมมาจากกล้ามเนื้อตึงตัว

 

    • ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal)

      • ลดการอักเสบและอาการปวด กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ และกระดูก

      • ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง

      • ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)

      • กระดูกเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังเคลื่อน

      • หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

      • บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

      • ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด (ออร์โธปิดิกส์) ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ผ่าตัดข้อสะโพก ผ่าตัดเอ็นหัวไหล่ ผ่าตัดเอ็นข้อเข่า

      • ข้อติด/ ข้ออักเสบ/ รูมาตอยด์

      • อาการชาจากโรคทางออร์โธปิดิกส์

 

    • ระบบประสาท (Neurological)

      • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) อัมพฤกษ์ อัมพาต

      • การบาดเจ็บไขสันหลัง (Spinal cord injury; SCI)

      • การบาดเจ็บทางสมองจากอุบัติเหตุ (Traumatic brain injury)

      • โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease )

      • การบาดเจ็บและโรคของเส้นประสาทส่วนปลาย

      • โรคอัมพาตบนใบหน้า (Bell’s palsy or facial palsy)

      • ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดระบบประสาทสมองและไขสันหลัง

      • ผู้ที่บกพร่องด้านการเคลื่อนไหว การทรงตัว ผู้สูงอายุ

      • ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องด้านการรับรู้และเรียนรู้

 

    • ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiology)

      • ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจ หรือสวนหัวใจ

      • ผู้ป่วยหัวใจขาดเลือด

      • ผู้ป่วยหลังการใส่ลูกโป่งถ่างขยายหรือการใส่ขดลวดหลอดเลือดหัวใจ

      • ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดลิ้นหัวใจ การผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่

      • ผู้ป่วยหลังภาวะหัวใจหยุดเต้น (post cardiac arrest)

 

    • ระบบทางเดินหายใจและทรวงอก (Chest and Respiratory)

      • ภาวะมีเสมหะค้างในปอด

      • โรคปอดอักเสบ

      • โรคหอบหืด

      • โรคถุงลมโป่งพอง

      • ภาวะเหนื่อย หอบ หายใจไม่เต็มที่

 

    • ผู้ป่วยกลุ่มเด็ก (Pediatric)

      • สมองพิการ

      • พัฒนาการล่าช้า

      • ออทิสติก

      • สมาธิสั้น

 

    • กลุ่มโรคอื่น ๆ (Other special condition)

      • การรักษาแบบประคับประคอง (Palliative care)

      • ภาวะคัดตึงเต้านมหลังคลอดบุตร

      • ภาวะปัสสาวะเล็ด

      • ภาวะเสื่อมสมรรถภาพเพศชาย (Erectile dysfunction)

      • อาการชา จากเบาหวาน

      • โรคทางอายุรกรรมอื่น ๆ

      • ฟื้นฟูผู้ป่วยระยะยาวผู้สูงอายุ หรือผู้มีภาวะพึ่งพิง (Long term care)

 

    • ปัญหาด้านการกลืน

    • ปัญหาด้านการพูดและการสื่อความหมาย

    • ปัญหาด้านการทำกิจวัตรประจำวัน

    • การดูแลฟื้นฟูต่อเนื่อง

      • การให้บริการฟื้นฟูนอกสถานที่ ภายหลังจากการจำหน่ายกลับบ้าน (Princ at home)

      • นัดหมายติดตามอาการในรูปแบบผู้ป่วยนอก

 

แนะนำเครื่องมือและเทคโนโลยีด้านการฟื้นฟู

1. หุ่นยนต์ฝึกเดิน (Robotic assisted gait training; RAGT)

                หุ่นยนต์ฝึกเดินเป็นเทคโนโลยีทางการฟื้นฟูที่ออกแบบมาเพื่อฟื้นฟูผู้ที่มีความบกพร่องด้านการเดิน ไม่สามารถเดินได้ หรือมีรูปแบบการเดินผิดปกติ ด้วยการฝึกการเคลื่อนไหวแบบซ้ำ ๆ (Repetitive movement) ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ด้วยร่างกายของมนุษย์จะมีชุดวงจรประสาทที่อยู่บริเวณไขสันหลังเรียกว่า Central Pattern Generator (CPG) มีหน้าที่ในการจดจำรูปแบบการเคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ ซึ่งรวมถึงรูปแบบการเดินด้วย ดังนั้น การฝึกเดินซ้ำๆ ด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดิน จะช่วยกระตุ้นระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้เกิดการเรียนรู้การเดิน ทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูการเคลื่อนไหวได้ ในปัจจุบันหุ่นยนต์ฝึกเดินที่นิยมใช้ในประเทศไทยมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ

  1. End-Effector ซึ่งมีจุดเด่นคือมีที่วางเท้า (foot plate) ควบคุมการเคลื่อนไหวให้เกิดการก้าวเป็นลักษณะวงรี เสมือนการเดิน หุ่นยนต์ชนิดนี้จะมีหรือไม่มีระบบพยุงน้ำหนักก็ได้ขึ้นอยู่แต่ละผลิตภัณฑ์ ข้อดี คือ สามารถใช้งานได้ง่าย เหมาะกับผู้ป่วยที่เริ่มฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ การทรงตัวยังไม่ดี

  2. Exoskeletal เป็นหุ่นยนต์ที่มีลักษณะคล้ายขา ซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวได้ทั้งข้อสะโพกและข้อเข่าขณะเดิน ทำให้ลดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติได้ ซึ่งจะมีทั้งรูปแบบที่ตัวเครื่องติดตั้งอยู่กับที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ และแบบที่สามารถสวมใส่เดินไปยังที่ต่างๆ ได้

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการฝึกเดิน จึงได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยฟื้นฟูการเดิน เราจึงนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ฝึกเดินทั้งแบบ End-Effector และ Exoskeletal ให้บริการกับผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูด้านการเดินได้อย่างเหมาะสม รองรับทุกช่วงระยะเวลาของการฟื้นฟู ภายหลังจากการเกิดโรคทางระบบประสาทหรือเกิดการจำกัดการเคลื่อนไหวด้านการเดิน เราสามารถให้การฟื้นฟูได้ตั้งแต่ผู้ป่วยที่อ่อนแรงมาก ไม่สามารถทรงตัวได้ ไปจนกระทั่งผู้ป่วยมีการทรงตัวที่ดีขึ้น กล้ามเนื้อมีแรงมากขึ้น หรือผู้ป่วยที่ต้องการเพิ่มความเร็วในการเดิน หรือผู้ป่วยที่ต้องการเพิ่มความหลากหลายในการเดินไปยังสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ

 

ผู้ป่วยกลุ่มใดสามารถเข้ารับการฟื้นฟูด้วยหุ่นยนต์ฝึกเดิน

ผู้ป่วยที่มีความบกพร่องด้านการเดิน หรือไม่สามารถเดินได้จากความผิดปกติของระบบประสาทสั่งการ ระบบกล้ามเนื้อ หรือกระดูกที่ผิดปกติ ได้แก่

  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

  • โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)

  • การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง (Spinal cord injury)

  • การบาดเจ็บหรือได้รับอุบัติเหตุที่สมอง (Traumatic brain injury)

  • ปลอกประสาทอักเสบ (Multiple sclerosis)

  • ใส่ข้อเทียมโลหะทดแทน เช่น ผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม ผู้ป่วยผ่าตัดข้อสะโพก

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงอื่น ๆ เช่น ผู้สูงอายุ

  • ข้อเสื่อม

  • ภาวะสมองพิการ (Cerebral palsy)

 

เวลาที่เหมาะสมสำหรับการฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์

การฝึกเดินเป็นการเคลื่อนไหวแบบซ้ำ ๆ (Repetitive movement) อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีที่สุด เกิดการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อ ดังนั้น ควรฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์วันละ 30 - 45 นาทีต่อวัน, 3 - 5 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกัน 2 - 6 สัปดาห์*

* ผลลัพธ์ของการฟื้นฟูขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการฟื้นตัวของระบบประสาท ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ของผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกันตามความสามารถและข้อจำกัดด้วยโรคของผู้ป่วย

 

ข้อห้ามการใช้หุ่นยนต์ฝึกเดิน

  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน 130 กิโลกรัม

  • ผู้ที่มีปัญหาระบบไหลเวียนเลือด*

  • หัวใจเต้นผิดปกติ*

  • ผู้ที่มีความผิดปกติในการรับรู้ขั้นรุนแรง ไม่ให้ร่วมมือหรือต่อต้าน

* ทั้งนี้ผู้ป่วยทุกรายก่อนการฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ควรได้รับการตรวจประเมินจากแพทย์ และนักกายภาพบำบัดว่าสามารถใช้การฝึกเดินด้วยหุ่นยนต์ได้หรือไม่

 

2. เครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านกะโหลกศีรษะ (Transcranial Magnetic Stimulation; TMS)

การกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็ก (Transcranial Magnetic Stimulation) หรือที่มักเรียกกันว่า TMS เป็นการรักษาโรคทางสมองและระบบประสาทรูปแบบใหม่ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดหรือใช้ยา โดย TMS สามารถใช้รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับสมองและระบบประสาท เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรงจากโรคหลอดเลือดสมองหรือไขสันหลังบาดเจ็บ โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคพาร์กินสัน รวมถึงอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับระบบสมอง เป็นต้น

 

หลักการการฟื้นฟูด้วยเครื่อง TMS

หลักการของการกระตุ้นสมองด้วยเครื่อง TMS คือ การใช้เครื่องสร้างสนามแม่เหล็กและนำสนามแม่เหล็กนั้นไปกระตุ้นสมองในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวงจรกระแสประสาท เกิดการปรับเปลี่ยนของสารสื่อประสาท เช่น ในกรณีโรคหลอดเลือดสมองที่ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก พบว่า สมองส่วนที่มีพยาธิสภาพจะทำงานลดลง สมองซีกตรงข้ามจะทำงานมากขึ้น ในการศึกษาของประเทศไทย พบว่าการกระตุ้น TMS ในสมองฉีกตรงข้ามด้วยการกระตุ้นซ้ำ ๆ (repetitive pulse transcranial magnetic stimulation; rTMS)  ร่วมกับการฝึกกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด เป็นการกระตุ้นให้สมองส่วนที่มีพยาธิสภาพเกิดการทำงานเพิ่มขึ้น ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยสามารถใช้มือในการเอื้อมจับสิ่งของได้ดีขึ้น ในกรณีโรคซึมเศร้าจะใช้การกระตุ้นสมองบริเวณด้านซ้ายหน้า (Dorsolateral Prefrontal Cortex) ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การรักษาด้วยวิธีนี้สามารถช่วยให้อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาดีขึ้น และจากการศึกษายังพบว่าการกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กยังช่วยรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องความจำถดถอย

ผู้ป่วยกลุ่มใดที่สามารถเข้ารับการฟื้นฟูด้วยเครื่องกระตุ้น TMS

  • โรคซึมเศร้า
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • การบาดเจ็บของไขสันหลัง (Spinal cord injury)
  • โรคนอนไม่หลับ
  • โรคไมเกรน
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • กล้ามเนื้อหดเกร็ง (Spasticity)
  • กลุ่มอาการพฤติกรรมการรับประทานผิดปกติ (Eating disorder)
  • โรคจิตเภท (Schizophrenia)

 

ข้อควรระวังของการใช้งานเครื่อง TMS

  1. ผู้ที่เคยมีประวัติการชัก ควรได้รับการตรวจประเมินก่อน

 

ข้อห้ามในการใช้เครื่อง TMS

  1. ผู้ที่มีอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac Pacemaker)เครื่องหูเทียมไฟฟ้าชนิดฝังในตัว สายระบายน้ำในโพรงสมองแบบอัตโนมัติ เป็นต้น
  2. ผู้ที่มีอาการชักที่ไม่สามารถควบคุมได้
  3. ผู้ที่มีโลหะฝังบริเวณศีรษะ เช่น ตะแกรงขยายหลอดเลือดสมอง คลิปหนีบเส้นเลือดโป่งพองในสมอง เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีโลหะในบริเวณอื่นๆที่ไม่ได้ถูกกระตุ้นโดยตรงสามารถทำได้

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ มีครื่องกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กที่มีศักยภาพในการรักษาสูง สามารถกระตุ้นสมองได้ตั้งแต่ความถี่ต่ำ (Low Frequency Stimulation) จนไปถึงความถี่สูงมาก (Theta Burst Stimulation) สามารถรักษาโรคสมองและระบบประสาทได้หลากหลาย รวมถึงกลุ่มโรคทางจิตเวชต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เป็นต้น เราพร้อมให้บริการทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

แม้การรักษาด้วยการกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กจะเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยก็ควรได้รับการตรวจประเมินจากแพทย์วชศาสตร์ฟื้นฟูและแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทหรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงได้รับการดูแลรักษาและติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้มาตรฐานโรงพยาบาลระดับสากล เพื่อให้กลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว

 

3. เครื่องให้การรักษาด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulation; PMS)

PMS คืออะไร เป็นเครื่องมือให้การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยการกระตุ้นผ่านผิวหนัง โดยสามารถทะลุผ่านเสื้อผ้าลงไปยังเส้นประสาท กระตุ้นให้กล้ามเนื้อหดและคล้ายตัว เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคล้าย และลดอาการปวดโดยการกระตุ้นระบบประสาทส่วนปลายส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อยับยั้งอาการปวด

            นอกจากนี้ PMS ยังสามารถช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการชา (Neuropathy) ด้วยการกระตุ้นระบบประสาทรับความรู้สึกที่ผิดปกติให้กลับมาเป็นปกติ ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดและชาได้เป็นอย่างดี

 

PMS เหมาะสำหรับใคร

  • กลุ่มโรคปวดต่าง ๆ ทั้งปวดกล้ามเนื้อระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง หรือ ออฟฟิศซินโดรม ปวดข้อต่อ พังผืดกล้ามเนื้อ โรคทางกระดูกสันหลัง เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเสื่อม บาดเจ็บจากการกีฬา เป็นต้น
  • กลุ่มอาการชา หรือ อาการชาปลายมือปลายเท้า เครื่อง PMS จะช่วยกระตุ้นเส้นประสาทรับรู้ความรู้สึก
  • กลุ่มผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต ที่มาจากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ไขสันหลังบาดเจ็บ (Spinal Cord Injury; SCI) หรือเกิดการบาดเจ็บทางสมอง (Traumatic brain injury; TBI) กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง

 

ข้อห้ามในการใช้เครื่องมือ PMS

  • ผู้ที่ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac Pacemaker)
  • ผู้ที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือโลหะในตัว เช่น ผู้ป่วยที่มีคลิปหนีบเส้นเลือกโป่งพอง

 

4. เครื่องให้การรักษาด้วยลำแสงเลเซอร์กำลังสูง (High Laser)

เครื่องเลเซอร์กำลังสูง ( high power laser therapy) เป็นเครื่องมือให้การรักษาด้วยแสงเลเซอร์กำลังสูง เป็นแสงที่ความยาวคลื่นเดียว ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า มีความยาวคลื่นที่ 980- 1,064nm

 

เครื่องเลเซอร์เหมาะกับกลุ่มอาการใด

  • กลุ่มอาการบาดเจ็บระยะเฉียบพลัน เช่น  ปวดศีรษะไมเกรนกำเริบ, คอเคล็ด, หลังยอก, ข้อเท้าแพลง, ปวดนิ้วล็อค, ข้อมือซ้น, ปวดรองช้ำ, ข้ออักเสบ, กล้ามเนื้ออักเสบ, บาดเจ็บจากเล่นกีฬา, เส้นเอ็นข้อไหล่อักเสบ ,เส้นเอ็นข้อ, เข่าอักเสบ
  • กลุ่มอาการปวดเรื้อรัง เช่น ออฟฟิศซินโดรม, ปวดคอ, ปวดบ่า, ปวดไหล่, ปวดหลัง, ปวดจากข้อเสื่อม, หมอนรองกระดูกเคลื่อน, ไหล่ติด, ปวดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและด้านหลัง, ปวดเอว,ปวดสะโพก, รองช้ำ
  • กลุ่มโรคเกี่ยวกับเส้นประสาท เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท, ปลายประสาทอักเสบ, มือเท้าชาจากเบาหวาน, โรคหลอดเลือดสมอง
  • กลุ่มโรคที่มีอาการบวม เช่น นิ้วมือบวม, ข้อมือบวม, ข้อเท้าบวม, แขนขาบวม, บวมหลังจากการผ่าตัด, ต่อมน้ำเหลืองอุดตัน, ภาวะบวมน้ำเหลือง, กล้ามเนื้อเขียวช้ำ
  • กลุ่มอาการที่มีแผลจากสาเหตุต่างๆ เช่น แผลเบาหวาน, แผลกดทับ

 

5. เครื่องด้วยคลื่นกระแทก (Shockwave)

คลื่นกระแทก หรือ Shockwave ทำงานโดยอาศัยคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของคลื่นกระแทกในด้านการลดอาการปวด รวมถึงเพิ่มปัจจัยที่ทำให้ร่างกายซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่มีอาการบาดเจ็บเรื้อรัง

 

ประโยชน์ของการรักษาด้วยคลื่นกระแทก

  • กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
  • กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่
  • กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน
  • ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ
  • สลายหินปูนในเส้นเอ็น
  • กระตุ้นให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บใหม่ จนเกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นใหม่

 

6. เครื่องอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound)

เครื่องมือให้การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง ในบริเวณหัวของอัลตร้าซาวด์ จะมีผลึกคริสตัลที่ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าที่เข้ามาเป็นพลังงานความร้อน โดยพลังงานความร้อนที่ผ่านเข้าสู่เนื้อเยื่อนั้น จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อ เพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มความเร็วในการนำกระแสประสาท และการทำงานของเอนไซม์ ลดการอักเสบและลดปวด

 

7. เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้หลายชนิด (Electrical stimulation)

เครื่องมือให้การรักษาด้วยไฟฟ้า เป็นการรักษาอาการปวด อาการชา เพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยใช้กระแสไฟฟ้าในการรักษาซึ่งจะมีหลายกระแสไฟ ทั้งนี้การเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของผู้ป่วย

 

8. เครื่องกระตุ้นการกลืนด้วยระบบข้อมูลป้อนกลับ (Biofeedback)

เป็นเทคนิคการรักษาที่ใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นเส้นประสาทและกล้ามเนื้อของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการกลืน ผ่านแผ่นอิเล็กโทรดที่ติดอยู่บริเวณผิวหนังเหนือกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง เช่น กล้ามเนื้อของลิ้นและลำคอ ช่วยให้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องเกิดการเรียนรู้ใหม่ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และทำให้เกิดกระบวนการกลืนอาหาร

 

9. เครื่องดึงคอ-ดึงหลัง

10. อุปกรณ์ออกกำลังกาย

สถานที่

อาคาร B ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -17.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 1302

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

แพทย์แนะนำ

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

นพ.ธนธัช แสงนิล

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

พญ.อุทัยวรรณ เล็กยิ่งยง

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

พญ.ศิริพร จินตสถาพร

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

บทความที่เกี่ยวข้อง

ฝังเข็มตะวันตก (Dry needling) คลายจุดเจ็บกล้ามเนื้อด้วยเข็มเปล่า

สำหรับผู้ถูกเลือกให้ปวดทั้งหลาย… คงสรรหาสารพัดวิธี เพื่อมาคลายอาการปวด หรือเพื่อบรรเทาอาการปวดให้ทุเลาลง ไม่ว่าจะนวด ทายา หรือ ทานยาก็แล้ว แต่อาการก็ยังคงอยู่

พญ.ดวงใจ บัวขวา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พญ.ดวงใจ บัวขวา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ฝังเข็มตะวันตก (Dry needling) คลายจุดเจ็บกล้ามเนื้อด้วยเข็มเปล่า

สำหรับผู้ถูกเลือกให้ปวดทั้งหลาย… คงสรรหาสารพัดวิธี เพื่อมาคลายอาการปวด หรือเพื่อบรรเทาอาการปวดให้ทุเลาลง ไม่ว่าจะนวด ทายา หรือ ทานยาก็แล้ว แต่อาการก็ยังคงอยู่

พญ.ดวงใจ บัวขวา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พญ.ดวงใจ บัวขวา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
หลังจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เราจะกลับมาใช้ชีวิตปกติได้หรือไม่?

หลังจากการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือด เราควรเลือกกิจกรรมที่มีความหนักอย่างเหมาะสม โดยใช้การคำนวณ METs หรือ Metabolic Equivalent of Task ซึ่งเป็นหน่วยที่ใช้วัดการใช้พลังงานของร่างกายในขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ

blank คุณวิทยา ดวงงา หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
หลังจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เราจะกลับมาใช้ชีวิตปกติได้หรือไม่?

หลังจากการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือด เราควรเลือกกิจกรรมที่มีความหนักอย่างเหมาะสม โดยใช้การคำนวณ METs หรือ Metabolic Equivalent of Task ซึ่งเป็นหน่วยที่ใช้วัดการใช้พลังงานของร่างกายในขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ

blank คุณวิทยา ดวงงา หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การบำบัดรักษาอาการปวดเรื้อรังด้วยเครื่อง Shockwave

อาการปวดเรื้อรังที่สะสมมานาน Shockwave เป็น 1 ในทางเลือกที่ดีในการเสริมการรักษา เพื่อลดอาการปวดเรื้อรังให้ทุเลาลงได้

blank บทความโดย : แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การบำบัดรักษาอาการปวดเรื้อรังด้วยเครื่อง Shockwave

อาการปวดเรื้อรังที่สะสมมานาน Shockwave เป็น 1 ในทางเลือกที่ดีในการเสริมการรักษา เพื่อลดอาการปวดเรื้อรังให้ทุเลาลงได้

blank บทความโดย : แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม