Header

ภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหัก ภาวะแทรกซ้อนเมื่อกระดูกพรุนหรือหลังลื่นล้ม

ภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหักคืออะไร?

ภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหักคืออาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นภายในเยื่อหุ้มข้อ อันเนื่องมาจากภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ หรือการได้รับอุบัติเหตุบริเวณสะโพก เช่น การลื่นล้ม อุบัติเหตุจราจร และการตกจากที่สูง เป็นต้น ซึ่งกระดูกที่หักจะเคลื่อนที่ไปรบกวนเส้นเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณหัวกระดูกต้นขา ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวกระดูกตายจากการขาดเลือด

อาการของภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหัก

  1. ปวดบริเวณขาหนีบ
  2. ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักข้างที่หักได้
  3. หากตรวจร่างกายมักพบว่าขาสั้นลงกว่าข้างปกติ และอยู่ในท่าหมุนออกด้านนอก
  4. ไม่สามารถหมุนหรือขยับสะโพกข้างที่บาดเจ็บได้

สาเหตุของภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหัก

  1. ในผู้สูงอายุ มักเกิดจากผู้สูงอายุมีภาวะกระดูกพรุนอยู่แล้ว และได้รับอุบัติเหตุบริเวณสะโพกมา เช่น ลื่นล้มสะโพกกระแทกพื้น
  2. ในผู้ป่วยอายุน้อย มักเกิดจากอุบัติเหตุชนิดรุนแรง เช่น อุบัติเหตุจราจร การตกจากที่สูง เป็นต้น

วิธีการวินิจฉัยภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหัก

  1. การซักประวัติโดยละเอียด ซึ่งจะพูดคุยถึงสาเหตุของการล้ม ประวัติเกี่ยวกับการปวดข้อสะโพก ภาวะโรคประจำตัวต่าง ๆ และระดับความสามารถในการเดินและใช้ชีวิตประจำวันก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุ
  2. การตรวจร่างกาย
    • แพทย์จะกดบริเวณขาหนีบเพื่อหาจุดกดเจ็บ
    • แพทย์จะเคาะส้นเท้าเพื่อดูว่ามีอาการเจ็บปวดหรือไม่
    • แพทย์จะตรวจดูว่ารูปและความยาวของขาผิดปกติหรือไม่ เช่น อาจมีขาสั้นลงและบิด เป็นต้น
    • ในบางราย แพทย์จะตรวจดูพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกว่าผิดไปจากปกติหรือไม่
  3. ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการตรวจเอกซเรย์สะโพกแบบมาตรฐาน ซึ่งสามารถวินิจฉัยภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหักได้ดี แต่กรณีที่เอกซเรย์แล้วไม่พบกระดูกหักชัดเจน แต่ยังสงสัยว่าอาจมีภาวะกระดูกหัก ก็ต้องส่งตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อยืนยันการวินิจฉัย

วิธีการรักษาภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหัก

  1. การรักษาโดยไม่ผ่าตัด เป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงไม่สามารถผ่าตัดได้ และผู้ป่วยที่ไม่สามารถลุกนั่งหรือยืนเองตั้งแต่ก่อนกระดูกหัก
  2. การรักษาโดยการผ่าตัด
    • การผ่าตัดยึดตรึงกระดูกด้วยโลหะ
    • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

 

วิธีการดูแลตนเองและการป้องกัน

เนื่องจากผู้ป่วยภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหักจำนวนหนึ่งมักวูบหมดสติล้มลงโดยไม่รู้ตัว ส่งผลให้ล้มสะโพกกระแทกพื้น อาการเหล่านี้บ่งบอกถึงการทำงานผิดปกติของหัวใจหรือเส้นเลือด สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องปฏิบัติ เพื่อป้องกันการเกิดอาการวูบ มีดังนี้

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำต่อวันให้เพียงพอ ซึ่งสามารถคำนวณโดยใช้สูตร น้ำหนัก x 2.2 x 30/2 = ปริมาณน้ำที่ร่างกายควรดื่มต่อวัน (มล.)
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี


แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชี้ชัด พฤติกรรมเสี่ยง นำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือที่คุ้นหูคุ้นปากประชาชนทั่วไปมากกว่าคือโรค “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” เป็นโรคที่รู้จักกันโดยทั่วไป ว่ามักมีอาการบ่งชี้คือ การปวดหลังร้าวลงขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปลายเท้าชา และมักพบในผู้สูงอายุ

ชี้ชัด พฤติกรรมเสี่ยง นำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือที่คุ้นหูคุ้นปากประชาชนทั่วไปมากกว่าคือโรค “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” เป็นโรคที่รู้จักกันโดยทั่วไป ว่ามักมีอาการบ่งชี้คือ การปวดหลังร้าวลงขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปลายเท้าชา และมักพบในผู้สูงอายุ

รู้จักการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

การส่องกล้องทางเดินอาหาร เป็นวิธิการตรวจวินิจฉัยรูปแบบนึง โดยแพทย์จะใช้กล้องที่ออกแบบมาเฉพาะ โดยจะผ่านเข้าไปสู่บริเวณที่เราต้องการจะทำการตรวจ

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รู้จักการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

การส่องกล้องทางเดินอาหาร เป็นวิธิการตรวจวินิจฉัยรูปแบบนึง โดยแพทย์จะใช้กล้องที่ออกแบบมาเฉพาะ โดยจะผ่านเข้าไปสู่บริเวณที่เราต้องการจะทำการตรวจ

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สังคมก้มหน้า ที่มาของหลายโรค!!

“สังคมก้มหน้า” ที่ได้ยินกันจนคุ้นหูและเห็นภาพเหล่านี้จนชินตา นอกจากนี้ยังส่งผล กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบข้างแล้ว การเสพติดการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไปยังส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพร่างกายด้วย

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สังคมก้มหน้า ที่มาของหลายโรค!!

“สังคมก้มหน้า” ที่ได้ยินกันจนคุ้นหูและเห็นภาพเหล่านี้จนชินตา นอกจากนี้ยังส่งผล กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบข้างแล้ว การเสพติดการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไปยังส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพร่างกายด้วย

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม