Header

เลี่ยงได้เลี่ยง อาหารที่ไม่ควรกินคู่กัน !!

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ในอาหารหนึ่งมื้อหลาย ๆ คนคงกินอาหารหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน แต่รู้หรือไม่ ! อาหารบางอย่างหากจับคู่กินพร้อมอาหารบางอย่าง สามารถกลายเป็นโทษต่อร่างกายได้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงนี้ เราจึงรวบรวมข้อมูลดี ๆ ของอาหารที่ไม่ควรทานคู่กัน มาแชร์ให้ทุกคน จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ

อาหาร ผัก ผลไม้และสมุนไพรที่ห้ามกินคู่กัน
  1. แอลกอฮอล์ + ทุเรียน = ร้อนในรุนแรง

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลทำให้ร่างกายร้อนขึ้น เมื่อเจอกับทุเรียนซึ่งมีชัลเฟอร์สูง ยิ่งทำให้เกิดความร้อนรุนแรงขึ้นในกระเพาะ เป็นเหตุให้เกิดอาการช็อกได้

วิธีแก้หากกินคู่กัน : ให้รีบดื่มน้ำเย็นจำนวนมาก ๆ ถ้าอาเจียนออกมาได้ก็จะทุเลาลง (หากอาการไม่ดีขึ้น ให้รีบนำส่งแพทย์)

  1. ของทอด + แตงโม = ท้องเสีย

ของทอดเป็นอาหารที่อมน้ำมันค่อนข้างมาก ส่วนแตงโมมีคุณสมบัติคือมีน้ำมาก ช่วยระบาย และทำให้ภายในตัวเย็น หากกินคู่กันจะทำให้ในกระเพาะมีทั้งน้ำมันและน้ำในปริมาณมาก รวมทั้งเส้นใยที่ช่วยระบาย ทำให้ท้องเสียได้ง่าย

  1. เนื้อหมู + ไอศกรีม = ย่อยและดูดซึมยาก

เนื้อหมูเป็นโปรตีนที่ย่อยได้ยาก ใช้เวลานาน เมื่อกินร่วมกับของเย็น ๆ เช่น ไอศกรีม จะทำให้กระเพาะเย็นและทำงานได้ด้อยลง การกินอาหารสองอย่างนี้พร้อมๆกัน จึงทำให้กระเพาะต้องทำงานหนักขึ้น สร้างภาระให้กับระบบย่อยอาหาร

  1. มะเขือเทศ + แตงกวา = วิตามินซีถูกทำลาย

เอนไชม์ asbinase ในแตงกวา จะไปทำลายวิตามินซีของมะเขือเทศ ทำให้ได้รับสารอาหารได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งผักสองชนิดนี้ ยังมีคุณสมบัติทำให้ภายในร่างกายเย็นลง ช่วงที่สภาพอากาศหนาวเย็นจึงควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจทำให้เป็นหวัดได้ง่ายขึ้น (ในสลัดผัก มักมีผักสองชนิดนี้)

  1. ไข่ต้ม + เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน = ร่างกายได้รับธาตุเหล็กน้อยลง

คาเฟอีนจะจับตัวกับสารซัลฟอร์ในไข่ต้ม ซึ่งขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก หากต้องการกินร่วมกับไข่ ควรกินในรูปแบบไข่ดาวจะดีกว่า

  1. น้ำผึ้ง + น้ำร้อน = สูญเสียวิตามิน

ไม่ควรชงน้ำผึ้งด้วยน้ำร้อน เพราะความร้อนสามารถทำลายวิตามินที่มีในน้ำผึ่งได้ โดยอาจไม่ได้ทำลายจนหมด แต่หากชงด้วยวิธีอื่นก็จะได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ยิ่งขึ้น

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคธรรมดาที่ไม่ควรมองข้าม

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่าโรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่พบได้บ่อย ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และนอกจากนั้นอาการปวดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ยังอาจเป็นอาการแสดงของโรคอื่นที่มีความรุนแรงมากกว่า เช่นโรคแผลกระเพาะอาหาร,โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้ด้วย

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคธรรมดาที่ไม่ควรมองข้าม

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่าโรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่พบได้บ่อย ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และนอกจากนั้นอาการปวดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ยังอาจเป็นอาการแสดงของโรคอื่นที่มีความรุนแรงมากกว่า เช่นโรคแผลกระเพาะอาหาร,โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้ด้วย

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด 4 สายพันธุ์

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ มีประโยชน์อย่างไร

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด 4 สายพันธุ์

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ มีประโยชน์อย่างไร

เข้าใจและรับมือกับ ‘โรคซึมเศร้า’

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นเพียงอาการ หรือสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไปเพียงชั่วครู่ หลังจากเกิดความผิดหวัง หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ และสามารถรักษาได้ด้วยการให้กำลังใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคซึมเศร้ารุนแรงกว่านั้นมาก

blank บทความโดย : คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เข้าใจและรับมือกับ ‘โรคซึมเศร้า’

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นเพียงอาการ หรือสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไปเพียงชั่วครู่ หลังจากเกิดความผิดหวัง หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ และสามารถรักษาได้ด้วยการให้กำลังใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคซึมเศร้ารุนแรงกว่านั้นมาก

blank บทความโดย : คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม