Header

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคธรรมดาที่ไม่ควรมองข้าม

blank Thailand Dyspepsia Guidelines: 2018

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่าโรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่พบได้บ่อย ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และนอกจากนั้นอาการปวดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ยังอาจเป็นอาการแสดงของโรคอื่นที่มีความรุนแรงมากกว่า เช่นโรคแผลกระเพาะอาหาร,โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้ด้วย
 

อาการโรคกระเพาะอาหารอักเสบเป็นอย่างไร ?

  • อาการปวดจุกแน่น หรือแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ โดยในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกโรคจากภาวะโรคหัวใจขาดเลือดซึ่งมีอาการคล้ายคลึงกันด้วย
  • อิ่มเร็วอืดแน่นท้องหลังรับประทานอาหาร
  • อาจมีอาการกรดไหลย้อนร่วมด้วยได้


สาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

โรคกระเพาะอาหารอักเสบนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร(H.Pylori), การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์(NSAIDs),หรือยาแอสไพริน(aspirin),การดื่มสุรา, การสูบบุหรี่, ความเครียด หรือ พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา เป็นต้น
 

ควรทำอย่างไรเมื่อสงสัยว่าตนเองมีอาการโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหลี่กเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น การรับประทานอาหารให้ตรงเวลา, งดสุรา บุหรี่หรือยาที่อาจทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ
  • ในกรณีที่มีความเสี่ยงของโรคหัวใจ หรืออาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำว่าควรมารับการตรวจกับแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆที่อาจมีอาการใกล้เคียงกันเช่นโรคหัวใจขาดเลือด
  • การรักษาด้วยยา โดยแพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านการหลั่งกรด(Proton Pump inhibitors,PPI) ร่วมกับยารักษาตามอาการอื่นๆ เพื่อรักษาอาการโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (Esophagogastroduodenoscopy, EGD) ในรายที่มีขอบ่งชี้แพทย์อาจพิจารณแนะนำการส่องกล้องทางเดินอาหาร ซึ่งช่วยประเมินความรุนแรง,การตรวจเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร(H.Pylori) รวมทั้งช่วยวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆในกระเพาะอาหารที่มีอาการคล้ายคลึงกัน เช่นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร


ใครบ้างที่ควรเข้ารับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (EGD)

  • ผู้ป่วยที่มีเริ่มมีอาการโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หลังจากอายุ50ปี
  • ผู้ป่วยที่มีอาการเตือน ได้แก่ น้ำหนักตัวลดเยอะ, อาเจียนรุนแรงต่อเนื่อง,มีอาการกลืนเจ็บกลืนลำบาก,มีอาการเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน
  • ผู้ป่วยที่อาการไม่ดีขึ้นหลังจากรักษาด้วยยาต้านกรด(PPI)

จะเห็นได้ว่าแม้ภาวะโรคกระเพาะอาหารอักเสบโดยตัวเองนั้นจะไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงเฉียบพลัน แต่ก็อาจซ่อนไว้ด้วยโรคอื่นๆที่อาจมีความรุนแรงและมีอาการคล้ายคลึงกัน ในท่านใดที่อาการรุนแรงหรืออาการไม่ดีขึ้นหลังจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรับประทานยา ควรเข้ารับการตรวจกับแพทย์โดยละเอียดครับ



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

อัลตราซาวด์ คืออะไร?

อัลตราซาวด์  นั้นเป็นคลื่นเสียงชนิดหนึ่ง  ซึ่งมีความถี่สูงกว่า 20,000  Hz  คลื่นเสียงอัลตราซาวด์ นี้ ปัจจุบันได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นเครื่องมือแพทย์  ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ  รวมทั้งการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อัลตราซาวด์ คืออะไร?

อัลตราซาวด์  นั้นเป็นคลื่นเสียงชนิดหนึ่ง  ซึ่งมีความถี่สูงกว่า 20,000  Hz  คลื่นเสียงอัลตราซาวด์ นี้ ปัจจุบันได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นเครื่องมือแพทย์  ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ  รวมทั้งการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เลี่ยงได้เลี่ยง อาหารที่ไม่ควรกินคู่กัน !!

อาหารบางอย่างหากจับคู่กินพร้อมอาหารบางอย่าง สามารถกลายเป็นโทษต่อร่างกายได้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงนี้ เราจึงรวบรวมข้อมูลดี ๆ ของอาหารที่ไม่ควรทานคู่กัน มาแชร์ให้ทุกคน

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เลี่ยงได้เลี่ยง อาหารที่ไม่ควรกินคู่กัน !!

อาหารบางอย่างหากจับคู่กินพร้อมอาหารบางอย่าง สามารถกลายเป็นโทษต่อร่างกายได้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงนี้ เราจึงรวบรวมข้อมูลดี ๆ ของอาหารที่ไม่ควรทานคู่กัน มาแชร์ให้ทุกคน

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การตรวจสุขภาพก่อนทำงาน

การตรวจสุขภาพ หมายถึง การตรวจร่างกาย และสภาวะทางจิตใจตามวิธีทางการแพทย์ เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสม และผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

blank บทความโดย : ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การตรวจสุขภาพก่อนทำงาน

การตรวจสุขภาพ หมายถึง การตรวจร่างกาย และสภาวะทางจิตใจตามวิธีทางการแพทย์ เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสม และผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

blank บทความโดย : ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม