Header

เปรียบเทียบอาการ สาเหตุ และวิธีการป้องกันไข้มาลาเรียโนวไซ โควิดโอมิครอน และไข้หวัดใหญ่

นอกจากการระบาดของโควิดโอมิครอนและไข้หวัดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังในตอนนี้แล้ว ล่าสุดกรมควบคุมโรคได้ประกาศให้ระวังโรค “ไข้มาลาเรียโนวไซ” ที่ติดต่อจากลิงสู่คน ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีคนไทยติดเชื้อโรคนี้ 70 คนแล้ว อาการของโรคไข้มาลาเรียโนวไซจะเหมือนหรือแตกต่างจากโควิดโอมิครอนและไข้หวัดใหญ่อย่างไร เรารวมมาให้ดังต่อไปนี้

อาการไข้มาลาเรียโนวไซ

  • ไข้สูง
  • ปวดศีรษะ
  • หนาวสั่น
  • เหงื่อออกมาก

สาเหตุของโรคไข้มาลาเรียโนวไซ

โรคไข้มาลาเรียชนิด “โนวไซ” (Plasmodium knowlesi) เป็นโรคไข้มาลาเรียที่ติดต่อจากลิงสู่คน โดยยุงก้นปล่องกัดลิงที่มีเชื้อแล้วมากัดคน ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนว่ายุงสามารถนำเชื้อจากคนสู่คนได้ ลิงที่เป็นรังโรคในไทย ได้แก่ ลิงกัง ลิงวอก ลิงเสน ลิงแสม และลิงอ้ายเงียะ

ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาพบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้เฉลี่ยปีละ 10 รายอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งช่วงปลายปี 2564 และต้นปี 2565 พบว่ามีอัตราผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 70 ราย โดยจังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดระนอง สงขลา และตราด

ทางกรมควบคุมโรคได้ประกาศให้ผู้ที่มีประวัติสัมผัสลิงในป่าที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดดังกล่าว แล้วมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น เหงื่อออกมาก ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย และแจ้งประวัติเข้าป่า เพื่อรีบทำการรักษาอย่างรวดเร็ว เพราะหากรับการรักษาช้าอาจมีอาการแทรกซ้อนร้ายแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรือผู้ทำงานในป่า รวมถึงนักท่องเที่ยว ควรป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด

วิธีการป้องกันโรคไข้มาลาเรียโนวไซ

สาเหตุต้นตอของโรคไข้มาลาเรียโนวไซมาจากลิงไปสู่ยุง แม้ว่าตอนนี้จะยังไม่พบว่าจะมีการแพร่จากคนไปสู่คนได้หรือไม่ แต่คนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงก็ควรป้องกันไม่ให้ยุงกัด ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • สวมเสื้อผ้าสีอ่อนและปกปิดร่างกายได้อย่างมิดชิด เช่น เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว
  • ใช้ยาที่มีสารไล่แมลงทาผิวหนัง ซึ่งสารไล่แมลงที่มีประสิทธิภาพที่สุด ได้แก่ สาร Diethyltoluamide: DEET ซึ่งมีจำหน่ายทั้งรูปแบบสเปรย์ โรลออน แบบแท่งและครีม ควรทาซ้ำบ่อยๆ เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ไม่ควรใช้ในเด็กเล็ก
  • นอนในมุ้งหรือบริเวณที่ปลอดจากยุง อาจใช้มุ้งชุบยาไล่ยุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันยุง
  • หากสงสัยหรือต้องการตรวจสอบการระบาดของมาลาเรีย โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ตรวจสอบและหาข้อมูลได้จากกรมควบคุมโรค โทร. 1422 เพื่อการป้องกันอย่างทันท่วงที

อาการโควิดโอมิครอน

  • เจ็บคอ
  • เหนื่อยล้า
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • น้ำมูกไหล
  • จาม
  • ปวดหลังช่วงล่าง
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน

สาเหตุของโควิดโอมิครอน

โควิดโอมิครอน เป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่มีการกลายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่องจนล่าสุดคือ “โควิดโอมิครอน” ที่แพร่พันธุ์ได้รวดเร็วที่สุด แม้ว่าอาการและความรุนแรงดูเหมือนจะน้อยกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ แต่เป็นเพียงสมมติฐาน ล่าสุดเชื้อโควิดโอมิครอนก็มีสายพันธุ์ย่อย คือ BA.1 และ BA.2 ตัวหลังนี้แพร่เชื้อได้เร็วกว่า

วิธีป้องกันโควิดโอมิครอน

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีไหนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิดโอมิครอนได้ 100% แต่วิธีการดังต่อไปนี้ก็ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อได้มาก โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ที่ถึงแม้จะยังสามารถติดเชื้อได้อยู่ แต่ก็ช่วยลดความรุนแรงของอาการป่วยได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนเลย

  • ใส่หน้ากาก
  • ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ เมื่อสัมผัสสิ่งของ
  • เว้นระยะห่างกับคนอื่น
  • ไม่รับประทานอาหารร่วมกับบุคคลอื่น
  • ไม่ไปสถานที่ที่มีผู้คนแออัด
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างน้อย 2 เข็ม

อาการไข้หวัดใหญ่

  • มีไข้สูงเกิน 38 องศาฯ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก
  • ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น
  • เบื่ออาหาร
  • คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ
  • บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน

สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) เป็นเชื้อที่พบมานานแล้ว อาการมักจะไม่รุนแรง และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ปัจจุบันได้กลายเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบปะปนกับสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วไป อาการทั่วไปคล้ายกับโควิดค่อนข้างมาก ในระยะเริ่มต้นของอาการป่วยลักษณะนี้ เวลาที่ไปพบแพทย์ แพทย์จะทำการส่งตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่ก่อนอันดับแรก เพื่อตัดประเด็นความคล้ายคลึงกันของอาการออกไป

วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง สามารถฉีดได้ทุกเพศทุกวัย ในเด็กสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน ส่วนผู้หญิงตั้งครรภ์สามารถฉีดเพื่อป้องกันลูกน้อยที่เพิ่งคลอดยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะฉีดวัคซีนได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆ ที่ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคไข้หวัดใหญ่ด้วย

  • ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ
  • หลีกเลี่ยงคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • เมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรมในสถานที่แออัด

จะเห็นได้ว่าวิธีป้องกันตนเองจากไข้หวัดใหญ่กับโควิดแทบไม่ต่างกัน เพราะเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายผ่านทางลมหายใจและการสัมผัสนั่นเอง

 

ที่มา : กรมควบคุมโรค

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

คลายนิ้วล็อค…ง่ายนิดเดียว

โรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยทั่วไปจะพบในผู้หญิงมากกว่าชาย กลุ่มโรคนิ้วล็อกในปัจจุบันพบได้มากขึ้น เนื่องจากใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คลายนิ้วล็อค…ง่ายนิดเดียว

โรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยทั่วไปจะพบในผู้หญิงมากกว่าชาย กลุ่มโรคนิ้วล็อกในปัจจุบันพบได้มากขึ้น เนื่องจากใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

อาการเจ็บใต้ชายโครงขวา แต่เจ็บไม่มาก รวมถึงมีท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำเมื่อกินอาหารมัน ๆ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

อาการเจ็บใต้ชายโครงขวา แต่เจ็บไม่มาก รวมถึงมีท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำเมื่อกินอาหารมัน ๆ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคภูมิแพ้ โรคใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม

โรคภูมิแพ้สามารถพบได้ทุกเพศ และเกือบจะทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยทำงาน ข้อมูลปัจจุบันพบว่าประชากรไทยจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ โรคใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม

โรคภูมิแพ้สามารถพบได้ทุกเพศ และเกือบจะทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยทำงาน ข้อมูลปัจจุบันพบว่าประชากรไทยจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้