Header

พังผืดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

เป็นกลุ่มอาการปวดชานิ้วบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง บางครั้งอาจเป็นเพียง 1 หรือ 2 นิ้ว พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน เกิดจากการหนาตัวของเยื่อหุ้มเอ็นเบริเวณข้อมือ (จากการใช้งานงอเหยียดนิ้วของผู้ป่วย) ทำให้เส้นประสาทที่มาหล่อเลี้ยงมือถูกเบียดทับ

ระยะแรก ผู้ป่วยมักมีอาการปวดชานิ้วมือคือนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ หรือ นิ้วกลาง และมักจะเป็นมากช่วงกลางคืน บ่อยครั้งที่ต้องตื่นกลางดึกเพื่อสะบัดมือให้หายชา หากการกดทับเป็นมากขึ้นอาการชาจะเป็นตลอดเวลาและอาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือลีบได้ ทำให้ไม่มีแรงหยิบจับสิ่งของ

 

 

การรักษาระยะเริ่มต้น ทีมีเพียงแต่อาการชา แนะนำให้พักการใช้งานมือ ใช้ยาต้านการอักเสบเพื่อให้เอ็นบริเวณข้อมือยุบบวมลง หากอาการไม่ดีขึ้นอาจพิจารณาใช้ยาสเตียรอยด์ฉีดเฉพาะที่ซึ่งจะลดการอักเสบของเอ็นได้ดีกว่ายากิน ถ้าอาการยังคงเป็นอยู่หรือมากขึ้น ผู้ป่วยควรได้รับการผ่าตัด ซึ่งสามารถทำโดยวิธีฉีดยาชาเฉพาะที่ในห้องผ่าตัดและไม่ต้องนอนร.พ.ใช้เวลาทำผ่าตัดนานประมาณ 45 -60 นาที ผู้ป่วยสามารถใช้งานมือได้เลยหลังผ่าตัด และตัดไหม 10 -14 วันหลังผ่าตัด

หมายเหตุ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (electromyography) ก่อนผ่าตัดเพื่อวินิจฉัยแยกโรคของระบบประสาทชนิดอื่นที่มีอาการคล้ายกัน

 

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ฝุ่นขนาดเล็กทำลายสุขภาพ

วิกฤตฝุ่น PM 2.5 พิษขนาดเล็กทำลายสุขภาพ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ฝุ่นขนาดเล็กทำลายสุขภาพ

วิกฤตฝุ่น PM 2.5 พิษขนาดเล็กทำลายสุขภาพ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ออกกำลังกายแล้วปวดหลัง สัญญาณเสี่ยงที่ควรพบแพทย์

การออกกำลังกายถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการดูแลสุขภาพที่ได้รับการยอมรับ และทำกันอย่างแพร่หลาย โดยการออกกำลังกายนั้นสามารถช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เสริมสร้างระบบการย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหาร ไปจนถึงการสร้างกล้ามเนื้อ หรือช่วยลดความซึมเศร้าหรือความเครียดได้อีกด้วย

ออกกำลังกายแล้วปวดหลัง สัญญาณเสี่ยงที่ควรพบแพทย์

การออกกำลังกายถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการดูแลสุขภาพที่ได้รับการยอมรับ และทำกันอย่างแพร่หลาย โดยการออกกำลังกายนั้นสามารถช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ เสริมสร้างระบบการย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหาร ไปจนถึงการสร้างกล้ามเนื้อ หรือช่วยลดความซึมเศร้าหรือความเครียดได้อีกด้วย