Header

กินดี…หัวใจดี๊ดี…กับสุดยอดอาหารบำรุงหัวใจ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

กินดี หัวใจดี๊ดี กับสุดยอดอาหารบำรุงหัวใจ | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ใครต่อใครก็ปรารถนา อยากมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แต่รู้ไหมว่า?…การที่ร่างกายจะแข็งแรงได้นั้น นอกจากการรักษาสุขภาพกายและใจ การออกกำลังกาย การพักผ่อนพักที่เพียงพอ และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเริ่มต้นการดูแลตัวเอง สิ่งง่ายๆที่คุณควรจะหันมาใส่ใจ คือ เรื่องง่าย ๆ ใกล้ตัว เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ เพื่อบำรุงร่างกาย เอ๊ะ!…แล้วถ้าเราอยากบำรุงหัวใจแบบเน้น ๆ ควรทานอาหารประเภทใดดี? อ่านบทความนี้ หาคำตอบกันดีกว่า

กินดี…หัวใจดี๊ดี…กับสุดยอดอาหารบำรุงหัวใจ

1. ปลา

เป็นอาหารที่ย่อยง่าย แถมมีคุณค่าสารอาหารสูง และมีกรดไขมันที่จำเป็น เช่น โอเมก้า 3 ช่วยลดการแข็งตัวของหลอดเลือด การบริโภคเนื้อปลาลดความเสี่ยงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (irregular heart beat) และโรคหลอดเลือดแดง (atherosclerosis) ลดไตรกลีเซอไรด์ได้ดี ทั้งปลาพันธุ์ไทยและปลาต่างประเทศ ซึ่งน่าจะเป็นปลายอดฮิตของผู้ชื่นชอบรับประทานเนื้อปลาทั้งหลาย เช่น ปลากะพง ปลาทู ปลาดุก หรือ ซัลมอนเจ้าปลาสีส้ม ขวัญใจวัยรุ่น ที่ต่างกล่าวขานว่า ปลาเป็นซุปตาร์ของอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

 

2. ถั่ว หรือ เมล็ดแฟลกซ์ และเมล็ดเชีย

ถ้าคุณเป็นคนชอบเคี้ยวถั่ว จำพวกถั่วอัลมอนด์ แมคคาเดเมีย วอลนัท เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง ถั่วเม็ดเล็ก ๆ นั้น ดีต่อสุขภาพหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจ หากคุณชอบรับประทานถั่วเหลือง น่าจะไม่พลาดน้ำเต้าหู้ และโปรตีนจากผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น เต้าหู้จากถั่วเหลือง ถือเป็นหนึ่งเคล็ดลับที่ดีในการเพิ่มสารอาหารโปรตีนกับมื้ออาหาร ไม่ทำให้ไขมันและคอเลสเตอรอลเพิ่มสูง โปรตีนจากถั่วเหลืองช่วยลด LDL (คอเลสเตอรอลที่ไม่ดี)  นอกจากนี้เรายังพบวิตามิน D ไฟเบอร์ เกลือแร่ โอเมก้า 3 และไขมันดีชนิดไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว และไม่อิ่มตัว (Monounsaturated and Polyunsaturated Fats) ที่ช่วยลดไขมันเลวในเลือด (LDL Cholesterol) ลดอัตราการเป็นโรคหลอดเลือดตีบ

นอกจากนี้ ในเมล็ดแฟลกซ์และเมล็ดเชีย มีกรดไขมันโอเมก้า 3 และไฟเบอร์สูง ทำให้ดีต่อสุขภาพหัวใจ อีกทั้งให้สารอาหารที่ครบ อิ่มสบายอยู่ท้องสำหรับมื้ออาหารง่าย ๆ

 

3. น้ำมันมะกอก น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์

มีกรดไขมันดี ชนิดไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง (Monounsaturated Fats) รวมถึงวิตามินอี ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่เป็นตัวป้องกันหลอดเลือด เมนูเช้าวันหยุดหรือเย็นวันสบาย ๆ ถ้าจัดสลัดผักสักจาน อย่าลืมเติมน้ำมันมะกอก 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันมะกอก จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจวาย คอเลสเตอรอล และรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

 

4. ข้าวโอ๊ต

ใครชอบทานข้าวโอ๊ตยกมือขึ้น ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืช กากใยอาหารสูง มีไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ ถือเป็นคุณสมบัติพิเศษ และไม่ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ควรกินข้าวโอ๊ตเป็นอาหารเช้า และต้องไม่ผ่านการปรุงแต่ง เพียงแค่ใส่กับนมสดหรือเครื่องดื่มชงรับประทานง่าย ๆ ยามเช้า ตัวของข้าวโอ๊ตอุดมด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน กรดอะมิโนเป็นตัวช่วยสำคัญ เรื่องการดูแลหลอดเลือดหัวใจให้แข็งแรงควบคุมระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ

 

5. ผัก และผลไม้

สายผักผลไม้ต้องยิ้มแฉ่ง เพราะคุณจะเป็นตัวจริงที่หัวใจสตรองแข็งแรง ในผักและผลไม้หลากหลายชนิด ต่างสี หลายรสชาติ มีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี รวบรวมกันมาให้ตรงนี้ว่ามีอะไรบ้าง

  • ผักตระกูลถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วแขก ถั่วพู ถั่วฝักยาว

ผักตระกูลถั่ว ตัวช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของคนที่เป็นโรคเบาหวาน หรือยังไม่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน มักจะมีโรคแทรกซ้อนซึ่งก็มักจะพบโรคหัวใจได้ ผักตระกูลถั่วจึงเป็นแหล่งโปรตีนดีไม่มีไขมันเลว จึงขอแนะนำให้ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจ และเบาหวานรับประทาน

  • มันฝรั่ง

ในหัวมันฝรั่งเต็มไปด้วยธาตุโพแทสเซียม ช่วยลดความดันโลหิตได้ มีไฟเบอร์สูง ซึ่งข้อดีของมันฝรั่งข้อนี้ จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดของโรคหัวใจ

  • มะเขือเทศ

มะเขือเทศผลกลม ๆ อุดมด้วยไลโคปีนสูง เป็นหนึ่งในผลไม้ลูกเล็ก ที่สาว ๆ บางคนสามารถทานได้เป็นหลาย ๆ ลูก คุณสมบัติของไลโคปีนในมะเขือเทศ ช่วยต่อต้านตัวอนุมูลอิสระ ขจัดคอเรสเตอรอลที่ไม่ดี และมีน้ำตาลต่ำอีกด้วย

  • ผักขม บร็อคโคลี่ และคะน้า

ผักขม บร็อคโคลี่ คะน้า มีแคโรทีนอยด์สูง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และเป็นผักใบเขียวที่มีเส้นกากใยสูง อุดมด้วยวิตามิน แร่ธาตุ กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ดีต่อการทำงานของหัวใจ

  • ผลไม้ตระกูลส้ม

เมื่อรับประทานผลไม้ตระกูลส้ม จะพบสารฟลาโวนอยด์ สาว ๆ หนุ่ม ๆ สายเปรี้ยวที่ชื่นชอบดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาวคั้นสด เน้นว่าปราศจากสารอื่นเจือปน ยิ่งคั้นสด ไม่ใส่น้ำตาลน้ำเชื่อม รับประทานเองได้ยิ่งดี พบว่าคนที่ทานส้มและมะนาวเป็นประจำ ลดความเสี่ยงหลอดเลือดสมองตีบ ยิ่งในมะนาวยังมีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจด้วย

  • ลูกเบอรี่ต่าง ๆ

จัดกันมาทั้งตระกูลไม่ว่าจะเป็น สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ รวมถึงเบอร์รี่อื่น ๆ ล้วนมีประโยชน์ต่อหัวใจมาก ๆ เบอรี่ช่วยลดความเสี่ยงของอาการหัวใจล้มเหลว เบอรี่มีสารแอนโทไซยานินและฟลาโวนอยด์ หนึ่งในคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความดันโลหิต และขยายหลอดเลือดหัวใจได้ดี

  • อะโวคาโด

ผลไม้ยอดฮิตในกลุ่มสาว ๆ รักสุขภาพตอนนี้ ผลอะโวคาโด เนื้อนุ่ม รสชาติดี และมีสารต้านอนุมูลอิสระและโพแทสเซียมสูง มีไขมันที่ดีต่อสุขภาพเทียบเคียงน้ำมันมะกอก ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ เพราะเต็มไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว

  • ทับทิม หรือ แอปเปิ้ลเขียว

ทับทิมสีแดงมีสารต้านอนุมูลอิสระ ทั้งโพลีฟีนอลและแอนโทไซยานิน ช่วยยับยั้งการแข็งของหลอดเลือดแดงได้ดี หากเราหาทับทิมรับประทานยาก จะทานแอปเปิ้ลทดแทนก็สามารถทำได้ แนะนำว่าหากเป็นแอปเปิ้ลเขียวค่อนข้างดี เพราะในแอปเปิ้ลเขียวมีรสชาติอมเปรี้ยว แถมมีวิตามินซีสูง

 

6. เครื่องดื่มต่างๆ

เช่น ไวน์แดง กาแฟ ชาเขียว เป็นอาหารที่ย่อยง่าย แถมมีคุณค่าสารอาหารสูง และมีกรดไขมันที่จำเป็น เช่น โอเมก้า 3 ช่วยลดการแข็งตัวของหลอดเลือด การบริโภคเนื้อปลาลดความเสี่ยงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (irregular heart beat) และโรคหลอดเลือดแดง (atherosclerosis) ลดไตรกลีเซอไรด์ได้ดี ทั้งปลาพันธุ์ไทยและปลาต่างประเทศ ซึ่งน่าจะเป็นปลายอดฮิตของผู้ชื่นชอบรับประทานเนื้อปลาทั้งหลาย เช่น ปลากะพง ปลาทู ปลาดุก หรือ ซัลมอนเจ้าปลาสีส้ม ขวัญใจวัยรุ่น ที่ต่างกล่าวขานว่า ปลาเป็นซุปตาร์ของอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

  • ไวน์แดง

ในไวน์แดงมีสารโพลีฟีนอล เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ต้านอักเสบได้ดี ลดความเสียหายต่อDNA หนุ่มสาวที่รักการดื่มไวน์เป็นประจำ ควรดื่มในปริมาณพอสมควร ไวน์แดงจะช่วยป้องกันภาวะหัวใจวายได้

  • กาแฟ

สำหรับสาวกคอกาแฟทั้งหลาย การดื่มกาแฟเป็นประจำทุกวัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ที่สำคัญ ไม่ควรดื่มกาแฟมากเกินปริมาณที่พอเหมาะใน 1  วัน เพื่อป้องกันการนอนไม่หลับ

  • ชาเขียว

ชาเขียวเป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันมาก สำหรับผู้บริโภคในยุคนี้ ทั้งชงเป็นเครื่องดื่มร้อนและเย็น   คนที่ดื่มชาเขียว สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหลอดเลือด

 

อ่านจนจบกันถึงบรรทัดสุดท้าย หวังว่าทุกคนคงจะมีสุขภาพกายใจที่แข็งแรง กินดี มีสุข หัวใจดี๊ดี…กับสุดยอดอาหารบำรุงหัวใจ ที่เรารวบรวมคัดสรรมาให้กันวันนี้…หัวใจคุณให้พรินซ์ช่วยดูแล

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

พังผืดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

เป็นกลุ่มอาการปวดชานิ้วบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง บางครั้งอาจเป็นเพียง 1 หรือ 2 นิ้ว พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน

พังผืดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

เป็นกลุ่มอาการปวดชานิ้วบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง บางครั้งอาจเป็นเพียง 1 หรือ 2 นิ้ว พบได้บ่อยในกลุ่มคนวัยทำงาน

การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยจะมีอุบัติการณ์มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่50ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเช่น การตรวจพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่(colonic polyp), การมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคลำไส้อักเสบ(inflammatory bowel disease), การทานผักน้อยและทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก เป็นต้น

การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยจะมีอุบัติการณ์มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่50ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเช่น การตรวจพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่(colonic polyp), การมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคลำไส้อักเสบ(inflammatory bowel disease), การทานผักน้อยและทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก เป็นต้น

โรคในเด็กที่พบบ่อยตามฤดู โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก มักจะพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ นะคะ จำนวน ไม่แน่ใจ  แต่ว่าโรคจะระบาดในช่วงฤดูฝน อาการของโรค คือ มีไข้ มีแผลในปาก มีตุ่มแดงตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคในเด็กที่พบบ่อยตามฤดู โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก มักจะพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ นะคะ จำนวน ไม่แน่ใจ  แต่ว่าโรคจะระบาดในช่วงฤดูฝน อาการของโรค คือ มีไข้ มีแผลในปาก มีตุ่มแดงตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม