Header

พร้อมเป็นคุณแม่มือใหม่ เตรียมตัว ฝากครรภ์คุณภาพ

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

คุณแม่มือใหม่ ฝากครรภ์คุณภาพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เมื่อทราบข่าวว่า ได้เป็นว่าที่คุณแม่ป้ายแดง คุณแม่หลายๆท่าน คงตื่นเต้นและกังวลกับการตั้งครรภ์อยู่ไม่น้อย ยิ่งท้องแรกความกังวลอาจจะมากเป็นพิเศษ แต่!! อย่ากังวลจนเกินไปนะคะ มาค่ะ…เรามาเตรียมตัวเพื่อลูกน้อยกับ การ "ฝากครรภ์คุณภาพ” กันนะคะ

ทำไม “การฝากครรภ์” จึงมีความสำคัญ

คุณแม่มือใหม่ ต้องให้ความสำคัญกับการฝากครรภ์คุณภาพเป็นพิเศษ พิถีพิถันเพื่อการดูแลทั้งตัวเองและลูกน้อยให้แข็งแรง เพื่อลูกน้อยที่จะเกิดขึ้นมา เป็นของขวัญชิ้นที่งดงามที่สุด และแสนพิเศษเพื่อคุณภาพชีวิตของเด็กเอง ที่กำลังจะลืมตาขึ้นมาเป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัว ให้ได้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และเป็นอนาคตที่สำคัญของสังคม 

 

ทราบหรือไม่ว่่า ?

  • อัตราการเสียชีวิตของมารดาตั้งครรภ์ทั่วโลก 157 ต่อ 100,000 คน (0.157%) ในปี 2020 (ข้อมูลจาก WHO)
  • 10-20% ของทุกการตั้งครรภ์ อาจเป็นการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ
  • 2-14% มีโอกาสเป็น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • 6% อาจมีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
  • 2-8% อาจมีภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • 10% อาจมีภาวะคลอดก่อนกำหนด

ดังนั้น “การฝากครรภ์” จึงมีความสำคัญกับทั้งคุณแม่และลูกน้อยมากๆ เพื่อการเตรียมตัว และดูแลตัวเอง ให้พร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่อาจมากับโรคที่ไม่คาดคิด ซึ่งอาจทราบได้จากตอนตั้งครรภ์จากการเจาะเลือด หรือตรวจปัสสาวะ เพื่อทำการติดตามการรักษาควบคู่ไม่ให้เป็นพาหะส่งถึงลูกน้อย  

 

“การฝากครรภ์คุณภาพ” หมายถึง 

การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์และการฝากครรภ์อย่างน้อย  5 ครั้งตลอดระยะการตั้งท้อง เพื่อให้มารดาและทารกได้รับการบริการทางสุขภาพที่ครบถ้วนและดีที่สุด ระหว่างตั้งท้องซึ่งก็จะส่งผลต่อเนื่องไปจนถึงหลังคลอดลูกด้วย

 

ความสำคัญของการฝากครรภ์

  • ดูแลรักษาสุขภาพของแม่ และทารกในครรภ์ ให้ราบรื่นตลอดการตั้งครรภ์ และการคลอด
  • คลอดบุตรที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ 
  • ลดอัตราการเสียชีวิต และภาวะแทรกซ้อนของแม่และเด็ก
  • วินิจฉัย ป้องกัน และรักษาความผิดปกติ และภาวะแทรกซ้อนได้ทันท่วงที 

 

การดูแลหญิงตั้งครรภ์ ขั้นพื้นฐานตลอดการตั้งครรภ์ ประกอบด้วย 

  1. การสอบถามประวัติ
  2. การตรวจร่างกายและตรวจครรภ์
  3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  4. การประเมินเพื่อการดูแลสุขภาพ และป้องกันโรค ตรวจคัดกรอง และรักษา

 

การนับอายุครรภ์

  • นับจากวันแรก ของประจำเดือนรอบสุดท้าย
  • คำนวณอายุครรภ์ จากการอัลตราซาวด์

การตรวจที่สำคัญใน ไตรมาสที่ 1

  • การสอบถามข้อมูลทั่วไป เพื่อประเมิน และเช็คประวัติคุณแม่/คุณพ่อ โดยละเอียด 
  • ประวัติส่วนตัว/ครอบครัว
  • ประวัติการเจ็บป่วย
  • ประวัติทางสูติกรรม

 

การตรวจร่างกายและตรวจครรภ์

  • ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
  • วัดความดันโลหิต
  • ตรวจร่างกายทั่วไป
  • ตรวจครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) เพื่อประเมินอายุครรภ์โดยแพทย์
  • ให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ข้อควรระวังต่าง ๆ 
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อวินิจฉัยเรื่องต่าง ๆ 
  • เจาะเลือดตรวจ Lab I หญิงตั้งครรภ์ ค้นหาโรคหรือความเสี่ยงแฝง 
  • CBC for Hct/Hb MCV, DCIP, VDRL , Anti-HIV, HBsAg, Blood group ABO, Rh 
  • เจาะเลือดสามี เพื่อคัดกรองธาลัสซีเมีย, ซิฟิลิสและโรคเอดส์
  • CBC, MCV, DCIP, VDRL, Anti-HIV
  • ตรวจปัสสาวะ หา protein sugar และ bacteria

 

สำหรับการตรวจในไตรมาสที่ 1 

  • เพื่อการประเมินคุณแม่ และลูกน้อย เพื่อวางแผนการดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มต้น 
  • ให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ-บาดทะยัก (ขึ้นอยู่กับประวัติการได้รับวัคซีนในอดีต)
  • ให้ยาเสริมธาตุเหล็ก กรดโฟลิก และแคลเซียม รวมถึงวิตามินในรายที่จำป็น
  • ประเมินสุขภาพจิต ให้คุณแม่ไม่เครียด สบายใจตลอดการตั้งครรภ์ 
  • ประเมินการสูบบุหรี่ ทั้งของหญิงตั้งครรภ์และสามีหรือคนในครอบครัว
  • บันทึกข้อมูลการฝากครรภ์และผลการตรวจ ในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก และเวชระเบียน ซึ่งมีความสำคัญมากจนถึงครบกำหนดการคลอด

 

การตรวจที่สำคัญใน ไตรมาสที่ 2

ช่วงอายุครรภ์ 14 -18 สัปดาห์ ให้คำปรึกษาและตรวจเลือดเพื่อตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ต่าง ๆ 

 

การตรวจคัดกรอง

  • อัลตราซาวด์ 
  • เจาะวัด ระดับสารเคมีในเลือดมารดา
  • เจาะเลือดมารดาเพื่อวิเคราะห์จากสารพันธุกรรมดีเอ็นเอของทารก (Fetal cell-free DNA)

 

การตรวจวินิจฉัย 

  • การเจาะเนื้อรก
  • การเจาะน้ำคร่ำ
  • การเจาะเลือดจากสายสะดือทารกในครรภ์

**อายุครรภ์ 24 -28 สัปดาห์ ตรวจเลือดคัดกรองโรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ ทุกราย (50 g. Glucose challenge test) หากเป็นกลุ่มเสี่ยง ให้คัดกรองตั้งแต่ฝากครรภ์ครั้งแรก เพื่อป้องกันโรคเบาหวานที่อาจจะส่งผลกับทารกในครรภ์ 

 

วัคซีนที่จำเป็น โดยแพทย์จะประเมินโดยละเอียด 

  • บาดทะยัก
  • ไข้หวัดใหญ่
  • โรคไอกรน (วัคซีนเสริม)
  • วัคซีน COVID-19 : ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป

 

การตรวจที่สำคัญใน ไตรมาสที่ 3

  • เจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการ ( LAB II ) ได้แก่ Hb/Hct, VDRL, Anti HIV
  • การให้คำแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์ และคุณพ่อในการช่วยระมัดระวังคุณแม่ ก่อนถึงกำหนดคลอด เพื่อการช่วยกันดูแลตัวเอง และประเมินอาการสำคัญต่าง ๆ 
  • การสังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์ พร้อมทั้งสอนให้นับจำนวนครั้งของการดิ้นของทารก
  • การสังเกตอาการสำคัญ ที่ต้องมาโรงพยาบาลเพื่อการคลอด เช่น เจ็บครรภ์คลอด มีน้ำเดิน มีมูกเลือด หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่ต้องมาโรงพยาบาลโดยเร็ว เช่น เลือดออกทางช่องคลอด ทารกดิ้นน้อยลง ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว เจ็บจุกแน่นบริเวณใต้ชายโครงขวา มีไข้ เป็นต้น 
  • ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เลือดออก น้ำเดิน
  • ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การดูแลเต้านม ประโยชน์นมแม่ 
  • วางแผนการคุมกำเนิด หลังคลอด เพื่อการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง 
  • วางแผนการคลอด, ตรวจภายในประเมินเชิงกราน, อัลตราซาวด์ดูท่า น้ำหนักทารกในครรภ์โดยละเอียด เพื่อประเมินการเตรียมคลอดให้ปลอดภัย 

คุณแม่จะเห็นได้ว่า ตลอดการตั้งครรภ์ในทุกไตรมาส จะมีการตรวจที่สำคัญในทุกช่วง ดังนั้นการตรวจเพื่อติดตามตลอดการตั้งครรภ์ จึงมีความจำเป็น ที่สำคัญที่สุดของเตรียมตัว "ฝากครรภ์คุณภาพ" นั้น ประโยชน์ที่ได้รับจะเกิดกับลูกน้อย ในเรื่องของการตรวจดูพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ทั้งสุขภาพทั้งกาย และสุขภาพจิตที่สมบูรณ์แข็งแรง เมื่อทารกคลอดออกมา “การฝากครรภ์คุณภาพ” จึงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่คุณแม่ทุกท่านควรตระหนัก และไม่ควรละเลย

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกสุขภาพสตรี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกสุขภาพสตรี

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4204

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกสุขภาพสตรี

พญ.ธันย์ชนก สมปรารถนา

มะเร็งวิทยานรีเวช

แผนกสุขภาพสตรี

พญ.ปวีณา อมรเพชรกุล

สูตินรีแพทย์

แผนกสุขภาพสตรี

นพ.ปัญจวิชญ์ ปทุมานุสรณ์

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เตรียมความพร้อมเต้านมคุณแม่ ก่อนคลอด สำคัญอย่างไร ?

ในประเทศไทยมีการสำรวจเมื่อ 2020 พบว่า มีการให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพียง 23.1% เท่านั้น สาเหตุหนึ่งของปัญหานี้ มาจากหัวนมของคุณแม่ที่ไม่พร้อม หรือไม่สามารถให้นมได้

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เตรียมความพร้อมเต้านมคุณแม่ ก่อนคลอด สำคัญอย่างไร ?

ในประเทศไทยมีการสำรวจเมื่อ 2020 พบว่า มีการให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพียง 23.1% เท่านั้น สาเหตุหนึ่งของปัญหานี้ มาจากหัวนมของคุณแม่ที่ไม่พร้อม หรือไม่สามารถให้นมได้

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

19 เมษายน 2566

คุณแม่มือใหม่ ผู้ที่เสี่ยงเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถพบได้ 3-14% ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด เนื่องจากในหญิงตั้งครรภ์จะมีการสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งจากรกขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ต้านอินซูลิน จึงทำให้คนที่ตั้งครรภ์มีน้ำตาลสูงมากกว่าคนปกติ

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

19 เมษายน 2566

คุณแม่มือใหม่ ผู้ที่เสี่ยงเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถพบได้ 3-14% ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด เนื่องจากในหญิงตั้งครรภ์จะมีการสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งจากรกขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ต้านอินซูลิน จึงทำให้คนที่ตั้งครรภ์มีน้ำตาลสูงมากกว่าคนปกติ

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด ดีกว่า รู้ก่อน พร้อมก่อน คลายกังวล

การคลอดบุตร รู้ก่อน พร้อมก่อน คลายกังวล ขั้นตอนการมาคลอดธรรมชาติ และขั้นตอนการมาผ่าตัดคลอด ข้อดีของการคลอดแต่ละแบบ รวมถึงข้อเสียของการคลอดแต่ละแบบ

คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด ดีกว่า รู้ก่อน พร้อมก่อน คลายกังวล

การคลอดบุตร รู้ก่อน พร้อมก่อน คลายกังวล ขั้นตอนการมาคลอดธรรมชาติ และขั้นตอนการมาผ่าตัดคลอด ข้อดีของการคลอดแต่ละแบบ รวมถึงข้อเสียของการคลอดแต่ละแบบ