Header

คุณแม่มือใหม่ ผู้ที่เสี่ยงเบาหวาน ขณะตั้งครรภ์

19 เมษายน 2566

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

คุณแม่มือใหม่กับการตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถพบได้ 3-14% ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด เนื่องจากในหญิงตั้งครรภ์จะมีการสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งจากรกขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ต้านอินซูลิน จึงทำให้คนที่ตั้งครรภ์มีน้ำตาลสูงมากกว่าคนปกติ 

ผู้ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคเบาหวาน, มีประวัติคลอดเด็กน้ำหนักมาก, มีประวัติคลอดเด็กเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ, เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ครั้งก่อน, หญิงที่ตั้งครรภ์ช่วงอายุมาก หรือ มีน้ำหนักมากตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

 

การคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ในคุณแม่ที่มาฝากครรภ์ทุกราย จะได้รับการตรวจคัดกรองที่อายุครรภ์ 24 – 28 สัปดาห์ โดยการตรวจคัดกรองด้วย 50g GCT คือ ให้คุณแม่รับประทานน้ำตาลกลูโคสขนาด 50 กรัม โดยไม่ต้องงดน้ำ-งดอาหาร และทำการเจาะเลือด เพื่อดูค่าน้ำตาลที่ 1 ชั่วโมง หลังรับประทาน 

หากผลน้ำตาลสูงผิดปกติ จะต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ต่อไป โดยการตรวจวินิจฉัยด้วย 100g OGTT โดยทำการเจาะเลือดขณะอดอาหาร และหลังให้รับประทานกลูโคส 100 กรัม ที่ 1, 2 และ 3 ชั่วโมงตามลำดับ (รวมเจาะเลือดทั้งหมด 4 ครั้ง) 

หากผลพบความผิดปกติ มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ค่า คุณแม่จะได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และทำการรักษาควบคู่กับการฝากครรภ์ต่อไป

ผลของโรคเบาหวานต่อการตั้งครรภ์และการคลอด

  • โอกาสการคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น
  • น้ำคร่ำปริมาณมากกว่าปกติ
  • อัตราการผ่าตัดคลอด อาจเพิ่มขึ้น 
  • ภาวะความดันโลหิตสูง เนื่องจากการตั้งครรภ์สูงขึ้นประมาณ 4 เท่า และครรภ์เป็นพิษ
  • ติดเชื้อได้ง่ายพบได้ถึงร้อยละ 80 รวมถึงแผลผ่าตัดติดเชื้อหลังคลอด
  • อัตราการตายของมารดา เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในรายที่เป็นเบาหวานรุนแรง และควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี 
  • อัตราการตกเลือดหลังคลอดเพิ่มขึ้น
  • โอกาสเป็นโรคเบาหวานเรื้อรังเพิ่มขึ้น
  • เบาหวานขึ้นตา ทำให้การมองเห็นผิดปกติ
  • เบาหวานลงไต ทำให้ไตเสื่อมสภาพ
  • ปัญหาอื่นๆที่พบได้ เช่น การคลอดยาก คลอดติดขัด แผลขนาดใหญ่กว่าปกติ และอันตรายต่อช่องทางคลอด เนื่องจากทารกตัวใหญ่กว่าปกติ

 

คุณแม่มือใหม่กับเบาหวาน-โรงพยาบาล-พริ้นซ์-สุวรรณภูมิ

ผลของโรคเบาหวานต่อทารกในครรภ์ และทารกแรกคลอด

  • ทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์ โดยไม่ทราบสาเหตุ 
  • ทารกอาจเกิดภาวะการหายใจผิดปกติ ขาดออกซิเจน หายใจเหนื่อยกว่าปกติ
  • เพิ่มอัตราการเข้ารักษาในห้อง ICU ทารกแรกเกิด หรือต้องสังเกตอาการใกล้ชิด รวมถึงการใส่ท่อช่วยหายใจในเด็กแรกเกิด
  • ทารกพิการโดยกำเนิด ความผิดปกติที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ผนังห้องหัวใจรั่ว หรือส่งผลต่อระบบประสาทและกระดูกสันหลังของเด็กในครรภ์
  • ทารกโตช้าในครรภ์ ในมารดาที่เป็นเบาหวานชนิดที่มีภาวะแทรกซ้อนของระบบหลอดเลือด
  • การติดเชื้อของทารกเพิ่มขึ้นช่วงหลังคลอด
  • เด็กที่เกิดจากมารดาที่เป็นเบาหวานตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ มีโอกาสเกิดโรคเบาหวาน ร้อยละ 1 - 3 และถ้าบิดาและมารดาเป็นเบาหวาน ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20

 

การดูแลรักษาคุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีความสำคัญอย่างมาก อยู่ที่การประเมินความเสี่ยง และให้การดูแลควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตั้งแต่ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อย  ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ ดังที่กล่าวมาข้างต้น

หากคุณแม่เข้ารับการฝากครรภ์ ตั้งแต่ไตรมาสแรก ทางสูตินรีแพทย์ จะมีการให้คำปรึกษา การพิจารณาความเสี่ยง และส่งตรวจคัดกรองหาโรค เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกสุขภาพสตรี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกสุขภาพสตรี

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4204

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกสุขภาพสตรี

นพ.ปัญจวิชญ์ ปทุมานุสรณ์

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

แผนกสุขภาพสตรี

แผนกสุขภาพสตรี

พญ.ปวีณา อมรเพชรกุล

สูตินรีแพทย์

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

อยู่กับโรคเบาหวานอย่างไรให้มีความสุข

ขึ้นชื่อว่าโรคเบาหวานแล้วคงไม่มีใครไม่รู้จัก แต่รู้หรือไม่ว่าคนเป็นโรคเบาหวานนั้นอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด โดยจากสถิติของสมาคมโรคเบาหวาน พบว่า ในปี 2562 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน มากถึง 4.8 ล้านคน

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่กับโรคเบาหวานอย่างไรให้มีความสุข

ขึ้นชื่อว่าโรคเบาหวานแล้วคงไม่มีใครไม่รู้จัก แต่รู้หรือไม่ว่าคนเป็นโรคเบาหวานนั้นอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด โดยจากสถิติของสมาคมโรคเบาหวาน พบว่า ในปี 2562 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน มากถึง 4.8 ล้านคน

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคเบาหวานขึ้นตา

ท่านทราบหรือไม่ว่าผู้ป่วยเป็นภาวะเบาหวานมีโอกาสเกิดภาวะ แทรกซ้อนที่ตาทำให้ตาบอดได้ ภาวะนี้เกิดจากการที่เบาหวานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเส้น เลือดที่จอประสาทตา หรือที่เรียกว่า  ภาวะเบาหวานขึ้นตา

blank คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคเบาหวานขึ้นตา

ท่านทราบหรือไม่ว่าผู้ป่วยเป็นภาวะเบาหวานมีโอกาสเกิดภาวะ แทรกซ้อนที่ตาทำให้ตาบอดได้ ภาวะนี้เกิดจากการที่เบาหวานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเส้น เลือดที่จอประสาทตา หรือที่เรียกว่า  ภาวะเบาหวานขึ้นตา

blank คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วีธีการดูแลคุณแม่มือใหม่ อายุครรภ์ 1-9 เดือน

เมื่อคุณผู้หญิงเริ่มรู้ตัวว่าตั้งครรภ์แล้ว สิ่งที่ควรทำคือการพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์และขอคำแนะนำในการปฏิบัติตัวจากแพทย์ผู้ชำนาญการในการดูแลครรภ์ เพื่อให้ตลอดระยะเวลา 9 เดือน

วีธีการดูแลคุณแม่มือใหม่ อายุครรภ์ 1-9 เดือน

เมื่อคุณผู้หญิงเริ่มรู้ตัวว่าตั้งครรภ์แล้ว สิ่งที่ควรทำคือการพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์และขอคำแนะนำในการปฏิบัติตัวจากแพทย์ผู้ชำนาญการในการดูแลครรภ์ เพื่อให้ตลอดระยะเวลา 9 เดือน