Header

วีธีการดูแลคุณแม่มือใหม่ อายุครรภ์ 1-9 เดือน

วิธีดูแลคุณแม่1-9เดือน โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เมื่อแต่งงานมีครอบครัว หลายครอบครัวก็เริ่มวางแผนที่จะมีลูก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างครอบครัวให้สมบูรณ์

เมื่อคุณผู้หญิงเริ่มรู้ตัวว่าตั้งครรภ์แล้ว สิ่งที่ควรทำคือการพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์และขอคำแนะนำในการปฏิบัติตัวจากแพทย์ผู้ชำนาญการในการดูแลครรภ์ เพื่อให้ตลอดระยะเวลา 9 เดือน เป็น 9 เดือนที่ทารกในครรภ์จะคลอดออกมามีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง คุณแม่จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่แรกเริ่มเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับสมาชิกใหม่ที่จะเกิดขึ้น

 

 

 

#————————————————–#

ข้อแนะนำการฝากครรภ์สำหรับคุณแม่มือใหม่และการดูแลครรภ์ตลอด 9 เดือน

พญ.ลูกหวาย คู่ธีรวงศ์  สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ แนะนำว่า การฝากครรภ์สิ่งควรเตรียมตัวก่อนการไปพบแพทย์ คือ ประวัติโรคประจำตัวของคุณแม่(ถ้ามี) รวมไปถึงยาที่ใช้ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการล่าสุด การตรวจสอบประวัติครอบครัว ญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่ายว่ามีความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

หรือโรคบางอย่างที่อาจทำอันตรายเมื่อตั้งครรภ์ และสภาวะบางอย่างที่มีผลต่อการคลอด ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ผู้รับฝากครรภ์เป็นอย่างมากถ้าทราบล่วงหน้าจะทำให้แพทย์สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมและถูกวิธี

แม่ท้องต้องรู้-ก่อนการตั้งครรภ์ ควรมีการตรวจสุขภาพของคุณพ่อและคุณแม่เพื่อประเมินสุขภาพทั่วไป ความพร้อมในการตั้งครรภ์ ตรวจความเสี่ยงของโรคโลหิตจางแฝงทางพันธุกรรมที่พบบ่อยตรวจภูมิคุ้มกันของโรคบางชนิดที่จำเป็นต้องทราบและอาจต้องฉัดวัคซีนบางตัว รวมถึงรับยาบำรุงระบบประสาทของทารกที่จำเป็นต้องได้รับประจำเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนก่อนการตั้งครรภ์

 

แม่ท้องต้องรู้-เดือนที่ 1 ของการตั้งครรภ์คุณแม่บางท่านยังไม่ทราบเลยว่าตนเองตั้งครรภ์ เนื่องจากประจำเดือนเพิ่งเริ่มขาด

โดยเฉพาะในบางท่านที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อาจมีอาการผิดปกติ เช่น คัดตึงเต้านม อาการอยากอาหาร รู้สึกเพลียอยากพักผ่อนตลอดเวลา มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เมื่อไปตรวจครรภ์คุณหมออาจขอตรวจปัสสาวะดูการตั้งครรภ์ซ้ำเพื่อยืนยันในบางท่านที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ  และอัลตราซาวด์ดูการตั้งครรภ์ว่าอยู่ในโพรงมดลูก หรือตั้งครรภ์นอกมดลูกซึ่งจะเป็นอันตรายต่อคุณแม่ และวัดความยาวของทารก(เร็วที่สุดเท่าที่จะวัดได้)เพื่อคำนวณกำหนดคลอดร่วมกับวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายให้แม่นยำที่สุด

คุณหมอจะเริ่มสั่งยาบำรุงให้รับประทานตั้งแต่ครั้งแรกที่ทราบว่าเพื่อช่วยให้การเจริญเติบโตทางระบบประสาทของบุตรเป็นไปตามปกติ คุณแม่ไม่ควรซื้อยารับประทานเองเมื่อไม่สบาย เนื่องจากยาบางตัวจะส่งผลต่อการพัฒนาอวัยวะของลูกน้อยอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในเดือนแรกคือ การมีเลือดออกบริเวณช่องคลอด หรือปวดท้องน้อย คุณแม่ควรสังเกตตัวเองเพราะนั่นอาจเป็นสาเหตุของภาวะแท้งบุตรหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ต้องรีบมาพบแพทย์ทันที

 

#————————————————–#

แม่ท้องต้องรู้-เดือนที่ 2 คุณแม่อาจพบว่ามีเลือดออกตามไรฟัน

เพราะเนื้อเยื่อที่เหงือกจะอ่อนนุ่มมากขึ้นนั่นเอง แต่การมีเลือดออกอาจตามมาด้วยการอักเสบ ดังนั้นคุณแม่อาจจำเป็นต้องปรึกษาทันตแพทย์ และทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร อาการแพ้ท้องอาจรุนแรงขึ้นในบางท่าน

พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่รสจัดและมันเพราะจะกระตุ้นให้การแพ้มากขึ้น และอาจแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็กๆเพื่อลดอาการแพ้ ในรายที่ไม่สามารถทานอาหารได้ ควรมาพบแพทย์ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงเดือนนี้คือ อาการแพ้ท้อง ปวดปัสสาวะบ่อย ท้องผูก รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย แท้งบุตร และท้องนอกมดลูก

 

#————————————————–#

แม่ท้องต้องรู้-เดือนที่ 3 ทารกในครรภ์จะเริ่มเคลื่อนไหวได้

แต่คุณแม่จะยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวต่างๆ ของทารก คุณหมอจะอัลตราซาวด์อย่างละเอียดสำหรับไตรมาสแรกเพื่อตรวจดูความผิดปกติของทารกในครรภ์ ประเมินอาการที่ตรวจพบได้ของภาวะโครโมโซมผิดปกติ

ระยะนี้คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีปริมาตรของเลือดเพิ่มมากขึ้น แต่เม็ดเลือดแดงอาจเพิ่มขึ้นไม่เพียงพอซึ่งอาจทำให้คุณมีภาวะโลหิตจางได้ การตรวจเลือดเพื่อหาภาวะโลหิตจางจึงเป็นสิ่งจำเป็น คุณหมอจะให้ยาบำรุงครรภ์ไปทาน ซึ่งมีธาตุเหล็ก และสารไอโอดีน เป็นส่วนผสมหลักของยา เพื่อป้องกันภาวะซีดในคุณแม่ และภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในลูกน้อย
 

  
 

#————————————————–#

แม่ท้องต้องรู้-เดือนที่ 4 อาการแพ้ท้องจะเริ่มทุเลาลง คุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างชัดเจน

เสื้อผ้าอาจเริ่มคับและอึดอัด อาจจะต้องเปลี่ยนมาใส่ชุดคลุมท้องกันแล้วในเดือนนี้

สำหรับพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ในช่วงเดือนที่ 4 นี้ ทารกในครรภ์จะเติบโตอย่างรวดเร็ว แขนและข้อต่อต่างๆ พัฒนาไปจนเกือบสมบูรณ์ การตรวจอัลตราซาวด์ในเดือนนี้จะสามารถมองเห็นโครงหน้าได้ชัดเจนขึ้นรวมถึงการทราบเพศของลูกน้อยด้วย

 

#————————————————–#

แม่ท้องต้องรู้-เดือนที่ 5 คุณแม่อาจเริ่มรู้สึกเจ็บแปลบบริเวณหน้าท้องด้านล่างทั้งสองข้าง

เนื่องจากการขยายตัวที่รวดเร็วของมดลูก มีอาการปวดหลัง เล็บมือเล็บเท้าเปราะบาง ผมร่วง ซึ่งถือว่าเป็นอาการปกติ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่มากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน

แต่ในเดือนนี้คุณแม่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกอย่างชัดเจนแล้ว อาการแพ้ท้องต่างๆ ก็จะหมดไป ที่สำคัญทารกจะสามารถได้ยินเสียงและจดจำเสียงของคุณแม่ได้ และตอบสนองต่อเสียงภายนอกได้ด้วย เช่น ทารกจะเคลื่อนไหวเมื่อได้ยินเสียงดนตรี เป็นต้น

 

#————————————————–#

แม่ท้องต้องรู้-เดือนที่ 6 ภาวะแทรกซ้อนที่ควรระวังเป็นพิเศษคือ ภาวะครรภ์เป็นพิษ

ซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อยกว่าปกติในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เป็นท้องแรก การเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การอักเสบติดเชื้อราจะพบได้ง่ายมากเนื่องจากสภาวะเป็นกรดของช่องคลอด และการอักเสบในระบบทางเดินปัสสาวะพบได้บ่อยขึ้น ซึ่งจะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้

แนะนำให้คุณแม่งดกลั้นปัสสาวะ ดูแลเรื่องอาหารเป็นพิเศษ การรับประทานอาหารให้สมดุลทั้งห้าหมู่ โดยเน้นโปรตีนและผักผลไม้ที่ไม่หวาน เลือกอาหารอุดมไปด้วยธาตุเหล็กมีความจำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดงของคุณแม่และทารกในครรภ์ด้วย ลูกน้อยในครรภ์จะมีการพัฒนาการรับรู้โดยการฟัง คุณพ่อคุณแม่สามารถพูดคุยกับทารก อ่านนิทาน เปิดเพลงกระตุ้นพัฒนาการ
 

 

#————————————————–#

แม่ท้องต้องรู้-เดือนที่ 7  เข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์

คุณแม่จะรู้สึกได้ดีถึงการเคลื่อนไหวของทารก  ขนาดของมดลูกโตมากขึ้นอาจดันให้กระบังลมสูงขึ้นทำให้คุณแม่หายใจเร็วขึ้น และตื้นกว่าปกติ

มดลูกเองก็จะบีบตัวเบาๆ เป็นครั้งคราวไม่สม่ำเสมอ เป็นการเริ่มต้นการหดรัดตัวของมดลูก แต่จะไม่มีอาการเจ็บปวดและจะบีบรัดตัวครั้งละไม่นานเกิน 30 วินาที

ในระยะนี้คุณแม่ควรจะได้เข้าอบรมเรียนรู้ขั้นตอนการเตรียมคลอด ทางเลือกในการคลอด เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อเจ็บครรภ์คลอดและเข้าสู่กระบวนการคลอด ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้คือการคลอดก่อนกำหนด

 

#————————————————–#

แม่ท้องต้องรู้-เดือนที่ 8 ทารกมีการพัฒนารูปร่างรวมถึงสมองอย่างรวดเร็วในเดือนนี้

ลองคุยกับลูกหรือเปิดเพลงเบาๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคย ทารกจะหมุนตัวกลับเอาศรีษะลงไปสู่เชิงกรานของแม่เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับคลอด

แต่บางทีไม่เป็นเช่นนั้น โดยแพทย์จะสามารถตรวจได้จากการอัลตราซาวด์และถ้าหากในเดือนที่ 9 ทารกยังคงไม่หมุนศีรษะกลับลงมา การผ่าคลอดก็จะถูกกำหนดขึ้น นอกจากนี้คุณยังเริ่มประเมินความสัมพันธ์ของขนาดส่วนนำของทารกและท่าของทารกกับขนาดและอุ้งเชิงกรานของคุณแม่เพื่อประเมินช่องทางคลอดที่เหมาะสม รวมถึงปริมาณน้ำคร่ำและการการขยับแขนขา ลำตัวรวมถึงเต้นของหัวใจทารก

คุณแม่จะรู้สึกถึงความอึดอัดท้องที่โตขึ้นทำให้พื้นที่ปอดขยายลดลงจะรู้สึกเหนื่อยง่าย อาจมีอาการไม่สบายตัวหรือหน้ามือขณะนอนหงายได้ เนื่องจากเส้นเลือดดำใหญ่ในช่องท้องถูกกด ถ้ามีอาการ แนะนำให้นอนตะแคงด้านซ้าย ส่วนำของทารกจะเริ่มเคลื่อนลงต่ำ อาจมีปัสสาวะบ่อย มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และเป็นตระคริวบ่อยขึ้น เท้าบวม ปวดปริเวณหัวเหน่าและช่องคลอด

คุณแม่ควรจะต้องเรียนรู้กระบวนการคลอดและสังเกตถึงความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น น้ำเดิน ลูกดิ้นน้อยลง คลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น ต้องรีบมาโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ทันที ควรจะเตรียมเครื่องใช้สำหรับการเข้าอยู่ในโรงพยาบาลไว้ให้พร้อม

 

#————————————————–#

แม่ท้องต้องรู้-เดือนที่ 9 คุณแม่หลายคนเริ่มนับถอยหลังกันแล้ว วันเวลาแห่งการรอคอยกำลังจะมาถึง

เดือนสุดท้ายนี้คุณแม่จะอุ้ยอ้ายมากขึ้นแต่อาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ จะลดลงเนื่องจากทารกเคลื่อนตัวมาสู่ช่องเชิงกรานแล้ว อาการแสดงว่าจะคลอด จะมีการบีบรัดตัวของมดลูกรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ มีอาการปวดท้องเป็นพักๆ

 

#————————————————–#

คุณแม่บางคนมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด

ภาวะน้ำเดิน เมื่อคุณแม่มีอาการเจ็บครรภ์ถี่ขึ้น มีน้ำเดิน ลูกดิ้นน้อยลง หรืออาการของครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาการสำคัญดังกล่าวที่จะบอกว่าคุณแม่ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน

อาการและความรู้สึกต่างๆ ดังที่กล่าวมานั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนจะรู้สึกได้ บางคนก็มีอาการมากบางคนก็มีอาการน้อย ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและการปฏิบัติตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์แต่ละคน

ทั้งนี้การดูแลตัวเองและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ มาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

 


 

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ที่นี่

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง

เบอร์โทรศัพท์ (+66)02 0805999



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกสุขภาพสตรี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกสุขภาพสตรี

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4204

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

“ประจำเดือน” ผิดปกติ สาเหตุของโรคอะไรบ้าง?

“ประจำเดือน” คือเยื่อบุของโพรงมดลูกที่หลุดออกมาทุกรอบเดือนของผู้หญิง ในปกติผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์จะมีรอบเดือนทุกๆ 21-35 วัน และแต่ละรอบจะยาวนานราว 2-7 วัน

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“ประจำเดือน” ผิดปกติ สาเหตุของโรคอะไรบ้าง?

“ประจำเดือน” คือเยื่อบุของโพรงมดลูกที่หลุดออกมาทุกรอบเดือนของผู้หญิง ในปกติผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์จะมีรอบเดือนทุกๆ 21-35 วัน และแต่ละรอบจะยาวนานราว 2-7 วัน

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด ดีกว่า รู้ก่อน พร้อมก่อน คลายกังวล

การคลอดบุตร รู้ก่อน พร้อมก่อน คลายกังวล ขั้นตอนการมาคลอดธรรมชาติ และขั้นตอนการมาผ่าตัดคลอด ข้อดีของการคลอดแต่ละแบบ รวมถึงข้อเสียของการคลอดแต่ละแบบ

คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด ดีกว่า รู้ก่อน พร้อมก่อน คลายกังวล

การคลอดบุตร รู้ก่อน พร้อมก่อน คลายกังวล ขั้นตอนการมาคลอดธรรมชาติ และขั้นตอนการมาผ่าตัดคลอด ข้อดีของการคลอดแต่ละแบบ รวมถึงข้อเสียของการคลอดแต่ละแบบ

คุณแม่ตั้งครรภ์ รับประทานอะไรดี

เมื่อรู้ตัวว่าได้เป็นคุณแม่…หนึ่งคำถามที่ลอยขึ้นมา สำหรับว่าที่คุณแม่มือใหม่ อาจจะหนีไม่พ้นเรื่องของอาหารการกิน ที่อยากจะถามคุณหมอว่า “คนท้อง…ต้องกินเท่าไหร่จึงจะเพียงพอ” ?

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คุณแม่ตั้งครรภ์ รับประทานอะไรดี

เมื่อรู้ตัวว่าได้เป็นคุณแม่…หนึ่งคำถามที่ลอยขึ้นมา สำหรับว่าที่คุณแม่มือใหม่ อาจจะหนีไม่พ้นเรื่องของอาหารการกิน ที่อยากจะถามคุณหมอว่า “คนท้อง…ต้องกินเท่าไหร่จึงจะเพียงพอ” ?

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม