Header

ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร ด้วยเทคนิคส่องกล้อง

นพ.นรนนท์ บุญยืน

ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร ด้วยเทคนิคส่องกล้อง - โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคอ้วน นอกจากจะทำให้คุณสูญเสียความมั่นใจแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนตามมามากมาย ส่งผลเสียทั้งสุขภาพและการดำเนินชีวิต การผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนัก (bariatric surgery) เป็นหนึ่งในวิธีการลดน้ำหนักที่ได้รับการยอมรับและเป็นมาตรฐาน ในการรักษาโรคอ้วน รวมถึงโรคแทรกซ้อนจากความอ้วนต่างๆ การผ่าตัดมีหลายวิธีขึ้นกับความเหมาะสมในแต่ละบุคคล โดยทุกวิธีจะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง แผลมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยฟื้นตัวไว้ สามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ในเวลาอันสั้น รวมถึงลดผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดแผลใหญ่ได้มาก 
 

โรคอ้วนคืออะไร?

คำนิยามของโรคอ้วน คือ ภาวะที่มีการสะสมของสัดส่วนไขมันในร่างกายมากผิดปกติ การวินิจฉัยโรคอ้วนโดยการวัดอัตราส่วนไขมันนั้นจะแม่นยำ แต่ทำได้ยากกว่า ทางองค์การอนามัยโลกจึงใช้ ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) เป็นตัวกำหนดโดยสำหรับชาวเอเชีย ถ้าค่า BMI > 25 kg/m² ถือว่าเป็นโรคอ้วน และ ถ้า >30 kg/m² ถือว่าเป็นโรคอ้วนรุนแรง (ระดับ2) 

 

ดัชนีมวลกายเท่าไหร่? เรียกว่า “อ้วน”

ค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index) คือ ตัวชี้วัดมาตรฐานแสดงสภาวะความสมดุลของร่างกาย คำนวณโดยใช้สูตร

 

“ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร) x ส่วนสูง (เมตร)”

 

คนปกติ (ชาวเอเชีย) ควรมีค่า BMI อยู่ที่ 18.5 – 22.9 kg/m² หากมากหรือน้อยกว่านี้ จะเกิดภาวะทุพโภชนาการและโรคต่างๆ

  • ค่า BMI 23.0 – 24.9 kg/m² เรียกว่า “น้ำหนักเกิน”
  • ค่า BMI  25.0 -29.90 kg/m²  “อ้วนระดับ 1”
  • ค่า BMI  มากกว่า 30 kg/m²  อ้วนระดับ 2 (อ้วนทุพพลภาพ หรือ อ้วนรุนแรง)

หากดัชนีมวลกาย (BMI) เกินกว่า 25 kg/m² ถือว่าเข้าสู่ภาวะโรคอ้วน (Obesity) จำเป็นต้องมีการลดน้ำหนัก ควบคุมปริมาณ น้ำตาล คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง และโรคแทรกซ้อนตามมา

 

ปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตมีความเร่งรีบ การเลือกทานอาหารลดน้อยลง ตามสถิติขององค์การอนามัยโลกคนไทยเกือบ 1 ใน 3 มีน้ำหนักตัวมากจนเป็นโรคอ้วนแล้ว เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคอาเซียน รองจากมาเลเซีย ส่วนประเทศที่ประชากรเฉลี่ยอ้วนที่สุดในโลกคือ สหรัฐอเมริกา และจีน



โรคร่วมที่เกิดจากโรคอ้วน ควรระวัง!!

นอกจากจะเป็นโรคอ้วนแล้ว ยังส่งผลให้เกิดโรคร่วมต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายตามมาโดยอาจจะไม่รู้ตัวอีกด้วย ได้แก่

  • โรคเบาหวานชนิดที่2
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea:OSA)
  • ถุงน้ำรังไข่ ประจำเดือนผิดปกติ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome: PCOS)
  • โรคไขมันพอกตับ (Non-alcoholic Fatty Liver Disease :NAFLD) /โรคตับคั่งไขมันที่มีภาวะตับอักเสบ (Non-alcoholic steatohepatitis:NASH)
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease)
  • ปวดข้อ ข้อเสื่อมก่อนวัย โดยเฉพาะข้อรองรับน้ำหนัก เช่น หลัง สะโพก เข่า ข้อเท้า
  • หอบหืด เหนื่อยง่าย
  • เส้นเลือดสมอง แตก ตีบตัน
  • มะเร็งบางชนิด

โรคร่วมเหล่านี้ส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันทำให้เราไม่สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย การป้องกันและจัดการกับโรคอ้วน โดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงการออกกำลังกายเป็นประจำ ทานอาหารที่มีประโยชน์มีความสมดุลพอดีต่อความต้องการของร่างกาย หากเราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือลดน้ำหนักได้มากพอ จะส่งผลให้โรคร่วมหลายชนิดสามารถดีขึ้นจนถึงหายขาดได้ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่จะตามมาในอนาคต


 

เมื่อไรควร “ผ่าตัด” ?

ผู้ที่มีภาวะอ้วน ต้องเผชิญกับการลดน้ำหนัก บางคนมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่สามารถควบคุมน้ำหนักตัวขึ้นได้จนเป็นปัญหาต่อสุขภาพ การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งสำหรับผู้ที่มีภาวะอ้วนที่เป็นโรค ซึ่งคุณสมบัติ ข้อแนะนำในการรักษา มีดังนี้

  • ผู้รับบริการควรต้องมี อายุ 18-65 ปี สำหรับอายุนอกเหนือจากนี้ ควรปรึกษาแพทย์พิจารณาในรายละเอียด
  • มีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้
    • มีดัชนีมวลกาย(BMI) 37.5 kg/m²  ขึ้นไป
      • มีดัชนีมวลกาย(BMI) 32.5 kg/m²  ขึ้นไป มีโรคร่วม และมีอาการข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
      • เบาหวานชนิดที่2 (Diabetes Mellitus Type2)
      • ความดันโลหิตสูง (Hypertension) 
      • ภาวะไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia or Hyperlipidemia)
      • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea :OSA)
      • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome: PCOS)
      • โรคไขมันพอกตับ (Non-alcoholic Fatty Liver Disease :NAFLD) / โรคตับคั่งไขมันที่มีภาวะตับอักเสบ (Non-alcoholic steatohepatitis :NASH)
      • โรคหัวใจ และหลอดเลือด (Cardiovascular diseases)
      • ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)
      • ภาวะหลอดเลือดดำบกพร่องเรื้อรัง (Chronic Venous Insufficiency :CVI)
      • โรคหลอดเลือดสมอง (CVD)
      • น้ำหนักผิดปกติจากผลของฮอร์โมน
      • น้ำหนักผิดปกติที่เกิดจากโรคกล้ามเนื้อและกระดูก
    • ผู้ที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้ และมีค่าดัชนีมวลกาย 30.0 kg/m²  ขึ้นไป โดยทั้งสองกรณี ผู้รับบริการได้พยายามควบคุมอย่างเต็มที่แล้วโดยทีมแพทย์เฉพาะทางด้านอายุรกรรมต่อมไร้ท่อและโภชนาการ แต่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย 

หลังจากการผ่าตัดต้องมีการปรับพฤติกรรม และการควบคุมปริมาณอาหารทานให้เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย โดยการแนะนำจากทีมแพทย์เฉพาะทาง เพื่อส่งผลให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพ และฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว

 

โรคอ้วนรักษาอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้วโรคอ้วนมักขึ้นอยู่กับวิถีการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล ทั้งด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ส่งผลต่อระบบเผาผลาญในร่างกาย ซึ่งหลัก ๆ แล้วโรคอ้วนสามารถรักษาได้ดังนี้

1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Weight management:Lift style and Behavior modification,Medical treatment) เป็นการจัดการน้ำหนักโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งเทคนิคกระบวนการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และด้านโภชณาการที่มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่งเสริมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกาย
 

2.การรักษาโดยยา (Medical Treatment)

  • ปัจจุบันยาที่ได้รับการรับรองว่าสามารถใช้ช่วยลดน้ำหนักได้ มีหลายชนิด โดยกลุ่มที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ โดยที่ผลข้างเคียงน้อยกว่ากลุ่มอื่น และเป็นที่นิยมได้แก่ ยากลุ่ม GLP1 Agonist ซึ่งจะช่วยเพิ่มประวิทธิภาพการทำงานของฮอ์โมนความอิ่ม ลดระยะเวลาการย่อยอาหาร ทำให้ผู้ใช้รู้สึกอิ่มนานขึ้น ความอยากอาหารลดลง ทั้งนี้ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากยา

3.วิธีการผ่าตัด Bariatric Surgery เป็นการผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนัก ก่อนที่จะพิจารณาการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรึกษาและอยู่ในความดูแลของทีมแพทย์เฉพาะทาง เพื่อลดความเสี่ยงและพิจารณาเลือกการรักษาที่เหมาะสมเฉพาะตัวบุคคล

 

การผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักแบบส่องกล้องมี 3 วิธีหลัก

  • ผ่าตัดแบบสลีฟ (Sleeve gastrectomy) เป็นการผ่าตัดที่ทำมากที่สุด ความซับซ้อนน้อยกว่าวิธีอื่น  โดยการใช้อุปกรณ์ตัดเย็บแบบพิเศษ ทำการตัดแต่งกระเพาะให้เรียวตรงให้เหลือประมาณ 15-20% ส่งผลให้ลดฮอร์โมนความอยากอาหาร (Ghrelin) ทำให้ทานได้น้อยลง ผู้ป่วยจะหิวลดลงอย่างชัดเจน ร่วมกับทานได้น้อยลง จึงทำให้สามารถลดน้ำหนักส่วนเกินได้ถึง 60-70% ภายใน 1 ปีหลังผ่าตัด โอกาสเกิดภาวะขาดสารอาหาร แร่ธาตุ วิตามินต่าง ๆ มีน้อยกว่าผ่าตัดแบบอื่น ๆ 
  • ผ่าตัดแบบบายพาส (Gastric bypass) เป็นการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนขึ้น โดยการผ่าตัดกระเพาะให้เป็นกระเปาะ ประมาณ 25-30 ซีซี  ร่วมกับการผ่าตัดบายพาสลำไส้เล็ก หลังผ่าตัดจะสามารถช่วยเพิ่มระดับการทำงานของ “ฮอร์โมนความอิ่ม” ลดความหิว ทานได้น้อยลง และลดการดูดซึมอาหาร สามารถลดน้ำหนักส่วนเกินได้ถึง 70-80% ซึ่งเหมาะกับคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานรุนแรง วิธีนี้สามารถช่วยเรื่องเบาหวานได้ดีกว่าวิธีแรก และผลลัพธ์ดีในผู้ป่วยอ้วนที่มีภาวะโรคกรดไหลย้อน แต่โอกาสเกิดภาวะ ขาดวิตามิน แร่ธาตุ มีมากกว่า โดยเฉพาะวิตามิน B12 ซึ่งจำเป็นต้องรับวิตามินเสริมต่อเนื่องทุก 6-12 เดือน
  • ผ่าตัดแบบสลีฟพลัส (Sleeve gastrectomy Plus) เป็นวิธีการผ่าตัดที่พัฒนามาจากการผ่าตัดแบบสลีฟ (Sleeve gastrectomy) และการผ่าตัดแบบบายพาสลำไส้เล็กให้ระยะดูดซึมสารอาหารสั้นลง ซึ่งผลลัพธ์สามารถลดน้ำหนักส่วนเกินได้ถึง 70-80% และผลลัพธ์การช่วยในโรคเบาหวาน ดีเทียบเท่าแบบบายพาส โดยวิธีสลีฟพลัสนี้ จะแบ่งเป็นวิธีย่อย ๆ ที่แตกต่างกันได้อีกหลายวิธีตามความเหมาะสมของคนไข้ 



 

การผ่าตัดกระเพาะเหมาะกับใคร ?

สำหรับการผ่าตัดกระเพาะอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะกับทุกคน ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาอย่างละเอียด เพื่อเทียบประโยชน์ที่จะได้รับ กับความเสี่ยงของการผ่าตัดรวมถึงตรวจร่างกาย เพื่อดูความพร้อมของสภาพร่างกายในแต่ละบุคคล สามารถประเมินเบื้องต้นจากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) คือ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) >32.5 kg/m² ร่วมกับมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคอ้วน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น และค่าดัชนีมวลกาย (BMI) >37.5 kg/m² เหล่านี้ เข้าเกณฑ์ที่แนะนำว่าสามารถผ่าตัดได้ กรณีอื่น ๆ สามารถปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญได้เช่นกัน


 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดหลังการผ่าตัดกระเพาะ

  • ภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นได้ตามอายุและโรคประจำตัวของผู้ป่วย ในผู้ป่วยโรคอ้วน ผู้ป่วยที่น้ำหนักมาก, โรคประจำตัวมาก หรือเคยผ่าตัดช่องท้องมาก่อน ก็จะมีความเสี่ยงจากการผ่าตัดมากขึ้น
  • ภาวะการขาดวิตามิน เกลือแร่ เนื่องจากการผ่าตัดกระเพาะทำให้ผู้ป่วยทานอาหารน้อยลง  ส่งผลให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณน้อยลงด้วย ฉะนั้นผู้ป่วยต้องได้รับวิตามิน แร่ธาตุบางชนิดทดแทนต่อเนื่อง แต่ในภาพรวม จากน้ำหนักที่ลดลง การดีขึ้นของโรคแทรกซ้อนจากความอ้วน การทานวิตามินทดแทนนั้น อาจคุ้มค่ากว่าการที่ต้องทานยารักษาโรคต่าง ๆ หรือฉีดยา เช่น ยาความดัน ยาเบาหวาน ยาไขมันไปตลอดชีวิต


 

การผ่าตัดมีความเสี่ยงไหม?

ความเสี่ยงจากการผ่าตัดอาจเกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคประจำตัว การรั่วซึม ภาะวะเลือดออกจากบริเวณจุดตัดต่อ เป็นต้น โดยโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนมีไม่มาก (น้อยกว่า 1-3%) เมื่อเทียบกับ ผลลัพธ์โอกาสการหายจากโรคอ้วน และโรคแทรกซ้อน (มากกว่า 70-80%) รวมถึงคุณภาพชีวีิตที่ดีขึ้น

เพื่อลดโอากาสการเกิดผลแทรกซ้อนให้น้อยที่สุด ผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดด้วยทีมศัลยแพทย์เฉพาะทางการผ่าตัดโรคอ้วน 2 คน ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ เป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้องแผลเล็ก ใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน มีความแม่นยำสูง มีการเตรียมคนไข้ก่อนผ่าตัดโดยทีมอายุรแพทย์ วิสัญญีแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพส่งผลให้การรักษาเป็นไปได้ด้วยดี 



 

ทำไม! ต้องผ่าตัดที่โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

นำทีมโดยศัลยแพทย์เฉพาะทาง ศัลยแพทย์ผ่าตัดผ่านกล้องและโรคอ้วน และทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีประสบการณ์ ร่วมกับเทคโนยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย และห้องผ่าตัดที่มีมาตรฐานปลอดเชื้อเหมาะกับการผ่าตัดใหญ่ การติดตามผู้ป่วยในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ทำให้การผ่าตัดประสบความสำเร็จ เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

 

ข้อดีของการส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหาร 

 

ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

 

การส่องกล้องเย็บกระเพาะอาหาร ช่วยให้คนไข้ลดน้ำหนักตัวได้ประมาณ 15% ของน้ำหนักตัวเดิม ภายในเวลา 1-2 ปี และผลการลดน้ำหนักนี้จะคงอยู่ได้นานอย่างน้อยถึง 5 ปี ซึ่งดีกว่าวิธีการรักษาด้วยการใส่บอลลูนไปในกระเพาะอาหาร (Intra-gastric balloon) ซึ่งให้ผลเพียงระยะสั้น ๆ หากคนไข้ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์และนักโภชนาการ น้ำหนักที่ลดลงนี้ นอกจากช่วยให้คนไข้มั่นใจในขนาดรอบเอวที่เล็กลง ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคข้างเคียงที่มาพร้อมกับความอ้วนช่วยลดระดับน้ำตาลสะสม (A1C) และระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ช่วยปรับความดันโลหิต รวมถึงการทำงานของตับให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดเย็บกระเพาะอาจไม่ช่วยลดไขมันในเลือด (LDL) คนไข้จึงควรควบคุมอาหารตามหลักโภชนาการและออกกำลังกายร่วมด้วย
 

"หากมีคำถาม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา กรุณาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง"

คลิก เพื่อขอคำปรึกษา

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งและความงาม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ศูนย์ศัลยกรรมความงามและสุขภาพแนวใหม่ Princ Aesthetic Surgery & Wellness Center

สถานที่

อาคาร A ชั้น 1

เวลาทำการ

จันทร์ - ศุกร์ 08.00 - 17.00 *กรุณานัดหมายล่วงหน้า

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์ศัลยกรรมความงามและสุขภาพแนวใหม่ Princ Aesthetic Surgery & Wellness Center

นพ.วสันต์ เจนธนากุล

ศัลยศาสตร์ตกแต่ง

ศูนย์ศัลยกรรมความงามและสุขภาพแนวใหม่ Princ Aesthetic Surgery & Wellness Center

ศูนย์ศัลยกรรมความงามและสุขภาพแนวใหม่ Princ Aesthetic Surgery & Wellness Center

นพ.นรนนท์ บุญยืน

ศัลยศาสตร์การส่องกล้องและกล้องส่องผ่าตัด

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การผ่าตัดเส้นเลือดฟอกไต คำแนะนำก่อน-หลังที่ควรปฏิบัติ

สำหรับผู้ที่ต้องมีการเข้ารับการผ่าตัดเส้นเลือดฟอกไต จะต้องมีการปฏิบัติ และเตรียมตัวก่อน - หลังอย่างไรบ้างในการผ่าตัดรักษาให้ได้ประสิทธิภาพ

blank บทความโดย : พว.ชัยภัทร นิบุณวงศ์ แผนกไตเทียม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การผ่าตัดเส้นเลือดฟอกไต คำแนะนำก่อน-หลังที่ควรปฏิบัติ

สำหรับผู้ที่ต้องมีการเข้ารับการผ่าตัดเส้นเลือดฟอกไต จะต้องมีการปฏิบัติ และเตรียมตัวก่อน - หลังอย่างไรบ้างในการผ่าตัดรักษาให้ได้ประสิทธิภาพ

blank บทความโดย : พว.ชัยภัทร นิบุณวงศ์ แผนกไตเทียม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Q&A ดูดไขมัน อันตรายไหม

Q1 : ดูดไขมันอันตรายไหม ? A1 : การดูดไขมันไม่อันตราย ถ้าการผ่าตัดอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญ และมีประสบการณ์

นพ.ปริญ ทัศนาวิวัฒน์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปริญ ทัศนาวิวัฒน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Q&A ดูดไขมัน อันตรายไหม

Q1 : ดูดไขมันอันตรายไหม ? A1 : การดูดไขมันไม่อันตราย ถ้าการผ่าตัดอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญ และมีประสบการณ์

นพ.ปริญ ทัศนาวิวัฒน์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปริญ ทัศนาวิวัฒน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคไทรอยด์เป็นพิษ อาการ การรักษา

ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายและมีความสำคัญอย่างมาก โดยมีหน้าที่หลักคือหลั่งฮอร์โมนซึ่งสำคัญกับการทำงานของร่างกาย

blank แผนกตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคไทรอยด์เป็นพิษ อาการ การรักษา

ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายและมีความสำคัญอย่างมาก โดยมีหน้าที่หลักคือหลั่งฮอร์โมนซึ่งสำคัญกับการทำงานของร่างกาย

blank แผนกตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม