Header

เท้าแบนเจ็บอุ้งเท้าบ่อย อย่าชะล่าใจ เสี่ยงเป็น “ โรคเท้าแบน Flat Feet ” แบบไม่รู้ตัว!

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

โรคเท้าแบน เจ็บอุ้งเท้า -โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

“เท้าแบน” ภัยเงียบสุดอันตราย

โรคเท้าแบนหรือ Flat Feet เป็นภาวะผิดปกติของโครงสร้างเท้าและโครงสร้างเส้นเอ็นที่คล้องอยู่กับอุ้งเท้า หรือ เจ็บอุ้งเท้าบ่อย ซึ่งภาวะเท้าแบนจะเกิดขึ้นได้เมื่อเป็นเด็กเล็กเนื่องจากฝ่าเท้าของเด็กมีไขมัน และเนื้อเยื่ออ่อนทำให้มองเห็นอุ้งเท้าตรงฝ่าเท้าได้ไม่ชัด แต่เมื่อโตขึ้นช่องโค้งก็จะค่อยๆปรากฏขึ้นมาหรือในบางรายอาจได้รับการถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวมาทางพันธุกรรมนอกจากนี้ภาวะเท้าแบนอาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเสื่อมสภาพไปตามอายุ

เคยสังเกตกันไหมท่านใดที่รู้สึก เจ็บอุ้งเท้าบ่อย ๆ หรือรู้สึกว่ารองเท้าที่สวมใส่อยู่ทุกวันนั้น ทำไมมันชำรุดสึกไม่เท่ากันในทางการแพทย์ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติที่จะส่งผลในระยะยาว ควรพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการเหล่านี้เพราะอาจเสี่ยงเป็นโรคเท้าแบนแบบไม่รู้ตัวและหากคุณยังชะล่าใจและใช้ชีวิตต่อไปเรื่อย ๆ สุดท้ายอาการที่ตามมาจะพบว่ามีอาการปวดหลังเรื้อรังตามมาด้วยโรคหมอนรองกระดูกอักเสบก็เป็นได้

เราทำความเข้าใจกับโรคเท้าแบนภัยเงียบสุดอันตรายพร้อม ๆ กัน

เท้าแบนสาเหตุหลักเกิดจากอะไร

  • เนื้อเยื่อส่วนต่างๆของร่างกายไม่ยึดเชื่อมกันเช่นโรคหนังยึดผิดปกติ (Ehlers-Danlos Syndrome) หรือกลุ่มอาการข้อต่อหย่อน (Joint Hypermobility Syndrome)
  • เอ็นข้อเท้าที่ยึดขาส่วนล่างของข้อเท้าและตรงกลางฝ่าเท้าเกิดการอ่อนแรง (Posterior Tibial Tendon Dysfunction)
  • เกิดจากการเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมหนัก ๆ จึงส่งผลให้เท้าและข้อเท้าเสี่ยงได้รับบาดเจ็บซึ่งในกรณีนี้ได้มีผลวิจัยชี้แจงออกมาด้วยนั่นก็คือพบว่าผู้ที่เล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมหนัก ๆ มีความสัมพันธ์กับอาการเบื้องต้นของโรคเท้าแบนนั่นก็คือเจ็บหน้าแข้งด้านใน (Shin Splints) เจ็บที่อุ้งเท้าส้นเท้าและมีอาการปวดเข่าด้านหน้า (Patellotermoral Pain Syndrome)

โรคเท้าแบนหรือ Flat Feet อาการเป็นอย่างไร

  • รู้สึกเจ็บฝ่าเท้าแม้จะสวมรองเท้าที่ใส่สบายและรองรับเท้าแล้วตามอายุ
  • รู้สึกเจ็บที่อุ้งเท้าและส้นเท้า
  • ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น
  • ยืนไม่ค่อยได้หรือเคลื่อนไหวทรงตัวบนเท้าลำบาก
  • เจ็บหลังและขา
  • ฝ่าเท้าอ่อนแรงรู้สึกซาหรือเกิดอาการฝ่าเท้าแข็ง

4 สาเหตุใกล้ตัวที่ทำให้ “เท้าแบน”

การเดินเท้าเปล่าหรือใส่รองเท้าแบนราบเป็นประจำเป็นระยะเวลายาวนานจะส่งผลให้สรีระเท้าเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยไม่รู้ตัวอุ้งเท้าจะค่อยๆล้มจนเกิดเป็นภาวะเท้าแบนได้ในที่สุด

  1. น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ๆ จนอ้วนคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เท้าแบนเนื่องจากอุ้งเท้าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่าเก่าส่งผลให้ส่วนโค้งของเท้าโดนกดทับมากขึ้นทำให้การทรงตัวเปลี่ยนไปการเคลื่อนไหวก็ไม่ตีเหมือนเคย
  2. คนที่เคยบาดเจ็บทางร่างกายจากอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นโดยตรงที่เท้าหรือไม่ก็ตาม แต่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อหรืออวัยวะที่กระทบมาถึงเท้าก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นเท้าแบนได้
  3. อายุที่มากขึ้นสภาพร่างกายที่เสื่อมลงตามวัยทำให้อุ้งเท้าที่ทำงานหนักมาตลอดชีวิตก็อาจค่อยๆล้มตามกาลเวลาจนเกิดเป็นภาวะ“ เท้าแบน” ตามมา
  4. กรรมพันธุ์ซึ่งแม้จะเป็นสาเหตุหนึ่งของเท้าแบนที่เราไม่สามารถป้องกันหรือรักษาให้หายขาดได้ก็ตาม แต่เราก็สามารถดูแลควบคุมไม่ให้ทำร้ายเท้ามากขึ้นได้

       “ เท้าแบน” จึงเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นกับเราทุกคนโดยไม่รู้ตัวเนื่องจากไม่ใช่อาการแบบเฉียบพลัน แต่จะค่อยเป็นค่อยไปจนเริ่มมีอาการดังที่กล่าว นอกจากนี้ก็มีวิธีง่ายๆที่จะเช็คได้ด้วยตัวเองโดยดูจากรอยเท้าที่เปียกของเราบนพื้นว่ามีลักษณะฝ่าเท้าแบบไหน

 

สำหรับการรักษาและการดูแลตนเอง เชิญปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและการวินิจฉัยที่แม่นยำมากขึ้น และเพื่อให้ได้วิธีการรักษาที่เหมาะสมตามสภาพการเจ็บปวดของแต่ละบุคคล

บทความโดย : นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา ศัลยแพทย์กระดูก
โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ


 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์กระดูกและข้อ

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4110

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ศัลยแพทย์กระดูก

ศูนย์กระดูกและข้อ

ผศ.นพ.สรวุฒิ ธรรมยงศ์กิจ

ศัลยแพทย์กระดูก

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.สุวิทย์ ตั้งเจริญวัฒนากูร

ศัลยแพทย์กระดูก, กระดูกสันหลัง

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้หรือไม่ ? คนที่เคยเป็น อีสุกอีใสมาก่อน มีโอกาสเสี่ยงเป็น โรคงูสวัด ได้ทุกคน

โรคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella zoster (VZV) ที่ทำให้เกิดผื่นพุพอง เป็นตุ่มน้ำมีอาการคัน สามารถกระจายไปยังผิวหนังทั่วร่างกาย

รู้หรือไม่ ? คนที่เคยเป็น อีสุกอีใสมาก่อน มีโอกาสเสี่ยงเป็น โรคงูสวัด ได้ทุกคน

โรคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella zoster (VZV) ที่ทำให้เกิดผื่นพุพอง เป็นตุ่มน้ำมีอาการคัน สามารถกระจายไปยังผิวหนังทั่วร่างกาย

6 ข้อปฏิบัติหากมีคนในบ้านได้รับเชื้อหรือเดินทางมาจากบริเวณพื้นที่เสี่ยง

สถานการณ์การกลับมาระบาดอีกครั้งของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่กี่วันที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อหรือการแพร่เชื้อให้กับคนใกล้ตัว เรามีแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อดูและตัวเองและสังคมได้ ดังนี้

6 ข้อปฏิบัติหากมีคนในบ้านได้รับเชื้อหรือเดินทางมาจากบริเวณพื้นที่เสี่ยง

สถานการณ์การกลับมาระบาดอีกครั้งของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่กี่วันที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อหรือการแพร่เชื้อให้กับคนใกล้ตัว เรามีแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อดูและตัวเองและสังคมได้ ดังนี้

ติดเชื้อโควิด-19 ต้อง Home Isolation คืออะไร ต้องทำอย่างไร

แนวคิดของ Home Isolation เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้น มีผู้ติดเชื้อหลักหลายพันคน จนทำให้เตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ

blank บทความโดย : ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ติดเชื้อโควิด-19 ต้อง Home Isolation คืออะไร ต้องทำอย่างไร

แนวคิดของ Home Isolation เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงมากขึ้น มีผู้ติดเชื้อหลักหลายพันคน จนทำให้เตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ

blank บทความโดย : ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม