Header

โรคข้อสะโพกเสื่อม

blank ศูนย์ Joint Surgery Center โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคข้อเสื่อม เกิดขึ้นได้กับทุกข้อต่อในร่างกาย ซึ่งกระดูกอ่อนที่คลุมพื้นผิวของข้อค่อยๆ มีความขรุขระ บางลง หรืออักเสบ หลุดออก จนทำให้เกิดอาการปวดและมีการเคลื่อนไหวติดขัด ข้อสะโพกเป็นส่วนหลักที่รับน้ำหนักเกือบทุกการเคลื่อนไหวของร่างกาย การเสื่อมเกิดได้บ่อยที่กลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในกลุ่มที่อายุน้อยถ้ามีสาเหตุอื่นๆ ร่วมด้วย

โรคข้อสะโพกเสื่อมเกิดจากอะไร?

  • พันธุกรรม หรือความผิดปรกติของโครงสร้างแต่กำเนิด เช่น เบ้าสะโพกตื้น เป็นต้น
  • การบาดเจ็บบริเวณข้อสะโพก เช่น เคยมีข้อสะโพกเคลื่อนหลุดหรือแตกหัก
  • การขาดเลือดไปเลี้ยงที่หัวกระดูกต้นขา เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นการใช้สเตียรอยด์เป็นเวลานาน หรือประวัติอุบัติเหตุ ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเสียหาย
  • โรคข้ออักเสบ ซึ่งส่งผลต่อข้อสะโพก ที่รู้จักกันดีเช่นโรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์
  • การติดเชื้อที่ข้อสะโพกในอดีต

อาการของโรค

  • อาการปวดข้อ มักปวดที่ขาหนีบด้านหน้า หรือบริเวณหน้าขา เนื่องจากข้อสะโพกเป็นข้อต่อที่ขนาดใหญ่ การปวดอาจไม่สามารถบอกตำแหน่งได้ชัดเจน
  • อาการติดขัดในข้อ
  • เมื่อเป็นระยะที่มีความเสื่อมมากขึ้น อาจไม่สามารถขยับในบางท่าทางได้ เช่น เหยียดได้ไม่สุด หมุนขาไม่ได้
  • กล้ามเนื้อที่ควบคุมข้อสะโพกอ่อนแรงและลีบลง เนื่องจากไม่ได้ใช้งานเพราะอาการเจ็บปวด
  • เมื่อเป็นมากขึ้นอีก พบว่าขาข้างที่เป็นมากจะสั้นลง เนื่องจากมีการสูญเสียกระดูกบริเวณหัวสะโพกที่เสียดสีกัน

การวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  • การซักประวัติอาการเจ็บป่วย โรคประจำตัว ยาที่ใช้ประจำรวมถึงสมุนไพร (เพราะอาจมีสเตียรอยด์เป็นส่วนผสม) และการตรวจร่างกาย
  • การเอกซเรย์ข้อสะโพก
  • การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น การสแกนด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan), การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

การดูแลรักษา

  • การรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัด ใช้ในการรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อมในระยะแรก
    • ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต ได้แก่ หลีกเลี่ยงท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ออกกำลังกายเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ
    • หากมีน้ำหนักตัวเกิน การลดน้ำหนักจะช่วยลดอาการปวดและชะลอการดำเนินโรค
    • รับประทานยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกร ไม่ควรซื้อยารับประทานเองติดต่อกันเป็นเวลานาน
    • กายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวด เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อ และลดโอกาสข้อติด
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด
    • การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง จะใช้เมื่อกระดูกอ่อนในข้อสะโพกฉีกขาดหรือมีเศษกระดูก/กระดูกอ่อนหลุดออกมาอยู่ในข้อ เสียดสีกับข้อ ขัดขวางการเคลื่อนไหวจนทำให้ขยับได้ลำบาก
    • การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก เป็นการผ่าตัดเพื่อหมุนพื้นผิวของข้อที่ยังปกติเข้าสัมผัสกัน จะใช้เมื่อมีบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่เสียหายแต่ที่อื่นปกติ
    • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม จะใช้ในผู้ที่มีข้อสะโพกเสื่อมที่มีอาการปวดมากหรือผิดรูป จนเป็นอุปสรรคต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน

 

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ที่นี่

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง

เบอร์โทรศัพท์ (+66)02 0805999



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ Joint Surgery Center

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

Checklist โรคแพนิค

หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนขาดอากาศ หวาดกลัวอย่างรุนแรงจนร่างกายขยับไม่ได้ เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้ เหงื่อออกและมือเท้าสั่น

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Checklist โรคแพนิค

หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนขาดอากาศ หวาดกลัวอย่างรุนแรงจนร่างกายขยับไม่ได้ เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้ เหงื่อออกและมือเท้าสั่น

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคทางนรีเวช ภัยร้ายของคุณผู้หญิง ป้องกันได้ด้วยการตรวจภายใน

ร่างกายของผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน บางครั้งร่างกายอาจเกิดความผิดปกติและโรคต่าง ๆขึ้นได้ เราจึงอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับโรคทางนรีเวชที่สำคัญ ๆ เพื่อให้เตรียมตัวป้องกันโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที

โรคทางนรีเวช ภัยร้ายของคุณผู้หญิง ป้องกันได้ด้วยการตรวจภายใน

ร่างกายของผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน บางครั้งร่างกายอาจเกิดความผิดปกติและโรคต่าง ๆขึ้นได้ เราจึงอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับโรคทางนรีเวชที่สำคัญ ๆ เพื่อให้เตรียมตัวป้องกันโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที

ดูแค่เล็บ ก็เช็คโรคได้

“เล็บมือ” ของคนเราสามารถบอกสุขภาพได้ โดยพิจารณาจากลักษณะรูปทรง ผิวของเล็บ สีของเล็บ ดอกของเล็บ และวงจันทร์ หรือไม่มีวงจันทร์ที่ฐานเล็บ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ดูแค่เล็บ ก็เช็คโรคได้

“เล็บมือ” ของคนเราสามารถบอกสุขภาพได้ โดยพิจารณาจากลักษณะรูปทรง ผิวของเล็บ สีของเล็บ ดอกของเล็บ และวงจันทร์ หรือไม่มีวงจันทร์ที่ฐานเล็บ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม