Header

โรคทางนรีเวช ภัยร้ายของคุณผู้หญิง ป้องกันได้ด้วยการตรวจภายใน

โรคทางนรีเวช - โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ร่างกายของผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน บางครั้งร่างกายอาจเกิดความผิดปกติและโรคต่าง ๆขึ้นได้ เราจึงอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับโรคทางนรีเวชที่สำคัญ ๆ เพื่อให้เตรียมตัวป้องกันโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที

รู้จักกับโรคทางนรีเวช

โรคทางนรีเวช คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานสตรี ได้แก่ มดลูก รังไข่ ท่อนำไข่ ปากมดลูก และช่องคลอด

ผู้ป่วยอาจมีอาการและอาการแสดงแตกต่างกันไปตามปัญหาที่มี เช่น ปวดท้องน้อย ปวดร้าวที่หลังเอว ก้นกบ ตกขาวผิดปกติ คลำพบก้อนในอุ้งเชิงกราน ปัสสาวะบ่อย เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์  น้ำหนักลด  ปวดประจำเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น มามากหรือน้อยเกินไป ประจำเดือนขาดหายโดยไม่ได้ตั้งครรภ์ มีเลือดออกผิดปกติระหว่างรอบเดือน

 

โรคทางนรีเวชยอดฮิต

  1. เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการปวดท้องน้อยในสตรี พบได้ประมาณ 10% ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยระหว่างมีประจำเดือนตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนกระทั่งต้องกินหรือฉีดยาระงับอาการปวด สาเหตุเกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกมีการฝังตัวและเจริญผิดปกตินอกโพรงมดลูก ไปตามอวัยวะต่างๆ อาจก่อให้เกิดอาการปวด มีพังผืดในอุ้งเชิงกรานและอาการมีบุตรยากตามมา นอกจากนี้อาจทำให้เกิดถุงน้ำรังไข่ที่เรียกว่า ช็อกโกแลตซีสต์ โดยเมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นนอกจากอาการปวดและมีบุตรยากแล้วอาจมีความเสี่ยงต่อมะเร็งรังไข่อีกด้วย

โรคนี้สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจภายในหรือตรวจทางทวารหนักและอัลตราซาวด์อุ้งเชิงกราน หรือในบางรายอาจตรวจพบโดยการส่องกล้องเข้าไปตรวจในช่องท้องรวมกับการตัดชิ้นเนื้อมาพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา โดยการรักษาสามารถทำได้ด้วยการทานคุมกำเนิด, ยาลดฮอร์โมนและผ่าตัด

  1. เนื้องอกมดลูก (Myoma Uteri หรือ Uterine Fibroid)

คือเนื้องอกของกล้ามเนื้อมดลูก พบได้บ่อยถึง  20-40% ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกช่วงอายุ สามารถเกิดได้ในทุกตำแหน่งของกล้ามเนื้อมดลูก  เกิดจากการเจริญผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกซึ่งต้นเหตุอาจมาจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเนื้องอกชนิดนี้มักจะไม่พัฒนาไปเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง แต่ก็มีผู้ป่วยประมาณ 1 ใน กว่า 300 รายที่พบเซลล์มะเร็งหลังผ่าตัดเนื้องอก โรคนี้ในบางคนก็ไม่มีอาการ แต่บางครั้งอาจทำให้ปวดท้อง ประจำเดือนมามากและยาวนานผิดปกติ คลำได้ก้อนที่หน้าท้อง อาจทำให้ปัสสาวะบ่อยหรือท้องผูก เนื้องอกในบางตำแหน่งของมดลูกอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ภาวะแท้ง คลอดก่อนกำหนดหรือตกเลือดหลังคลอดได้ การตัดสินใจรักษาขึ้นกับอาการของผู้ป่วยและลักษณะของเนื้องอก อาจทำได้ทั้งตรวจติดตามและผ่าตัด หรือรักษาด้วยยาในกรณีมีอาการเลือดออกมาก วิธีการผ่าตัดขึ้นกับความต้องการมีบุตรในแต่ละคน เช่นผ่าตัดเฉพาะเนื้องอก ผ่าตัดมดลูก

  1. มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer)

คือเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณปากมดลูก พบมากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งเต้านม และทำให้เสียชีวิตเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งตับ โดยช่วงไม่กี่ปีมานี้โรคมะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มที่จะเกิดกับหญิงที่อายุน้อยลง ต้นเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ชนิดความเสี่ยงสูงที่เซลล์ปากมดลูกเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนาน แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกผ่านความผิดปกติหลายระยะจนนำไปสู่การเป็นมะเร็งในที่สุด

 

วิธีดูแลตัวเองทั่วไป

หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด รักษาสุขอนามัยของอวัยวะเพศภายนอก ใช้แผ่นอนามัยเฉพาะช่วงวันที่มีประจำเดือน หลีกเลี่ยงการใส่กระโปรง หรือกางเกงรัดรูปมากเกินไป ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ควบคุมน้ำหนักตามเกณฑ์ที่กำหนด หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื้อสัตว์ อาหารที่มีไขมันสูง หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคนหรือมีเพศสัมพันธ์กัยผู้ที่มิใช่สามีภรรยาโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย หมั่นสังเกตประจำเดือนเพื่อจะได้ทราบความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว

 

ตรวจภายใน ช่วยป้องกันก่อนจะสาย

โดยทั่วไปเมื่อไม่มีอาการผิดปกติแนะนำให้ตรวจภายในทุกปีหลังจากเริ่มมีเพศสัมพันธ์ หรืออายุ 20 เป็นต้นไป เป็นหนทางที่ดีในการป้องกันโรคทางนรีเวชและ หากเกิดอาการผิดปกติ  เช่น ปวดท้องน้อย ประจำเดือนมาผิดปกติ ตกขาวผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจภายใน โดยจะมีการตรวจอวัยวะในอุ้งเชิงกรานของสตรีทั้งภายนอกและภายในได้แก่ อวัยวะเพศภายนอก, ช่องคลอด, ปากมดลูก, มดลูก, ปีกมดลูก, รังไข่ และเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ แพทย์จะตรวจเพื่อค้นหาและคัดกรองความผิดปกติ โดยอาจใช้การตรวจพิเศษอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การอัลตร้าซาวน์อุ้งเชิงกรานเมื่อพบโรคแล้ว จะได้รับการรักษา, ป้องกันการลุกลามของโรคและติดตามอาการอย่างเหมาะสม ในส่วนของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้น คำแนะนำล่าสุดของราชวิทยาลัยสูติแพทย์แห่งประเทศไทย ในปีพ.ศ. 2564 แนะนำให้เริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มเติมจากการตรจภายใน เมื่ออายุครบ 25 ปีหากมีเพศสัมพันธ์แล้ว หรือครบ 30 ปีใรกรณีไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ โดยความถี่ของการตรวจทุก 2-5 ปีขึ้นอยู่กับชนิดของเทสต์ที่ใช้ แนะนำให้ตรวจทุกคนแม้จะได้รับวัคซีน HPV แล้วก็ตาม  สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ แพทย์สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเหมาะสมเพื่อลดความไม่สบายตัวได้

 

 

จะเห็นได้ว่าโรคทางนรีเวช ล้วนสร้างความลำบากให้กับผู้ป่วย และอาจส่งผลทางสุขภาพแตกต่างกันไป ทุกคนจึงควรดูแลสังเกตร่างกายของตนอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ทราบหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น และควรตรวจภายในทุกปีและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามคำแนะนำของแพทย์ ทั้งนี้ก็เพื่อตัวคุณเองและคนที่คุณรักจะได้สุขภาพดีและมีความสุขไปด้วยกันค่ะ

การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย การมีคู่นอนหลายคน การมีประวัติการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การมีบุตรหลายคน อีกทั้งปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สูบบุหรี่ และภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง อาจส่งเสริมให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้

 อาการผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่ ตกขาวผิดปกติ  เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด เช่น เลือดออกกลางรอบเดือน หรือหลังมีเพศสัมพันธ์

การตรวจคัดกรองสามารถทำได้ โดย ได้แก่การตรวจหาเชื้อ HPV และการตรวจทางเซลล์วิทยา เช่น PAP SMEAR หรือ THIN PREP  ซึ่งหากตรวจพบความผิดปกติระยะที่ยังไม่ใช่มะเร็งสามารถตรวจติดตามหรือรักษาได้ตามลักษณะของความผิดปกตินั้นๆ

ส่วนถ้าตรวจพบมะเร็ง จะรักษาด้วยการผ่าตัด, ฉายรังสี และเคมีบำบัดตามแต่ระยะที่ตรวจพบ ซึ่งหากตรวจพบเร็วก็มีจะโอกาสหายได้เกือบ 100% ดังนั้นผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จึงควรตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอ

 

บทความโดย : แพทย์หญิง ลูกหวาย คู่ธีรวงศ์ สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกสุขภาพสตรี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกสุขภาพสตรี

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4204

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและเมื่อเกิดแล้วอาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและเมื่อเกิดแล้วอาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์

การแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์

blank กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์

การแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์

blank กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ทำอย่างไรเมื่อลืมทานยา ?

การรับประทานยาก่อนอาหารที่ถูกต้อง คือ ทานก่อนรับประทานอาหาร 30 นาที เพื่อประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ที่ดีที่สุด

ทำอย่างไรเมื่อลืมทานยา ?

การรับประทานยาก่อนอาหารที่ถูกต้อง คือ ทานก่อนรับประทานอาหาร 30 นาที เพื่อประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ที่ดีที่สุด