Header

น้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

“น้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น” จำเป็นแค่ไหน ?

การทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขอนามัยที่ดี ในส่วนของน้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นโดยเฉพาะนั้น คุณผู้หญิงไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ เพราะช่องคลอดของผู้หญิงมีเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ก่อให้เกิดโรคอยู่ ซึ่งช่วยรักษาสมดุลความเป็นกรด/ด่าง และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ การใช้น้ำยาทำความสะอาดช่องคลอดเป็นประจำทุกวัน จึงอาจทำให้แบคทีเรียที่ไม่ทำให้เกิดโรคในช่องคลอดตายหมด และกลับทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อจากภายนอกได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

 

ไม่ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นหรือไม่ ?

ทั้งนี้ทั้งนั้น น้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นที่มาจากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ ก็ไม่ได้เป็นอันตรายต่อจุดซ่อนเร้นของคุณผู้หญิง เพราะผ่านการวิจัย และทดสอบมาเป็นอย่างดีแล้ว แต่ไม่ควรใช้บ่อยจนเกินไป เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่า

ตกขาว สัญญาณอันตราย “จุดซ่อนเร้น” ผิดปกติ

ตกขาวสามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติของจุดซ่อนเร้นผู้หญิง แต่หากตกขาวมีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยว่าจุดซ่อนเร้นของคุณมีความผิดปกติได้

  • ตกขาวปกติ จะมีสีขาว เทา หรือเหลืองอ่อน ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่ทำให้เกิดอาการคัน หรือแสบภายใน และปากช่องคลอด
  • ตกขาวผิดปกติ จะมีสีเหลืองเข้ม เขียว เป็นก้อน ๆ คล้ายหัวกะทิ มีกลิ่นเหม็น หรือทำให้เกิดอาการคัน หรือแสบใน หรือปากช่องคลอด

ตกขาวที่ผิดปกติ เกิดจาดการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น เชื้อรา พยาธิ แบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแต่ละชนิดจะเกิดอาการแสดงที่แตกต่างกันออกไป

 

การทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นที่ถูกต้อง

  1. สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ๆ ด้วยน้ำเปล่าทุกครั้งหลังอาบน้ำ
  2. ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่ไม่ได้รับรองความปลอดภัย หรือไม่ทราบแหล่งผลิตชัดเจนเป็นอันขาด เพราะอาจเสี่ยงติดเชื้อได้
  3. หากต้องการความสะอาดสดชื่น สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นได้ แต่อย่าใช้บ่อยจนเกินไป หรือใช้เฉพาะวันที่มีเหงื่อออกมาก หรือวันที่มีประจำเดือน
  4. ไม่ควรใช้นิ้วล้วงเข้าไปในช่องคลอดเพื่อทำความสะอาด ควรทำความสะอาดเบา ๆ ที่ผิวภายนอกเท่านั้น และควรลูบด้วยมือเบา ๆ ไม่เกาเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดบาดแผลเสี่ยงติดเชื้อได้
  5. หากพบอาการตกขาว คัน แสบ หรือมีกลิ่นผิดปกติ ควรรีบพบสูตินรีแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ และการรักษาอย่างเหมาะสม

 

 

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา



แพทย์ประจำศูนย์

แผนกสุขภาพสตรี

นพ.มาโนชญ์ ลีชุติวัฒน์

เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

แผนกสุขภาพสตรี

นพ.ปัญจวิชญ์ ปทุมานุสรณ์

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

แผนกสุขภาพสตรี

พญ.ปวีณา อมรเพชรกุล

สูตินรีแพทย์

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

Checklist โรคแพนิค

หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนขาดอากาศ หวาดกลัวอย่างรุนแรงจนร่างกายขยับไม่ได้ เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้ เหงื่อออกและมือเท้าสั่น

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Checklist โรคแพนิค

หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนขาดอากาศ หวาดกลัวอย่างรุนแรงจนร่างกายขยับไม่ได้ เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้ เหงื่อออกและมือเท้าสั่น

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

อาการเจ็บใต้ชายโครงขวา แต่เจ็บไม่มาก รวมถึงมีท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำเมื่อกินอาหารมัน ๆ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

อาการเจ็บใต้ชายโครงขวา แต่เจ็บไม่มาก รวมถึงมีท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำเมื่อกินอาหารมัน ๆ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยจะมีอุบัติการณ์มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่50ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเช่น การตรวจพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่(colonic polyp), การมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคลำไส้อักเสบ(inflammatory bowel disease), การทานผักน้อยและทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก เป็นต้น

การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยจะมีอุบัติการณ์มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่50ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเช่น การตรวจพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่(colonic polyp), การมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคลำไส้อักเสบ(inflammatory bowel disease), การทานผักน้อยและทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก เป็นต้น