Header

สัญญาณอันตราย “ซีสต์ในรังไข่”

นพ.บุญชู สถิรลีลา

เรื่องภายในของคุณผู้หญิงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจดูแลและหมั่นตรวจเช็กอยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่องถุงน้ำรังไข่ หรือเราเรียกกันว่า “ซีสต์รังไข่” ซึ่งไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะบางครั้งอาจไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ดังนั้นการเข้าใจเรื่องซีสต์รังไข่และหมั่นสังเกตตนเองจึงเป็นหนทางของการป้องกันและรับมือได้อย่างถูกวิธี

 

ซีสต์ คืออะไร?

ซีสต์ (cyst)  คือ การสะสมของน้ำ เป็นถุงน้ำ เป็นก้อนหรือตุ่มที่เกิดขึ้นตามร่างกาย โดยมีลักษณะเป็นถุงที่บรรจุอากาศ ของเหลว น้ำ ไขมัน หรือมีเนื้อเยื่อผสมอยู่ก็ได้ ซึ่งถือเป็นความความผิดปกติของร่างกาย ซึ่งสามารถก่อตัวขึ้นได้ในรังไข่ หากพบในวัยเจริญพันธุ์มักจะเป็นซีสต์ปกติที่หายได้ อีกส่วนหนึ่งก็อาจเป็นซีสต์ที่ผิดปกติที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่ถ้าพบในคนวัยใกล้หมดประจำเดือนอาจเป็นซีสต์ผิดปกติที่มีโอกาสเป็นหรือไม่เป็นมะเร็งได้

อาการของโรคซีสต์ในรังไข่

รังไข่ จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศหญิง เพื่อควบคุมเยื่อบุโพรงมดลูกจะช่วยรองรับการตั้งครรภ์ หรือเกิดประจำเดือนหากไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ขนาดของซีสต์ มีหลากหลายขนาดและลักษณะมีทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ บางรายเป็นก้อนจำนวนน้อย บางรายตรวจพบเต็มท้อง ส่วนใหญ่ถุงน้ำในรังไข่หรือซีสต์ไม่มีอาการอะไรเลย ส่วนใหญ่จะตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปีของแพทย์ อาการของโรคจะขึ้นอยู่กับชนิดของถุงน้ำที่เกิดขึ้น บางรายอาจไม่มีอาการ หรือบางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย โดยสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้

  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้นหรือปัสสาวะลำบาก
  • มีอาการปวดประจำเดือน
  • มีอาการหน่วงๆ ตึงๆ ท้องน้อย หรือปวดท้องน้อยเฉียบพลัน
  • เจ็บหรือปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • คลำพบก้อนในท้องน้อย

อันตรายของซีสต์ในรังไข่

ซีสต์ในรังไข่มีหลายชนิด ซึ่งมีความอันตรายแตกต่างกันขึ้นอยู่ว่าเป็นซีสต์ชนิดไหน ชนิดที่เกิดจากการทำงานของรังไข่ความร้ายแรงจะต่ำ ซึ่งอาจจะสามารถหายเองได้หรือบางชนิดสามารถรักษาได้ด้วยฮอร์โมน แต่หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่หรือปล่อยไว้นาน อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของซีสต์ได้เช่นการบิดของขั้วรังไข่ การแตกหรือรั่วทำให้เกิดอาการปวดท้องฉุกเฉินได้ หรือถุงน้ำบางลักษณะอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ดังนั้นถุงน้ำรังไข่มีความอันตรายตั้งแต่น้อยจนถึงเสี่ยงต่อมะเร็งได้

ตรวจภายใน ลดเสี่ยงอันตรายจากซีสต์ในรังไข่

แม้ว่าสาเหตุของมะเร็งถุงน้ำรังไข่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่ก็เป็นโรคที่พบได้บ่อย ดังนั้นการตรวจสุขภาพพร้อมกับการตรวจระบบสืบพันธุ์เพศหญิง จะทำให้ตรวจรังไข่และมดลูกอย่างละเอียดหากพบว่ามีถุงน้ำรังไข่ก็จะสามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว และยังช่วยให้พบความเสี่ยงของโรคอื่นๆ เพื่อป้องกัน หรือรักษาได้ทันท่วงทีก่อนลุกลามจนเจ็บปวดและยากต่อการรักษา

 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

 

ศูนย์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แผนกสุขภาพสตรี

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4204

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปล่อยให้ไหลไป.. การร้องไห้ ช่วยให้ดีขึ้น !

การร้องไห้ไม่ได้แสดงความอ่อนแอเสมอไป เพราะการร้องไห้เป็นการแสดงอารมณ์ที่แสนสลับซับซ้อน

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปล่อยให้ไหลไป.. การร้องไห้ ช่วยให้ดีขึ้น !

การร้องไห้ไม่ได้แสดงความอ่อนแอเสมอไป เพราะการร้องไห้เป็นการแสดงอารมณ์ที่แสนสลับซับซ้อน

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ออฟฟิศซินโดรม ศัตรูตัวร้ายขัดขวางความสุขในการทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับ

ออฟฟิศซินโดรม ศัตรูตัวร้ายขัดขวางความสุขในการทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับ

ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

อาการเจ็บใต้ชายโครงขวา แต่เจ็บไม่มาก รวมถึงมีท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำเมื่อกินอาหารมัน ๆ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

อาการเจ็บใต้ชายโครงขวา แต่เจ็บไม่มาก รวมถึงมีท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำเมื่อกินอาหารมัน ๆ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม