Header

ฝังเข็มตะวันตก (Dry needling) คลายจุดเจ็บกล้ามเนื้อด้วยเข็มเปล่า

พญ.ดวงใจ บัวขวา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พญ.ดวงใจ บัวขวา

พญ.ดวงใจ บัวขวา-โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

สำหรับผู้ถูกเลือกให้ปวดทั้งหลาย คงสรรหาสารพัดวิธี เพื่อมาคลายอาการปวด หรือเพื่อบรรเทาอาการปวดให้ทุเลาลง ไม่ว่าจะนวด ทายา หรือ ทานยาก็แล้ว แต่อาการก็ยังคงอยู่ 

อีกหนึ่งในศาสตร์ที่ทุกคนสนใจ คือ เรื่องของการ “ฝังเข็ม” ที่สามารถคลายจุดที่ปวดได้ 

อยากฝังเข็มแต่ใจยังก็กลัวเข็ม แล้วจะฝังเข็มได้ไหม? เราจะมาหาคำตอบกัน

 

เพราะน้อยคนที่จะรู้ว่า “การฝังเข็ม” มีทั้งการฝังเข็มแบบจีน และการฝังเข็มแบบตะวันตก ซึ่งแต่ละรูปแบบก็จะมีเทคนิคต่างๆ ที่แตกต่างกันไป

วันนี้เราจะมาให้ข้อมูล เรื่องของการฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry needling) กันนะคะ  

 

การฝังเข็มแบบตะวันตกคือ ? 

 

การฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry Needling) 

อาจจะเรียกว่า “การฝังเข็มแบบฝรั่ง” หรือ “เข็มสะกิด” มาจากศาสตร์การฝังเข็มแบบตะวันตก ซึ่งดูแลรักษาโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาหนึ่ง ที่มีความสามารถในการตรวจประเมิน และวางแผนการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหา และเป็นผู้ตรวจวิเคราะห์โครงสร้าง เพื่อทำงานร่วมกันกับนักกายภาพในการร่วมดูแลผู้ป่วยที่มาปัญหาเรื่องอาการปวดของกล้ามเนื้อ

 

แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู คือใคร 

เป็นแพทย์ที่ช่วยประเมินสมรรถภาพถดถอย โรคเรื้อรัง และปัญหาความพิการ ซึ่งทำให้ 

ผู้ป่วยที่ไม่สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวัน หรือการทำงานได้ตามปกติ รวมถึงให้คำแนะนำเรื่องการใช้อุปกรณ์เสริมและเทียม ทำงานอยู่ในแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation Department) ประกอบด้วย คลินิกแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกกิจกรรมบำบัด และคลินิกฝังเข็ม โดยแพทย์และสหวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางสาขาวิชาโดยเฉพาะ 

 

ฝังเข็มแบบตะวันตก รักษาอะไรได้บ้าง?

การฝังเข็มเฉพาะจุดแบบ (Dry Needling) เพื่อให้จุด “Trigger Point” เกิดการกระตุกและคลายตัวออก อาการปวดจึงทุเลา และค่อยๆหายไป 

 

จุด Trigger Point” คือ จุดที่กล้ามเนื้อเกิดการหด เกร็ง ขดตัวเป็นปม ในระยะเวลานาน โดยปกติทั่วไปกล้ามเนื้อคนทุกคน จะมีความยืดหยุ่น หดเข้า ยืดออก 

เมื่อ Trigger Point ไม่มีจุดของจังหวะที่คลายตัวออกเกิดความไม่สมดุล กล้ามเนื้อนั้นจะเกิดเป็นก้อนหรือปมขึ้น จนเกิดการอุดตันเรียกว่า Trigger Point 

 

ดังนั้นเมื่อเกิดการอุดตัน ก็จะทำให้เลือดนั้นไหลเวียนเข้า-ออก ไม่สะดวก ของเสียที่ปล่อยออกมาจากกล้ามเนื้อ ก็ค้างสะสมอยู่ และหลั่งสารกระตุ้นปวดออกมา ทำให้เกิดการปวดบริเวณจุดนั้น ๆ ต่อเนื่อง และอาการปวดร้าว ยังลามไปยังกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ เช่น ปวดคอแล้วร้าวลงขมับและกระบอกตา กล้ามเนื้อล้า มีอาการชา เกิดโรคออฟฟิศ

ซินโดรม รวมทั้งอาจมีอาการ มึน วิงเวียนศีรษะ ตาพร่ามัว เกี่ยวข้องกัน 

 

เมื่อทำการฝังเข็มเฉพาะจุดแบบ (Dry Needling) จุด Trigger Point เกิดกระตุกและคลายตัวออก กล้ามเนื้อมีการหลั่งโพแทสเซียมออกมา จะช่วยลดการปวดได้ดีขึ้น เลือดก็จะกลับมาไหลเวียนในบริเวณที่ปวด ของเสียที่คั่ง ในกล้ามเนื้อถูกขับออก กล้ามเนื้อเกิดการเรียงตัวใหม่ขึ้น ปัจจุบันเข็มที่ใช้ จะเป็นเข็มสแตนเลสขนาดเล็ก บาง ไม่แตกหักง่าย   

 

กลุ่มผู้ป่วยที่ฝังเข็มแบบตะวันตก ได้แก่กลุ่มโรคอะไรบ้าง

กลุ่มโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial Pain Syndrome, MPS) และกลุ่มโรคกล้ามเนื้อทำงานไม่สมดุล ซึ่งเกิดจากใช้งานกล้ามเนื้อนานๆ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดบ่าไหล ปวดสะโพก ข้อเข่าเสื่อม เล่นโทรศัพท์มือถือ อาการปวดจากออฟฟิศซินโดรม 

ฝังเข็มแบบตะวันตกเจ็บไหม?

หลายๆคนที่กลัวเข็ม มักจะมีคำถามถามแพทย์ว่า ฝังเข็มเจ็บไหมหมอก็จะบอกว่า เวลาปักเข็มลงไปที่จุด ก็จะมีอาการเจ็บที่มีความรู้สึกได้ แต่มากน้อยตามจุดที่ปวด  

ดังนั้นถ้ากลัวมาก ๆ ก็ไม่ควรจะเลือกวิธีการฝังเข็ม เพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยเป็นลม หรือ เครียดมาก

ขณะการฝังเข็มได้ ในระหว่างฝังเข็มจะมีทั้งความปวด เหมือนเรากดนวดค้างไว้ และจะเจ็บร้าวตามมา เมื่อTrigger Point กระตุกขึ้น และคลายตัวออก ตามจุดต่างๆที่ ฝังเข็มลงไป 

แพทย์จะฝังเข็มจนกว่า กล้ามเนื้อจะกระตุกและคลายตัวออกแล้ว และขยับเข็มรอบๆ จนกว่ากล้ามเนื้อจะไม่มีการกระตุก จึงค่อยๆถอนเข็มออก ใช้เวลาตำแหน่งละ 5-10 นาที ตามจุดต่าง ๆ

หลังจากฝังเข็มเสร็จสิ้น ผู้เข้ารับการฝังเข็มแบบตะวันตก จะระบมเหมือนยังมีเข็มคาอยู่ ในบริเวณที่ฝังเข็มอยู่อีก 3-4 วัน หากรู้สึกเจ็บหรือปวดมาก สามารถรับประทาน  ยาแก้ปวดหรือประคบเย็น เพื่อบรรเทาอาการได้

จุดเด่นของการฝังเข็ม ช่วยระงับปวด เกิดการหลั่งสารสื่อประสาท ให้ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง ระดับไขสันหลัง ปรับสมดุลต่างๆ ปรับการทำงานระบบภูมิคุ้มกัน  กล้ามเนื้อเกิดการคลาย กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด บริเวณกล้ามเนื้อที่ปวดคลายอาการปวดลง 

สำหรับการรักษาแบบการฝังเข็ม แพทย์จะนัดหมายคนไข้ เพื่อตรวจติดตามอาการสัปดาห์ละครั้ง เมื่ออาการระบมหาย การฝังเข็มไม่จำเป็นต้องฝังอย่างต่อเนื่องหรือติดต่อกัน จะฝังเข็มแค่กล้ามเนื้อรู้สึกคลายตัวก็เพียงพอ ยกเว้นกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ยังมีตึง หรือจุด Trigger Point สามารถฝังซ้ำได้เมื่ออาการระบม ทุเลาลง 

ข้อห้ามของคนที่ไม่ควรฝังเข็ม

  • ผู้กลัวเข็มมากๆ หรือกลัวในระดับรุนแรง
  • ผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่าย หรือการแข็งตัวของระบบเลือดมีความผิดปกติยังไม่สามารถควบคุมได้ 
  • โรคมะเร็ง ที่ยังไม่ได้รับการรักษา 
  • โรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ผู้ป่วยต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อป้องกันผลที่จะตามมา เช่น  เป็นลม เลือดออก หรือ รอยช้ำที่จุดฝังเข็ม อาจเกิดการติดเชื้อได้ 
  • ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่อ่อนแอ หรือมีอาการอ่อนเพลีย 

การฝังเข็ม เป็นศาสตร์กระตุ้นกล้ามเนื้อตรงจุด และเข้าถึงชั้นด้านในได้มากกว่าแบบการนวด หรือการกดจุดจากแรงภายนอก แต่ควรอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และควรเลือกเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล มีความเป็นมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการรักษา 

 

บทความโดย :  พญ.ดวงใจ บัวขวา แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู 

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

 

 

ศูนย์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกกายภาพบำบัด

สถานที่

อาคาร B ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -17.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 1302

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์