Header

การเจริญเติบโตตามวัย น้ำหนัก ส่วนสูงและเส้นรอบศีรษะ

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

1. ความยาว ,ส่วนสูง

  • อายุแรกเกิด 50 ซม.
  • แรกเกิด-6 เดือน
    • เด็กชายยาวขึ้นอย่างน้อย 17 ซม.
    • เด็กหญิงยาวขึ้นอย่างน้อย 16 ซม.
  • อายุ 6 เดือน-12 เดือน
    • เด็กชายยาวขึ้นอย่างน้อย 8 ซม.
    • เด็กหญิงยาวขึ้นอย่างน้อย 8 ซม
  • อายุ1-2ปี
    • เด็กชายยาวขึ้นอย่างน้อย 10 ซม.
    • เด็กหญิงยาวขึ้นอย่างน้อย 11 ซม
  • อายุ2-5ปี
    • เด็กชายยาวขึ้นอย่างน้อย 6-7 ซม./ปี
    • เด็กหญิงยาวขึ้นอย่างน้อย 6-7ซม/ปี
  • อายุ5ปี–เริ่มเข้าวัยรุ่น
    • ควรสูงขึ้น 6 ซม./ปีทั้งชายและหญิง
       

2. ความสูงตามอายุ

  • แรกเกิด 50 ซม.
    • 1ปี 75 ซม.
    • 2ปี 87 ซม.
    • 4 ปี 100 ซม.
    • 13ปี 150 ซม.
       

สูตรความสูง อายุ2-12ปี
ความสูง(ซม.)=(6 คูณ อายุ(ปี))+77
 

 

 

3. น้ำหนักตามวัย

  • น้ำหนักตัวจะเป็น 2 เท่าของน้ำหนักแรกเกิดเมื่ออายุ 4-5 เดือน
  • น้ำหนักตัวจะเป็น 3 เท่าของน้ำหนักแรกเกิดเมื่ออายุ 1 ปี
  • น้ำหนักตัวจะเป็น 4เท่าของน้ำหนักแรกเกิดเมื่ออายุ 2 ปี
  • น้ำหนักเด็กโดยประมาณ
    • แรกเกิด 3 กก.
    • 1 ปี 9 กก.
    • 2 ปี 12 กก.
    • เด็กอายุ 2-5 ปี น้ำหนักขึ้น 2.3-2.5 กก./ปี
    • เด็กอายุ 6-12 ปีนำหนักขึ้น 3-3.5 กก./ปี

 

สูตรคำนวณน้ำหนักเด็ก

  • อายุ2-6 ปี น้ำหนัก(กก.)=(อายุ(ปี)คูณ 2)+8
  • อายุ7-12 ปี น้ำหนัก(กก.)=(อายุ(ปี)คูณ 7)-5 หาร 2
    • เช่น อายุ 9 ปี น้ำหนัก=( 9 คูณ 7)-5 หาร 2= 29 กก.

 

 

4. เส้นรอบศีรษะ

การวัดรอบศีรษะเด็กและการวัดขนาดของกระหม่อมด้านหน้าในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี มีความสำคัญเนื่องจากสมองเด็กมีการพัฒนาการและเติบโตในช่วงนี้ทุกครั้งที่ลูกมารับวัคซีนและตรวจสุขภาพแพทย์จะวัดรอบศีรษะและตรวจกระหม่อมหน้า

เส้นรอบศรีษะจะโตขึ้นตามวัยถ้าศีรษะเล็กอาจแสดงว่าสมองเล็กด้วยหรือถ้ากระหม่อมหน้าปิดเร็วเกินไปสมองเด็กยังโตไม่เต็มที่มีผลต่อพัฒนาการเช่นกัน ถ้าศีรษะโตเกินร่วมกับกระหม่อมหน้าปิดช้าหรือกระหม่อมหน้ายังกว้างมากไม่เหมาะสมกับอายุต้องระวังภาวะมีน้ำในสมองมากเกินไป แต่มีบางครอบครัวที่ศีรษะโตโดยกรรมพันธุ์ภาวะนี้ศีรษะเด็กจะโตกว่าวัยแต่กระหม่อมหน้าเล็กลงตามวัยถือว่าเป็นภาวะปกติ ถ้าแพทย์สงสัยภาวะศีรษะที่ผิดปกติในเด็กที่กระหม่อมหน้ายังเปิดอยู่สามารถตรวจวินิจฉัยได้ง่ายโดยวิธี อัลตร้าซาวด์ผ่าทางกระหม่อมหน้าจะสามารถบอกได้ว่ามีความผิดปกติน้ำในสมองมากเกินไปหรือไม่
 

กระหม่อมหน้า
กระหม่อมหน้าจะเล็กลงเรื่อยๆและจะปิดที่อายุ 9-18 เดือน การเจริญเติบโตของศีรษะ(เส้นรอบศีรษะ)
เส้นรอบศีรษะเด็ก โดยประมาณ

  • แรกเกิด 35ซม.
  • 4เดือน 40ซม.
  • 1ปี 45ซม.
  • 2ปี 47ซม.
  • 5 ปี 50ซม.

 

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง

เบอร์โทรศัพท์ (+66)02 0805999

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา
 

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกพัฒนาการเด็ก

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

เฉพาะวันอาทิตย์ (สัปดาห์ที่ 3/4 ของเดือน) 09.00 -12.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4401

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง

พญ.ภิญญภา มุกด์จินดาภา

กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง

แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง

พญ.อภิญญา พราหมณี

กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

อาการเจ็บใต้ชายโครงขวา แต่เจ็บไม่มาก รวมถึงมีท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำเมื่อกินอาหารมัน ๆ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

อาการเจ็บใต้ชายโครงขวา แต่เจ็บไม่มาก รวมถึงมีท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำเมื่อกินอาหารมัน ๆ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI คือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้ในการตรวจวินิจฉัยรอยโรคของผู้ป่วย เพื่อนำมาใช้ในการรักษาและติดตามผลการรักษา

blank ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI คือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้ในการตรวจวินิจฉัยรอยโรคของผู้ป่วย เพื่อนำมาใช้ในการรักษาและติดตามผลการรักษา

blank ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและเมื่อเกิดแล้วอาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและเมื่อเกิดแล้วอาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม