Header

การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

blank ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI คือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้ในการตรวจวินิจฉัยรอยโรคของผู้ป่วย เพื่อนำมาใช้ในการรักษาและติดตามผลการรักษา

เครื่อง MRI จะเป็นเทคโนโลยีทันสมัย ในปัจจุบันมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นการตรวจวินิจฉัยที่ให้ความถูกต้องและแม่นยำสูง เนื่องจากให้ความแตกต่างของเนื้อเยื่อได้ดี ทำได้หลายระนาบ สามารถใช้ตรวจได้ทุกระบบของร่างกาย

ลักษณะการใช้งานกับผู้ป่วย

ในการตรวจด้วยเครื่อง MRI ผู้ป่วยต้องเข้าไปนอนในเครื่อง ลักษณะคล้ายอุโมงค์ ซึ่งจะมีความกว้างประมาณ 70 เซนติเมตร ผู้ป่วยต้องนอนในอุโมงค์อย่างน้อย 30 นาที ถึงชั่วโมง ขึ้นกับระบบอวัยวะที่ต้องการตรวจ การตรวจจะแบ่งเป็นชุดๆ ในแต่ละชุดใช้เวลานาน 3-5 นาที ผู้ป่วยจะต้องมีการกลั้นหายใจ ในแต่ละชุดประมาณ 15-20 วินาที และจะต้องมีการเตรียมตัวเฉพาะและการงดรับประทานยาประจำบางชนิด ก่อนเข้ารับการตรวจ โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งขั้นตอนในวันที่มานัดตรวจ

ข้อควรปฏิบัติตนก่อนเข้ารับตรวจ MRI

ระบบอวัยวะที่สามารถตรวจได้

  1. ระบบสมอง
  2. ระบบไขสันหลัง
  3. ระบบช่องท้อง
  4. ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ
  5. ระบบหลอดเลือดดำและแดง

การปฏิบัติตนก่อนเข้ารับการตรวจ

  1. เนื่องจากเป็นการตรวจที่ไม่เจ็บปวด ท่านเพียงแต่ทำใจให้สงบ นอนให้สบาย ไม่ต้องกลัว
  2. ในขณะที่เครื่องทำงานจะมีเสียงดัง กรุณาอย่าตกใจ
  3. ในขณะที่ท่านทำการตรวจอยู่ในเครื่องจะมีเจ้าหน้าที่ดูแลท่านตลอดเวลา ถ้ามีปัญหาขัดข้องอะไรท่านสามารถบอกได้โดยผ่านไมโครโฟนที่อยู่ภายในเครื่อง
  4. เนื่องเป็นการตรวจที่ละเอียดจึงใช้เวลาค่อนข้างนานในการตรวจแต่ละชุด ท่านต้องนอนให้นิ่งที่สุด ไม่เช่นนั้นจะทำให้ภาพไม่ชัดเจน อาจทำให้การวินิจฉัยไม่แม่นยำได้ หรอต้องตรวจใหม่
  5. เจ้าหน้าที่จะทำการอธิบายอีกครั้งก่อนเข้ารับการตรวจ หากมีข้อสงสัยให้ถามเจ้าหน้าที่ได้
  6. ถ้าท่านเกิดการกังวลใจ กลัวที่จะอยู่คนเดียวในห้องหรือกลัวที่แคบ โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ สามารถให้ญาตินั่งเป็นเพื่อนได้โดยไม่มีอันตรายใดๆ
  7. หลีกเลี่ยงการแต่งหน้า เนื่องจากเครื่องสำอางบางชนิดมีส่วนผสมของโลหะทำให้เกิดภาพบิดเบี้ยวได้ (Distortion)

ข้อควรระมัดระวังและสิ่งพึงปฏิบัติ

ก่อนเข้ารับการตรวจ MRI ตรวจดูว่าร่างกายมีสิ่งต้องห้ามอะไรดังต่อไปนี้บ้าง

  1. สิ่งที่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ 
  • เครื่องช่วยกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker)
  • ผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัด Clips หรือโลหะต่างๆ
  • ผู้ป่วยที่มีสิ่งแปลกปลอมหรือโลหะอยู่ในร่างกาย เช่น เคยถูกยิงมีกระสุนค้างอยู่ตามร่างกาย
  1. สิ่งที่ต้องฝากญาติหรือใส่ไว้ในตู้เก็บของ
  • เครื่องประดับต่างๆ เช่น นาฬิกา สร้อย ต่างหู กิ๊บ เข็มกลัดติดเสื้อ เป็นต้น
  • ฟันปลอม เครื่องช่วยหูฟัง
  • บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม บัตรที่มีแถบแม่เหล็กทั้งหมด
  • สิ่งของที่เป็นโลหะ เช่น กุญแจ คลิป ปากกา เป็นต้น
  • วิทยุติดตามตัว โทรศัพท์มือถือ

ขั้นตอนการตรวจ

  1. คนไข้ลงทะเบียนเข้ารับบริการ เซ็นเอกสารใบยินยอมรับการตรวจ และเอกสารใบยินยอมรับการฉีดสารเพิ่มความแตกต่างของเนื้อเยื่อ
  2. เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดตรวจโรงพยาบาล และเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยเนื่องจากใช้เวลาในการตรวจนาน
  3. รอเจ้าหน้าที่เรียกชื่อเข้ารับกรตรวจ
  4. เจ้าหน้าที่ทวนสอบชื่อ-นามสกุล แจ้งส่วนที่ตรวจ พร้อมซักถามประวัติ และพาคนไข้เข้าห้องตรวจ
  5. เจ้าหน้าที่ทำการจัดท่าการตรวจ
  6. เจ้าหน้าที่ทำการตรวจอวัยวะแต่ละระบบตามใบสั่งการตรวจของแพทย์จะใช้เวลาที่แตกต่างกัน มีการตรวจในหลายระบบนาบและหลายชุด เวลาที่ใช้ในการตรวจแต่ละชุด ประมาณ 5-10 นาที จำนวนชุดที่ตรวจแล้วแต่ละลอยโรคที่สงสัย
  7. เมื่อการตรวจเสร็จสิ้น และหลังจากที่ท่านเปลี่ยนเสื้อผ้าเรียบร้อยแล้ว ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่เคาน์เตอร์

บุคคลที่ห้ามเข้า MRI

  1. บุคคลที่ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้เป็นจังหวะ
  2. บุคคลที่ผ่าตัดติดคลิปอุดหลอดโลหิต (Aneurysm Clips)
  3. บุคคลที่ผ่าตัดฝังอวัยวะเทียมภายในหู (Ear Implants)
  4. บุคคลที่มีโลหะต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น ข้อเทียมต่างๆ, โลหะดามกระดูก, กระสุนปืน เป็นต้น
  5. สตรีมีครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการยืนยันว่าการตรวจนี้จะทำอันตรายต่อเด็กหรือไม่

สารเพิ่มความแตกต่างของเนื้อเยื่อที่ (Contrast Media)

สำหรับการตรวจ MRI โดยทั่วไปจะใช้สารที่มีชื่อว่า แกโดลิเนียม (Gadolinium) เป็นสารที่เพิ่มความแตกต่างของเนื้อเยื่อ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพรวมถึงรายละเอียดของภาพให้ดียิ่งขึ้น สารนี้หลังจากฉีดเข้าร่างกายจะถูกขับออกทางปัสสาวะเกือบหมดภายใน 24 ขั่วโมง เป็นสารคนละชนิดกับสารทึบรังสีที่ใช้ในการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

การฉีดสารเพิ่มความแตกต่าง

การฉีดทุกครั้งจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรังสีแพทย์ ซึ่งปริมาณที่ใช้ 0.2 cc. ต่อน้ำหนักผู้ป่วย 1 กิโลกรัม โดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ

อาการข้างเคียง

เนื่องจากสารเพิ่มความแตกต่างของเนื้อเยื่อนี้จะใช้ในปริมาณที่น้อย ดังนั้นโอกาสของผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นพบได้น้อยมาก อาการข้างเคียงขั้นต้นที่อาจพบได้หลังการฉีดสาร ได้แก่ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ผื่นแดง และอาการคันตามร่างกาย ซึ่งอาการเหล่านี้รังสีแพทย์และบุคลากรทางรังสีได้รับการฝึกฝนเป็นอย่างดีจะคอยดูแลท่านและช่วยเหลือแก้ไขอาการขั้นต้น อาการข้างเคียงขั้นรุนแรงอาจถึงชีวิตนั้นพบได้น้อยมากๆ

 

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อน พบได้ไม่บ่อยแต่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 8 ของโลก เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ ปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือตัวเหลือง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อน พบได้ไม่บ่อยแต่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 8 ของโลก เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ ปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือตัวเหลือง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สัญญานของวัยทอง

ประจำเดือนมาน้อยวันและไม่สม่ำเสมอ ร้อนวูบวาบตามร่างกายโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย เหนื่อยง่าย ใจสั่นมีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน บางคนมีอาการหนาวสั่นโดยไม่มีสาเหตุ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สัญญานของวัยทอง

ประจำเดือนมาน้อยวันและไม่สม่ำเสมอ ร้อนวูบวาบตามร่างกายโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย เหนื่อยง่าย ใจสั่นมีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน บางคนมีอาการหนาวสั่นโดยไม่มีสาเหตุ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ในแต่ละช่วงอายุ

การฉีดวัคซีน คือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพื่อป้องกันการติดต่อของโรคติดต่อร้ายแรง วัคซีนอาจผลิตจากเชื้อไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรียที่อ่อนตัวแล้ว

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ในแต่ละช่วงอายุ

การฉีดวัคซีน คือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพื่อป้องกันการติดต่อของโรคติดต่อร้ายแรง วัคซีนอาจผลิตจากเชื้อไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรียที่อ่อนตัวแล้ว

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม