Header

อัลตราซาวด์ช่องคลอด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด คืออะไร เป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านเครื่องอัลตราซาวด์ที่เป็นแบบหัวตรวจ ซึ่งนิยมใช้ในงานของแผนกสูตินรีเวช โดยคลื่นเสียงที่ปล่อยออกไปจะกระทบกับอวัยวะหรือเนื้อเยื่อต่างๆ มักจะมีการสะท้อนกลับออกมาไม่เท่ากัน หัวตรวจของเครื่องอัลตร้าซาวด์จะทำหน้าที่รับสัญญาณที่สะท้อนกลับออกมานี้ แล้วประมวลผลด้วยภาพผ่านทางหน้าจอมอนิเตอร์ของเครื่อง ทำให้แพทย์สามารถบอกผลของการตรวจต่อผู้ป่วยได้ทันที

วิธีการเตรียมตัวก่อนการตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด

  • ไม่ควรดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ และควรปัสสาวะออกให้หมดก่อนการตรวจ ซึ่งจะเป็นการปฏิบัติตรงกันข้ามกับการตรวจเคลื่อนผ่านหน้าท้อง เพราะจะทำให้เครื่องอัลตร้าซาวด์ได้ใกล้ชิดกับอวัยวะที่ตรวจมากที่สุด
  • ผลัดเปลี่ยนใส่เสื้อผ้าตามที่สถานพยาบาลกำหนด โดยปกติจะเป็นเสื้อผ้าหลวมๆ ใส่สบายและเอื้อต่อการตรวจ
  • ขณะที่มีประจำเดือนไม่ควรตรวจ เนื่องจากไม่สะอาดและไม่สะดวกต่อการตรวจ  หากพบว่ามีอาการแพ้น้ำยาที่ใช้เคลือบหัวตรวจก่อนสอดเข้าไปตรวจ ควรแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาชนิดนี้

วิธีการดูแลตัวเองหลังการตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด

ไม่ต้องมีวิธีดูแลหลังการตรวจแต่ประการใด อีกทั้งการตรวจก็ใช้เวลาไม่นาน ไม่มีการใช้ยาระงับความเจ็บปวด และสามารถกลับบ้านเพื่อปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ  การตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอดให้ผลการตรวจที่ชัดเจน และแม่นยำ เหมาะสำหรับการดูเนื้อเยื่อหรือสิ่งเล็ก ๆ โดยแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าควรตรวจด้วยวิธีใด หากการตรวจด้วยวิธีเคลื่อนหัวตรวจผ่านผิวหนังหน้าท้องแล้วเห็นผลชัดเจน ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจด้วยวิธีสอดทางช่องคลอดก็ได้ แต่ถ้าเป็นการตรวจดูว่าท้องนอกมดลูกหรือไม่ ก็จะต้องใช้การตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอดอย่างแน่นอน



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD or Coronary Heart Disease)

โรคหัวใจและหลอดเลือดนับว่าเป็นโรคที่เป็นสาเหตุในการเสียชีวิตจากโรคมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง โดยสถิติกระทรวงสาธาณสุขเมื่อปี 2561

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD or Coronary Heart Disease)

โรคหัวใจและหลอดเลือดนับว่าเป็นโรคที่เป็นสาเหตุในการเสียชีวิตจากโรคมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง โดยสถิติกระทรวงสาธาณสุขเมื่อปี 2561

ข้อควรระวังกับ 13 โรคที่พบบ่อยในการบริจาคโลหิต

หลาย ๆ ท่านทราบดีอยู่แล้วว่าการบริจาคโลหิต มีประโยชน์ในเรื่องของการได้ช่วยชีวิตเพื่อมนุษย์ที่ต้องการเลือดเพื่อรักษา และการมีโลหิตที่มีคุณภาพนั้นสำคัญมาก

ข้อควรระวังกับ 13 โรคที่พบบ่อยในการบริจาคโลหิต

หลาย ๆ ท่านทราบดีอยู่แล้วว่าการบริจาคโลหิต มีประโยชน์ในเรื่องของการได้ช่วยชีวิตเพื่อมนุษย์ที่ต้องการเลือดเพื่อรักษา และการมีโลหิตที่มีคุณภาพนั้นสำคัญมาก

การเรียนออนไลน์กับเด็ก

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด- 19  เด็กไม่สามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติเป็นระยะเวลานานเป็นปี และเพื่อไม่ให้เด็กขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ การเรียนออนไลน์เป็นรูปแบบการเรียนที่โรงเรียนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศนิยมใช้กันทั่วไป

การเรียนออนไลน์กับเด็ก

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด- 19  เด็กไม่สามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติเป็นระยะเวลานานเป็นปี และเพื่อไม่ให้เด็กขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ การเรียนออนไลน์เป็นรูปแบบการเรียนที่โรงเรียนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศนิยมใช้กันทั่วไป