Header

คลายนิ้วล็อค…ง่ายนิดเดียว

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

โรคนิ้วล็อก โรคใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยทั่วไปจะพบในผู้หญิงมากกว่าชาย กลุ่มโรคนิ้วล็อกในปัจจุบันพบได้มากขึ้น เนื่องจากใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด สมาร์ทโฟน หรือใช้ข้อมือขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ เราอาจพูดได้ว่ากลุ่มคนทำงานในออฟฟิศมีอาการนิ้วล็อคเพิ่มมากขึ้น ก็ไม่น่าผิดเพี้ยนมากนัก โดยระยะเริ่มแรกสังเกตุง่ายสุด คือ มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ มีอาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียดนิ้ว

สาเหตุของโรคนิ้วล็อค

โรคนิ้วล็อคเกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้ว ตรงบริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้วทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี งอข้อนิ้วมือแล้วไม่สามารถเหยียดกลับคืนได้เหมือนเดิม หรือรู้สึกเหมือนนิ้วถูกล็อคไว้
 


 

กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นโรคนิ้วล็อค

  1. ผู้ที่มีความจำเป็นต้องทำงานในลักษณะเกร็งนิ้วมือบ่อยๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น แม่บ้าน, พนักงานออฟฟิศ, คนทำอาหาร, ช่างฝีมือด้านต่างๆ, แพทย์, ทันตแพทย์, หรือคนสวน เป็นต้น
  2. ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคเก๊าท์ หรือโรครูมาตอยด์ จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ้วล็อคมากกว่าคนปกติ

อาการของโรคนิ้วล็อค

โดยทั่วไปอาการของโรคนิ้วล็อคจะเริ่มต้นจากอาการเล็กน้อย และเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ระยะที่ 1: มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้ว กดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้าจะมีอาการปวดมากขึ้น แต่ยังไม่มีอาการสะดุด

ระยะที่ 2: อาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียดนิ้ว

ระยะที่ 3: เมื่องอนิ้วลงจะมีอาการติดล็อค ไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ต้องใช้มืออีกข้างหนึ่งมาช่วยแกะ หากมีอาการมากขึ้นจะไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง

ระยะที่ 4: มีอาการอักเสบและบวม ไม่สามารถเหยียดนิ้วให้ตรงได้ และอาการปวดรุนแรงมากขึ้น
 

การรักษาโรคนิ้วล็อค

การรักษาโรคนิ้วล็อคมีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค

  1. ให้รับประทานยาในกลุ่ม NSAID เพื่อลดอาการปวด บวม อักเสบ และพักการใช้งานของมือไม่ใช้งานรุนแรง
  2. ใช้เครื่องดามนิ้ว หรือการนวดเบาๆ การประคบร้อน และการทำกายภาพบำบัด
  3. การฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์เฉพาะที่ ลดอาการบวมของเส้นเอ็นแต่กรณีฉีดยาอาจทำให้อาการดีขึ้นได้เพียวระยะเวลาสั้นๆ และสามารถกลับมาทำซ้ำได้ในระยะเวลาไม่นาน ข้อจำกัดในการรักษานี้คือ ไม่ควรฉีดยาเกิน 2 หรือ 3 ครั้ง ต่อนิ้วที่เป็นโรค
  4. การผ่าตัด โดยการตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาอยู่ให้เปิดกว้าง เผื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้สะดวกไม่ติดขัด หลังผ่าตัดเสร็จผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที ระวังแผลหลังผ่าตัดไม่ให้โดนน้ำ


 

บริหาร 3 Step คลายนิ้วล็อก ด้วยตนเอง

  1. กล้ามเนื้อบริเวณแขน มือ นิ้วมือ โดยยกของระดับไหล่ ใช้มือหนึ่งดันให้ข้อมือกระดกขึ้น – ลง ปลายนิ้วเหยียดตรงค้างไว้ นับ 1 – 10 แล้วปล่อย ทำ 5 – 10 ครั้ง/เซต
  2. บริหารการกำ – แบมือ โดยฝึกกำ – แบ เพื่อการเคลื่อนไหวของข้อนิ้ว และกำลังกล้ามเนื้อภายในมือ โดยทำ 6 – 10 ครั้ง/เซท (กรณีนิ้วล็อคไปแล้ว งดทำท่าที่ 2)
  3. หากเริ่มมีอาการปวดตึง แนะนำให้แช่มือในน้ำอุ่นไว้ 15 – 20 นาทีทุกวัน (วันละ 2 รอบ เช้า – เย็น) หากอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้มาพบแพทย์แลพทำการรักษาทางกายภาพต่อไป

วิธีลดความเสี่ยงการเป็นนิ้วล็อค

  1. ไม่หิ้วของหนักเกิน และหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ อาจใช้วิธีการอุ้มประคองหรือรถเข็นลากแทนการหิ้วของ เพื่อลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือ
  2. ควรใส่ถุงมือ หรือ ห่อหุ้มด้ามจับเครื่องมือให้นุ่มขึ้น และจัดทำขนาดที่จับเหมาะแก่การใช้งานขณะใช้เครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ
  3. งานที่ต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยหรือระบมควรพักมือเป็นระยะๆ และออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อมือบ้าง
  4. ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น
  5. ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้า หรือมือเมื่อยล้า ให้แช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือ กำ-แบ ๆ ในน้ำเบาๆ จะทำให้ข้อฝืดลดลง
  6. หลีกเลี่ยงการซักผ้าด้วยมือ การบิดผ้าให้แห้งมากๆ หรือกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อมือ เพื่อให้กำแน่นๆ

 
 

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv



ศูนย์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์กระดูกและข้อ

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4110

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.กลวัชร ทรัพย์สวนแตง

ศัลยแพทย์กระดูก

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.สุวิทย์ ตั้งเจริญวัฒนากูร

ศัลยแพทย์กระดูก, กระดูกสันหลัง

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.นิธิศ ศรีอุเทนชัย

ศัลยแพทย์กระดูก

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

อาการเจ็บใต้ชายโครงขวา แต่เจ็บไม่มาก รวมถึงมีท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำเมื่อกินอาหารมัน ๆ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

อาการเจ็บใต้ชายโครงขวา แต่เจ็บไม่มาก รวมถึงมีท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำเมื่อกินอาหารมัน ๆ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คำแนะนำการดูแลเมื่อลูกเจ็บป่วย

การดูแลลูกเมื่อมีไข้ ให้ยาลดไข้ พาราเซตามอลจะปลอดภัยที่สุด(ห้ามใช้ยา แอสไพรินเพราะถ้าเด็กเป็นโรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคอีสุกอีใส อาจทำให้เกิดกลุ่มโรคไรด์ เกิดตับวาย และมีผลต่อสมองทำให้เสียชีวิตได้ )

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คำแนะนำการดูแลเมื่อลูกเจ็บป่วย

การดูแลลูกเมื่อมีไข้ ให้ยาลดไข้ พาราเซตามอลจะปลอดภัยที่สุด(ห้ามใช้ยา แอสไพรินเพราะถ้าเด็กเป็นโรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคอีสุกอีใส อาจทำให้เกิดกลุ่มโรคไรด์ เกิดตับวาย และมีผลต่อสมองทำให้เสียชีวิตได้ )

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคข้อเสื่อม อาการยอดฮิตของผู้สูงวัย

ผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อม หากไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม อาการของโรคจะดำเนินไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่สะดวก

โรคข้อเสื่อม อาการยอดฮิตของผู้สูงวัย

ผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อม หากไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม อาการของโรคจะดำเนินไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่สะดวก