Header

โรคกรดไหลย้อน GERD

ความสำคัญก็คือ โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disorder) คือภาวะที่เกิดการไหลย้อนของกรด จากกระเพาะอาหาร ขึ้นมาสู่หลอดอาหาร ซึ่งถูกกระตุ้นได้จากหลายปัจจัยเช่น การสูบบุหรี่, ดื่มสุรา, ความเครียด, การรับประทานอาหารไขมันสูง,ภาวะน้ำหนักตัวเกิน เป็นต้น

เมื่อมีอาการอย่างไรจึงควรสงสัยภาวะกรดไหลย้อน

ภาวะกรดไหลย้อนนั้นอาจมีอาการได้หลากหลายทั้งกลุ่มที่มีอาการเด่นทางหลอดอาหาร และ กลุ่มที่มีอาการนอกทางเดินอาหาร ได้แก่

  • อาการแสบร้อนยอดอก (heartburn)
  • อาการเรอเปรี้ยว(regurgitation)
  • อาการเจ็บแน่นหน้าอก ที่ไม่ได้เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ( non-cardiac chest pain) ทั้งนี้ในกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว ต้องทำการประเมินภาวะอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจร่วมด้วยเสมอ
  • อาการไอเรื้อรัง,กล่องเสียงอักเสบ และฟันกร่อน เป็นต้น

กรดไหลย้อน ปัญหาเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

ภาวะกรดไหลย้อนนอกจะทำให้เกิดอาการที่รบกวนคุณภาพชีวิตแล้ว ยังมีผลเสียที่มากกว่านั้น โดยเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารอีกด้วย

คำแนะนำในการดูแลเพื่อป้องกันและรักษาภาวะกรดไหลย้อน

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น การงดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา,หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารในช่วง3ชั่วโมงก่อนเข้านอน และพิจาณาการนอนยกหัวเตียงสูง, การลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
  • การให้ยาเพื่อบรรเทาอาการและความรุนแรงของภาวะกรดไหลย้อน เช่น ยาต้านการหลั่งกรด (proton pump inhibitor), ยากลุ่มอัลจิเนต เป็นต้น
  • อย่างไรก็ตามหากอาการยังไม่ดีขึ้นภายหลังจากการรักษาข้างต้น หรือมีอาการอันตราย ได้แก่
  • อาการกลืนเจ็บ หรือ กลืนติดกลืนลำบาก
  • น้ำหนักลดเยอะ
  • มีภาวะเลือดออกทางเดินอาหาร
  • อาเจียนรุนแรงบ่อยครั้ง

ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจและพิจารณาการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (Esophagogastroduodenoscope,EGD) ซึ่งได้จะประโยชน์ ทั้งในการยึนยันการวินิจฉัย ประเมินความรุนแรง และเฝ้าระวังผลแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะกรดไหลย้อนเช่นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้

อ้างอิง แนวทางเวชปฎิบัตการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทย พ.ศ.2563, สมาคมประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว (ไทย)



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเจริญเติบโตตามวัย น้ำหนัก ส่วนสูงและเส้นรอบศีรษะ

ความยาว ความสูง น้ำหนัก และเส้นรอบศรีษะของเด็กในช่วงวัยต่างๆ

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การเจริญเติบโตตามวัย น้ำหนัก ส่วนสูงและเส้นรอบศีรษะ

ความยาว ความสูง น้ำหนัก และเส้นรอบศรีษะของเด็กในช่วงวัยต่างๆ

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ลูกติดจอ ติดมือถือแก้อย่างไร

อากรแบบนี้บ่งบอกลูกติดจอ ติดมือถือหนัก!

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ลูกติดจอ ติดมือถือแก้อย่างไร

อากรแบบนี้บ่งบอกลูกติดจอ ติดมือถือหนัก!

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัยเก๋า……..ต้องไม่เกาต์

โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนแต่จะพบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุซึ่งเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดบริเวณกระดูกและข้อส่งผลให้การเดินและการใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปได้อย่างยากลำบาก

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัยเก๋า……..ต้องไม่เกาต์

โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนแต่จะพบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุซึ่งเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดบริเวณกระดูกและข้อส่งผลให้การเดินและการใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปได้อย่างยากลำบาก

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม