Header

วัยเก๋า……..ต้องไม่เกาต์

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

โรคเกาต์ และเกาต์เทียมเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนแต่จะพบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุซึ่งเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดบริเวณกระดูกและข้อส่งผลให้การเดินและการใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปได้อย่างยากลำบากอีกทั้งในผู้สูงอายุบางท่านเมื่อเป็นโรคนี้อาจจะปวดจนเดินไม่ได้อีกด้วยมารู้จักกับโรคเกาต์ให้มากขึ้นเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้โรคที่แสนทรมานกัน

สาเหตุของโรค

โรคเกาต์ (Gout) คือโรคที่เกิดจากการที่กรดยูริกในเลือดมีปริมาณสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานานแล้วตกตะกอนเป็นผลึกตามข้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ กรดยูริกนี้ได้มาจากการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีสารอาหารที่ชื่อว่าพิวรีนในปริมาณมากซึ่งสารพิวรีนจะถูกเผาผลาญกลายเป็นกรดยูริกนั่นเองปัจจัยเสี่ยง

โรคเกาต์สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัยแต่เนื่องจากโรคเกาต์จะต้องใช้เวลาในการสะสมกรดยูริกนานกว่า 10 ปีถึงจะเริ่มแสดงอาการจึงพบได้มากในผู้ชายอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไปและพบได้มากในเพศชายมากกว่าเพศหญิงหากพบในเพศหญิงจะเป็นผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน

 

กรดยูริคคืออะไร

กรตนี้ส่วนใหญ่ร่างกายจะสร้างเองมีเพียงส่วนน้อยไม่ถึงร้อยละ 20 ที่ได้รับจากอาหารค่าที่สูงเกินกว่าระดับตั้งกล่าวถือว่ามีกรดยูริคสูงซึ่งภาวะดังกล่าวสัมพันธ์กับภาวะอ้วน, พันธุกรรมในครอบครัว, ยาในบางชนิดเช่นยาขับปัสสาวะและยาแอสไพรินและโรคร่วมเช่นความดันโลหิตสูง, อาหารที่มีกรดยูริคสูง

 

อาการของโรคเกาต์สามารถแบ่งตามลักษณะอาการออกเป็น 3 ระยะ

1. หากผู้ป่วยมีอาการอักเสบบริเวณข้อส่วนล่างโดยเฉพาะหัวแม่เท้าข้างใดข้างหนึ่งถ้ามีอาการเช่นนี้แสดงว่าผู้ป่วยเข้าสู่ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน

2. หลังจากมีอาการอักเสบบริเวณข้ออย่างเฉียบพลันแล้วผู้ป่วยจะกลับมามีอาการปกติ แต่ถึงอย่างนั้นผู้ป่วยก็จำเป็นจะต้องรับการรักษาไม่เช่นนั้นผู้ป่วยอาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้ ซึ่งหากเป็นซ้ำบ่อย ๆ จำนวนข้ออักเสบจะเพิ่มมากขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ อาการดังกล่าวเป็นอาการของระยะที่เรียกว่าระยะไม่มีอาการและระยะเป็น

3. หากผู้ป่วยเกิดข้ออักเสบจำนวนมากแบบเรื้อรังลามมาที่ข้ออื่น ๆ และตรวจพบก้อนจากผลึกของกรดยูริกขนาดโตขึ้นเรื่อย ๆ ใจแตกอให้เห็นเป็นผงชาวนวลคล้ายซอล์กเรียกว่าโทฟัส (tophus) และอาจมีใข้แทรกซ้อนจากอาการอักเสบอาการเช่นนี้คืออาการของระยะข้ออักเสบเรื้อรัง

 

การรักษา

โรคเกาต์สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องใช้ยาแต่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเช่นการออกกำลังกายการรับประทานอาหารแต่ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจจะมีการใช้ยาที่แพทย์จําหน่ายให้ร่วมด้วย

อาหารที่ทำให้มีกรดยูริคสูง

  • เหล้าและเบียร์
  • เครื่องในสัตว์เช่นตับไตสมอง
  • อาหารทะเล
  • อาหารที่มีไขมันสูงเช่นขนมเค้กขนมปังน้ำหวานหรือน้ำผลไม้ที่มีรสหวาน
     

 
 

โรคเกาต์กินอะไรดี

กินไก่เยอะเป็นโรคเกาต์จริงไหม?

ถ้าพูดถึงโรคเกาต์หลาย ๆ คนคงคิดถึงประโยคยอดฮิตอย่าง“ กินไก่เยอะ ๆ จะทาให้เป็นโรคเกาต์แล้วความเชื่อแบบนี้เป็นเรื่องจริงหรือเปล่า? จริง ๆ แล้วคนปกติทั่วไปที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเกาต์สามารถกินไกได้ตามปกติเลยค่ะไม่ได้ส่งผลให้เป็นโรคเกาต์ แต่จะมีผลกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกาต์อยู่ก่อนแล้ว แต่อาการยังไม่ปรากฏออกมาหรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคเกาต์ถ้าทานเยอะจนเกินไปก็จะส่งผลให้เป็นโรคเกาต์ได้
 

 


สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

ศูนย์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แผนกโรคกระดูกและข้อ

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4110

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

“ตกขาว” ของผู้หญิงแบบไหน ผิดปกติ?

ตกขาว คือ สารคัดหลั่งมีลักษณะมูก ออกมาจากช่องคลอดของผู้หญิงโดยไม่ใช่เลือดประจำเดือน โดยมูกนี้ถูกขับออกจากปากมดลูกมายังช่องคลอด เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้บริเวณช่องคลอดและช่วยป้องกันการติดเชื้อภายในช่องคลอด

นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“ตกขาว” ของผู้หญิงแบบไหน ผิดปกติ?

ตกขาว คือ สารคัดหลั่งมีลักษณะมูก ออกมาจากช่องคลอดของผู้หญิงโดยไม่ใช่เลือดประจำเดือน โดยมูกนี้ถูกขับออกจากปากมดลูกมายังช่องคลอด เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้บริเวณช่องคลอดและช่วยป้องกันการติดเชื้อภายในช่องคลอด

นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์

การแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์

blank กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์

การแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์

blank กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คำเตือน ! อย่า ผ่าต้อกระจก ถ้าไม่รู้สิ่งนี้

ต้อกระจก คือ ภาวะเลนส์ตาขุ่น ไม่ใช่กระจกตา โดยภาวะนี้จะทำให้มีอาการหลักคือ มองเห็นภาพไม่ชัด ซึ่งลักษณะการมองเห็นภาพไม่ชัดนั้นมีหลายแบบ แต่ส่วนมากแล้วอาการจะค่อยเป็นค่อยไป หลักเดือนหรือหลักปี

พญ.พรรักษ์ ศรีพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คำเตือน ! อย่า ผ่าต้อกระจก ถ้าไม่รู้สิ่งนี้

ต้อกระจก คือ ภาวะเลนส์ตาขุ่น ไม่ใช่กระจกตา โดยภาวะนี้จะทำให้มีอาการหลักคือ มองเห็นภาพไม่ชัด ซึ่งลักษณะการมองเห็นภาพไม่ชัดนั้นมีหลายแบบ แต่ส่วนมากแล้วอาการจะค่อยเป็นค่อยไป หลักเดือนหรือหลักปี

พญ.พรรักษ์ ศรีพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม