Header

โรคกรดไหลย้อน GERD

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ส่วนหนึ่งก็มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น “โรคกรดไหลย้อน” ในปัจจุบันเราจะได้ยินผู้คนพูดถึงเรื่องโรคนี้กันบ่อยมากขึ้น ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะ โรคกรดไหลย้อน เป็นโรคที่ใคร ๆ ก็สามารถเป็นได้ หากปล่อยให้เกิดอาการเรื้อรังและรักษาด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง อาจนำไปสู่การเกิดหลอดอาหารอักเสบ แผลที่หลอดอาหาร หรือหลอดอาหารตีบ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารได้

โรคกรดไหลย้อนคือ ?

โรคกรดไหลย้อน ในทางการแพทย์ เรียกว่า Gastroesophageal Reflux Disease หรือ GERD เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร โดยของที่ไหลย้อนส่วนใหญ่จะเป็นกรดในกระเพาะอาหารส่วนน้อยอาจเป็นด่างจากลำไส้เล็ก โดยอาจมี หรือไม่มีหลอดอาหารอักเสบก็ได้ โรคนี้มีความสำคัญคือผู้ป่วยจะมีอาการแสบยอดอกร่วมกับมีภาวะเรอเปรี้ยว (รู้สึกเหมือนมีกรดซึ่งมีความรู้สึกเหมือนมีน้ำรสเปรี้ยว หรือขมไหลย้อนขึ้นมาที่คอหรือปาก) ภาวะนี้อาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบ หรือเป็นมากจนเกิดแผลที่รุนแรง จนทำให้ปลายหลอดอาหารเกิดการเปลี่ยนแปลงเซลล์ เยื่อบุของหลอดอาหารได้ บางรายอาจรุนแรงจนถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ ในบางรายผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการ ทางด้านของ โรคหู คอ จมูก อาทิ ไอเรื้อรัง เสียงแหบเรื้อรัง หรืออาจมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจาก โรคหัวใจ หรืออาจะเกิดกลิ่นปากได้

สาเหตุของกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อนเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนปลายของหลอดอาหาร (Lower Esophageal Sphincter: LES) ทำให้กรดหรือน้ำย่อยภายในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาบริเวณหลอดอาหารจนสร้างความระคายเคืองกับผนังของหลอดอาหาร

นอกจากนี้ พฤติกรรมในชีวิตประจำวันหรือโรคบางชนิดมีส่วนกระตุ้นการทำงานของหลอดอาหารให้เกิดความผิดปกติได้ หรือทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดในปริมาณมากขึ้น เช่น

  • เข้านอนหลังรับประทานอาหารทันที
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารปริมาณมากภายในมื้อเดียว
  • เป็นโรคอ้วน
  • อยู่ในช่วงตั้งครรภ์

 

โดยพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้นเช่นกัน

อาการของกรดไหลย้อน

  • แสบร้อนบริเวณหน้าอก ซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก
  • มีอาการเรอเปรี้ยว มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก
  • ท้องอืด แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย
  • คลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
  • เจ็บหน้าอก จุก คล้ายเหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ
  • หืดหอบ ไอแห้ง ๆ เสียงแหบ
  • เจ็บคอเรื้อรัง

 

 

นอกจากอาการข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนบางราย อาจมีอาการแสดงอื่น ๆ ที่แตกต่างกันไป อาทิ เจ็บหน้าอก ไซนัสอักเสบ เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะต้องตรวจซักประวัติ และวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการ โดยวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน เช่น การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น การเอกซเรย์กลืนสารทึบแสง การตรวจการบีบตัวของหลอดอาหาร การตรวจวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร

การรักษา

  • การปรับเปลี่ยนนิสัย และการดำเนินชีวิตประจำวัน วิธีนี้สำคัญที่สุดในการทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลงป้องกันไม่ให้เกิดอาการ และลดการกลับมาเป็นซ้ำ โดยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารและป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปที่คอ และกล่องเสียงมากขึ้น การรักษาโดยวิธีนี้ควรปฏิบัติไปตลอดชีวิต เพราะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ แม้ว่าจะมีอาการดีขึ้นแล้ว หรือหายดีแล้ว โดยไม่ต้องรับประทานยา
  • การรับประทานยา เพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร หรือเพื่อการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหารในการกำจัดกรดปัจจุบันยาลดกรด เป็นยาที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดี เห็นผลการรักษาเร็ว การรักษาโรคกรดไหลย้อน ควรรับประทานยาให้สม่ำเสมอตามแพทย์สั่งไม่ควรลดขนาดของยา หรือหยุดยาเอง นอกจากแพทย์แนะนำและควรไปตามที่แพทย์นัดสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ในบางรายอาจใช้เวลานานประมาณ 1–3 เดือนอาการต่างๆจึงจะดีขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนนิสัยและการดำเนินชีวิตประจำวันได้รับประทานยาตอเนื่อง 2–3 เดือน แพทย์จะปรับขนาดยาลงทีละน้อย พบว่าประมาณ 90 % สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา
  • การผ่าตัด ส่วนน้อยที่รักษาด้วยวิธีนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นที่คอ และกล่องเสียง การรักษาวิธีนี้จะทำในกรณีอาการรุนแรง ซึ่งให้การรักษาโดยยาอย่างเต็มที่แร้วไม่ดีขึ้น ไม่สามารถรับประทานยาที่ใช้ในการรักษาภาวะนี้ได้ ในรายที่ดีขึ้นหลังจากการใช้ยาแต่ไม่ต้องการที่รับประทานยาต่อ รายที่มีอาการกลับเป็นซ้ำบ่อย ๆ หลังหยุดยา

การป้องกันกรดไหลย้อน

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ อาหารรสจัด และการสูบบุหรี่
  • ไม่ควรนอนหลังรับประทานอาหารทันที ควรให้อาหารย่อยอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนและจึงเข้านอน
  • รับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้พออิ่ม และควรควบคุมน้ำหนัก

โรคกรดไหลย้อน เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ส่วนหนึ่งก็มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง อย่างเช่นการดื่มน้ำอัดลม หรือแอลกอฮอล์ เข้านอนทันทีหลังจากรับประทานอาหาร ทำให้มีอาการแสบร้อนบริเวณอก มีอาการเรอเปรี้ยว มีน้ำรสเปรี้ยว หรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก จุกเสียด แน่นท้อง ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าว ควรมาทำการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

“ตกขาว” ของผู้หญิงแบบไหน ผิดปกติ?

ตกขาว คือ สารคัดหลั่งมีลักษณะมูก ออกมาจากช่องคลอดของผู้หญิงโดยไม่ใช่เลือดประจำเดือน โดยมูกนี้ถูกขับออกจากปากมดลูกมายังช่องคลอด เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้บริเวณช่องคลอดและช่วยป้องกันการติดเชื้อภายในช่องคลอด

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“ตกขาว” ของผู้หญิงแบบไหน ผิดปกติ?

ตกขาว คือ สารคัดหลั่งมีลักษณะมูก ออกมาจากช่องคลอดของผู้หญิงโดยไม่ใช่เลือดประจำเดือน โดยมูกนี้ถูกขับออกจากปากมดลูกมายังช่องคลอด เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้บริเวณช่องคลอดและช่วยป้องกันการติดเชื้อภายในช่องคลอด

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคภูมิแพ้ โรคใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม

โรคภูมิแพ้สามารถพบได้ทุกเพศ และเกือบจะทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยทำงาน ข้อมูลปัจจุบันพบว่าประชากรไทยจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ โรคใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม

โรคภูมิแพ้สามารถพบได้ทุกเพศ และเกือบจะทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยทำงาน ข้อมูลปัจจุบันพบว่าประชากรไทยจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้

อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม