Header

อาการแบบไหนถึงเข้าเกณฑ์ต้องผ่าตัดหัวเข่า?

อาการปวดเข่าอาจเป็นผลมาจากภาวะเข่าเสื่อม ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย หรืออาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ หลายคนอาจเกิดอาการปวดเข่าจากปัจจัยภายใน อย่างเช่น ปัญหาด้านสรีระร่างกายต่าง ๆ ได้แก่ การเรียงตัวของเข่า ขาทั้งสองข้างยาวไม่เท่ากัน หรือการมีน้ำหนักมาก หรือบางรายอาจปวดเข่าหลังจากการทำงานหนัก หรือการเล่นกีฬา ซึ่งปัจจัยทั้งภายในและภายนอกเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อมที่ต้องได้รับการรักษา

โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถรักษาได้อย่างไร?

ในเบื้องต้น โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถรักษาฟื้นฟูได้โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต รับประทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อควบคุมน้ำหนักกรณีมีน้ำหนักตัวมาก เพื่อลดแรงกดบนข้อเข่า ออกกำลังกายชนิดที่ส่งแรงกระแทกข้อเข่าน้อยเป็นประจำ หรือทำกายภาพบำบัดโดยการฝึกกล้ามเนื้อขาเพื่อเสริมให้ข้อเข่าแข็งแรงขึ้น อาจมีการใช้ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีการฉีดยาหล่อเลี้ยงข้อเข่าในกรณีมีอาการปวดไม่มากจนรบกวนการใช้ชีวิต และกระดูกอ่อนยังไม่ถูกทำลายขั้นรุนแรง

เมื่อไร ถึงควรเข้ารับการผ่าตัดหัวเข่า?

อาการแบบไหน ถึงเป็นสัญญาณว่าเราควรเข้ารับการผ่าตัด? อาจจะเป็นอีกคำถามที่หลายคนอาจกำลังตั้งข้อสงสัย การทำหัตถการเพื่อรักษาอาการเกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อม หรืออาการอื่น ๆ เกี่ยวกับหัวเข่า จะทำเมื่อ ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวเข่าได้และจำเป็นต้องฝืน และได้รับการพิจารณาจากแพทย์ผู้วินิจฉัยอาการ และในกรณีนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดเพื่อรักษามีหลายวิธี เช่น

  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
    • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้านเดียว
    • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกเข่าโดยวิธีส่องกล้อง

ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาอาการรายบุคคลและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดกับผู้ป่วยแต่ละราย

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รู้จักการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (Esophago gastroduodenoscopy)

การส่องกล้องทางเดินอาหาร เป็นวิธิการตรวจวินิจฉัยรูปแบบนึง โดยแพทย์จะใช้กล้องที่ออกมาเฉพาะ โดยจะผ่านกล้องเข้าไปสู่บริเวณที่เราต้องการจะทำการตรวจ

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รู้จักการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (Esophago gastroduodenoscopy)

การส่องกล้องทางเดินอาหาร เป็นวิธิการตรวจวินิจฉัยรูปแบบนึง โดยแพทย์จะใช้กล้องที่ออกมาเฉพาะ โดยจะผ่านกล้องเข้าไปสู่บริเวณที่เราต้องการจะทำการตรวจ

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจสุขภาพตับ ไม่ต้องกลัวเจ็บ ด้วยไฟโบรสแกน (Fibroscan)

ภาวะตับอักเสบเรื้อรังเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะไขมันพอกตับ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน การใช้ยาเกินความจำเป็น

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจสุขภาพตับ ไม่ต้องกลัวเจ็บ ด้วยไฟโบรสแกน (Fibroscan)

ภาวะตับอักเสบเรื้อรังเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะไขมันพอกตับ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน การใช้ยาเกินความจำเป็น

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม