Header

“ตากุ้งยิง” โรคตาที่พบบ่อยที่สุดในช่วง โควิด-19

อาการคัน เจ็บ มีตุ่มนูนเล็ก ๆ คล้ายสิวในบริเวณรอบดวงตาสร้างความเจ็บปวดและส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของใครหลาย ๆ คนนั้นคือโรค “ตากุ้งยิง” ยิ่งในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ต้องใส่หน้ากากอนามัยแทบจะตลอดเวลาเมื่อต้องออกนอกบ้านทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคตากุ้งยิงมากขึ้น

โรคตากุ้งยิงคืออะไร ?

ตากุ้งยิง (Hordeolum) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยมักเกิดบริเวณเปลือกตาด้านบนและเปลือกตาด้านล่าง ทำให้มีอาการเจ็บปวดตรงที่เป็นตุ่มหรือหนอง โดยแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุซึ่งพบได้บ่อย คือ สแตปไฟโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ทำให้เกิดเป็นตุ่มแดงอักเสบขึ้นบริเวณเปลือกตา พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
 

ประเภทของตากุ้งยิง

โรคตากุ้งยิงมี 2 ชนิด คือ

ตากุ้งยิงแบบไม่ติดเชื้อ (Chalazion)

ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ (Non-infectious) แต่เกิดจากการมีฝุ่นหรือสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันในรูขุมขนบริเวณเปลือกตาหรือขนตา สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเปลือกตาบนและล่าง ทำให้ไขมันที่ถูกผลิตขึ้นมาจากต่อมไขมันที่เปลือกตา (Meibomian Gland) ไม่สามารถระบายออกมาได้ บริเวณที่เกิดตากุ้งยิงชนิดไม่ติดเชื้อจะเกิดอาการบวมแดงและมักจะไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ

ตากุ้งยิงแบบติดเชื้อ (Hordeolum)

เป็นตากุ้งยิงที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus บริเวณต่อมไขมันที่อยู่ในรูขุมขนบนเปลือกตาหรือรูขนตา ทำให้เปลือกตาบวมแดงและรู้สึกเจ็บ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

  • ตากุ้งยิงชนิดด้านนอก (External Hordeolum) จะมีตุ่มหนองบริเวณเปลือกตาหรือตรงแนวขนตาสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
  • ตากุ้งยิงชนิดด้านใน (Internal Hordeolum) จะมีตุ่มหนองบริเวณด้านในที่สัมผัสกับดวงตา มองเห็นได้ยากกว่า
     
ตากุ้งยิงเกิดจากอะไร ?

ปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดตากุ้งยิง ได้แก่

  • สัมผัสดวงตาด้วยมือที่ไม่สะอาด
  • การใส่คอนแทคเลนส์
  • โรคเปลือกตาอักเสบ
  • ใช้เครื่องสำอางที่ไม่สะอาดหรือล้างเครื่องสำอางไม่หมด
  • เคยมีประวัติเป็นตากุ้งยิงมาก่อน
  • ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง เช่น เป็นโรคเบาหวาน
     
อาการตากุ้งยิง

อาการของผู้ที่เป็นตากุ้งยิงที่เห็นได้ชัดคือ อาการบวมแดงของเปลืองตามีลักษณะคล้ายเป็นสิว บางรายมีไข้ร่วมด้วย แต่นอกจากนี้ผู้ที่เป็นตากุ้งยิ่งยังมีอาการอื่น ๆ ดังนี้

  • มีตุ่มนูนขึ้นที่เปลือกตา
  • เปลือกตาบวม แดง
  • มีอาการเจ็บบริเวณที่บวม
  • คันตา
  • ตาพร่ามัว
  • ตาไวต่อแสง
  • ไม่สบายตาเวลากระพริบ
  • น้ำตาไหล
     
ทำไมคนเป็นตากุ้งยิงสูงขึ้นมากในช่วงการระบาดของโควิด ?

จากรายงานพบว่าผู้ป่วยเป็นตากุ้งยิงเพิ่มขึ้นในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 สันนิษฐานเบื้องตันว่า เกิดจากการใส่หน้ากากอนามัยไม่พอดี หน้ากากเลื่อนขึ้นมาสัมผัสขอบตาบ่อยครั้งจึงพาเชื้อบริเวณผิวหนังขึ้นมาติดบริเวณต่อมไขมันเปลือกตามากขึ้น

แนะนำให้ซีลขอบบนหน้ากากให้รัดกุมและใส่หน้ากากอนามัยที่สะอาดจะช่วยลดปัจจัยการเกิดตากุ้งยิงได้
 

อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์

ถึงแม้ตากุ้งยิงที่รู้สึกเจ็บหรือบวมจากการอักเสบจะสามารถหายไปเองได้  แต่ถ้าหากมีอาการติดเชื้อมีหนองเซาะเข้าไปในผิวหนังก็อาจทำให้เกิดผิวหนังอักเสบติดเชื้อรอบ ๆ บริเวณกระบอกตาได้ หรือหากมีอาการตาบวมจนส่งผลต่อชีวิตประจำวันผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

 

แม้ว่าตากุ้งยิงเป็นโรคไม่ร้ายแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดแต่ก็อาจรบกวนชีวิตประจำวัน ทำให้เสียบุคลิกภาพ และสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงถาวรบริเวณขอบเปลือกตา ส่งผลให้ตาแห้ง ขนตาเกขูดผิวกระจกตา ผิวกระจกตาอักเสบหรือเป็นแผลที่กระจกตาและการมองเห็นแย่ลงได้ หากสงสัยว่าเป็นตากุ้งยิง ควรพบจักษุแพทย์เพื่อรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือการเจาะระบายหนองที่อยู่บริเวณเปลือกตาออกเพื่อลดอาการอักเสบและจะทำให้หายเร็วขึ้น



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก

การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กได้เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ท่ามกลางการระบาดของเชื้อโอมิครอน และการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสูงขึ้น ทั้งยังสร้างความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง

blank บทความโดย : คลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก

การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กได้เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ท่ามกลางการระบาดของเชื้อโอมิครอน และการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสูงขึ้น ทั้งยังสร้างความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง

blank บทความโดย : คลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาการต้อกระจก การรักษา วิธีป้องกัน และข้อควรระวังหลังผ่าตัด

อาการต้อกระจก คือ ภาวะเลนส์ตาขุ่น ไม่ใช่กระจกตา โดยภาวะนี้จะทำให้มีอาการหลักคือ มองเห็นภาพไม่ชัด ซึ่งลักษณะการมองเห็นภาพไม่ชัดนั้นมีหลายแบบ แต่ส่วนมากแล้วอาการจะค่อยเป็นค่อยไป มีหลายวิธีการรักษาและข้อควรระวังหลังผ่าตัดต้อกระจก

พญ.พรรักษ์ ศรีพล พญ.พรรักษ์ ศรีพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาการต้อกระจก การรักษา วิธีป้องกัน และข้อควรระวังหลังผ่าตัด

อาการต้อกระจก คือ ภาวะเลนส์ตาขุ่น ไม่ใช่กระจกตา โดยภาวะนี้จะทำให้มีอาการหลักคือ มองเห็นภาพไม่ชัด ซึ่งลักษณะการมองเห็นภาพไม่ชัดนั้นมีหลายแบบ แต่ส่วนมากแล้วอาการจะค่อยเป็นค่อยไป มีหลายวิธีการรักษาและข้อควรระวังหลังผ่าตัดต้อกระจก

พญ.พรรักษ์ ศรีพล พญ.พรรักษ์ ศรีพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
กินน้ำแก้วเดียวกันอาจเสี่ยงโรค

การกินน้ำแก้วเดียวกันอาจจะนำโรคติดต่อทางน้ำลายมาให้ได้หลายโรค และบางโรคก็เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
กินน้ำแก้วเดียวกันอาจเสี่ยงโรค

การกินน้ำแก้วเดียวกันอาจจะนำโรคติดต่อทางน้ำลายมาให้ได้หลายโรค และบางโรคก็เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม