Header

กระดูกพรุนคืออะไร ทำไมผู้สูงอายุควรระวัง

07 กุมภาพันธ์ 2567

นพ.รณศักดิ์ มงคลรังสฤษฏ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุววรณภูมิ นพ.รณศักดิ์ มงคลรังสฤษฏ์

กระดูกพรุน โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การล้มในผู้ป่วยสูงอายุเป็นเรื่องที่พึงระวัง ยิ่งอายุมากขึ้นก็มีโอกาสที่กระดูกจะหักได้มากขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสเกิด “ภาวะกระดูกพรุน” ได้มากกว่าคนวัยอื่นๆ ควรเข้ารับการตรวจมวลกระดูกเพื่อให้ทราบว่า มวลกระดูกของเราอยู่ในระดับไหน จะได้ทำการรักษาและป้องกันได้อย่างทันท่วงที

 

โรคกระดูกพรุนคืออะไร

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือโรคที่โครงสร้างความแข็งแรงของกระดูกลดลง ทำให้เกิดการหักได้ง่าย หากผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุด้วยการล้ม จะส่งผลทำให้กระดูกหักได้

ตำแหน่งที่กระดูกมักจะหักหากเกิดการล้ม

  1. กระดูกข้อมือ หากล้มแล้วเอามือยันพื้น 
  2. กระดูกสันหลัง หากล้มแล้วก้นกระแทกพื้น
  3. กระดูกหัวไหล่ หากล้มแล้วเอาไหล่ลงพื้น
  4. กระดูกสะโพก หากล้มแล้วสะโพกกระแทกพื้น

บริเวณที่ควรระวัง: กระดูกสันหลังและกระดูกสะโพก เพราะจะมีโอกาสทุพพลภาพได้สูง และมีอาการปวดมากกว่า ทำให้ไม่อยากขยับร่างกาย ติดเตียงและทรุดลงตามลำดับ ซึ่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

วิธีรักษาโรคกระดูกพรุน

วิธีรักษาโรคกระดูกพรุน ก็คือการเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงขึ้น ทำได้โดยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอต่อวัน แต่ละช่วงวัยปริมาณแคลเซียมที่ต้องการจะแตกต่างกันออกไป แต่โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่

  • นม
  • โยเกิร์ต
  • ชีส
  • เต้าหู้ขาว 
  • ผักใบเขียว
  • นมถั่วเหลือง
  • ปลา กุ้ง ตัวเล็ก
  • วิตามิน D

 

ผู้สูงอายุจะป้องกันการล้มอย่างไร

  1. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ว่ามีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง เช่น โรคประจำตัวที่เกี่ยวกับการทรงตัว ตาฝ้าฟางมองไม่เห็น น้ำในหูไม่เท่ากัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกระดูกข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น
  2. ปัจจัยสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะห้องนอนและห้องน้ำ สาเหตุมาจาก แสงสว่างที่ไม่เพียงพอ พื้นห้องน้ำลื่น และสิ่งกีดขวางทำให้เดินไม่สะดวก
  3. ออกกำลังกาย เพิ่มความแข็งแรงและสมดุลของกล้ามเนื้อ
  4. ยาที่ส่งผลต่อการทรงตัว เช่น ยาแก้เวียนหัวอาจทำให้มันหัวได้


 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์กระดูกและข้อ

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4110

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.เสฏฐา เวสารัชชพงศ์

ศัลยแพทย์กระดูก

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.ณัฐพล ศิริโภคารัตนา

ศัลยกรรมกระดูก

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ศัลยแพทย์กระดูก

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

07 มีนาคม 2567

กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท เกิดจากอะไร

ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท เกิดจากการที่กระดูกสันหลังไปกดทับเส้นประสาทสันหลัง ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกที่ตั้งแต่คอหรือกระดูกสันหลังส่วนคอ ไปจนถึงหลังส่วนล่างหรือกระดูกสันหลังส่วนเอว

นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

07 มีนาคม 2567

กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท เกิดจากอะไร

ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท เกิดจากการที่กระดูกสันหลังไปกดทับเส้นประสาทสันหลัง ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกที่ตั้งแต่คอหรือกระดูกสันหลังส่วนคอ ไปจนถึงหลังส่วนล่างหรือกระดูกสันหลังส่วนเอว

นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปวดหลังร้าวลงขา สัญญาณหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หลาย ๆ คนอาจจะเคยหรือกำลังประสบกับปัญหาการปวดหลัง ซึ่งฟังดูแล้วน่าจะเป็นปัญหาทางสุขภาพทั่วไปที่ไม่ได้รุนแรงอะไร สามารถรักษาได้ง่าย ๆ ด้วยการออกกำลัง ยืดเส้นยืนสาย หรือทานยาเพื่อระงับอาการปวด

ปวดหลังร้าวลงขา สัญญาณหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หลาย ๆ คนอาจจะเคยหรือกำลังประสบกับปัญหาการปวดหลัง ซึ่งฟังดูแล้วน่าจะเป็นปัญหาทางสุขภาพทั่วไปที่ไม่ได้รุนแรงอะไร สามารถรักษาได้ง่าย ๆ ด้วยการออกกำลัง ยืดเส้นยืนสาย หรือทานยาเพื่อระงับอาการปวด

โรคกระดูกพรุน การดูแล และการป้องกัน

โรคกระดูกพรุน คือโรคที่ทำให้ความแข็งแรงของมวลกระดูกลดลง จนเกิดความเสี่ยงที่จะทำให้กระดูกหัก เพราะโดยปกติแล้วร่างกายคนเราจะสะสมมวลกระดูกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 30-35 ปี

นพ.กุลพัชร จุลสำลี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคกระดูกพรุน การดูแล และการป้องกัน

โรคกระดูกพรุน คือโรคที่ทำให้ความแข็งแรงของมวลกระดูกลดลง จนเกิดความเสี่ยงที่จะทำให้กระดูกหัก เพราะโดยปกติแล้วร่างกายคนเราจะสะสมมวลกระดูกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 30-35 ปี

นพ.กุลพัชร จุลสำลี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม