Header

โรคกระดูกพรุน การดูแล และการป้องกัน

นพ.กุลพัชร จุลสำลี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี

โรคกระดูกพรุน-โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

วิธีป้องกันตัวจากโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน คือโรคที่ทำให้ความแข็งแรงของมวลกระดูกลดลง จนเกิดความเสี่ยงที่จะทำให้กระดูกหัก เพราะโดยปกติแล้วร่างกายคนเราจะสะสมมวลกระดูกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 30-35 ปี จากนั้นมวลกระดูกจะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน มวล

กระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว และเมื่ออายุมากกว่า 65 ปี มวลกระดูกจะลดต่ำลงจนถึงจุดเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก

 

วิธีการป้องกับโรคกระดูกพรุน

1. ดื่มนม และกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง โดยสามารถทำได้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงอายุ 30ปี เพื่อสะสมแคลเซียมในกระดูก ทั้งผักใบเขียวต่าง ๆ เช่น ผักคะน้า บรอกโคลี่ ปลาตัวเล็ก ๆ พร้อมกระดูก กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง งาดำ กะปิ เป็นต้น

2. กรณีที่ได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ สามารถกินแคลเซียม และวิตามินดีเสริม เพื่อให้กระดูกคงสภาพที่ดี และลดความเสี่ยงต่อกระดูกหัก

3. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง เพื่อช่วยลดการสลายของแคลเซียมจากกระดูก

4. หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า และสูบบุหรี่

5. ไม่นั่ง ๆ นอน ๆ เป็นเวลานาน โดยไม่ขยับเขยื้อนร่างกาย

6. ระมัดระวังตัวเอง และไม่วางของเกะกะในบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการสะดุด หกล้ม

 

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า แต่ก็สามารถตรวจได้ด้วยเครื่องตรวจมวลกระดูก โดยเครื่องจะใช้รังสีปริมาณเล็กน้อย เพื่อสแกนจุดสำคัญในร่างกาย 2 จุด คือ บริเวณกระดูกสันหลัง และกระดูกสะโพก เนื่องจากบริเวณนี้ หากพบภาวะกระดูกพรุน และหักจะเกิดอันตราย

ส่งผลกับคุณภาพชีวิตมาก

 

ส่วนการรักษานั้นจะรักษาด้วยการใช้ยา โดยแบ่งยาออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ

1. ยาที่ยับยั้งเซลล์สลายกระดูกให้ทำงานช้าลง

2.ยาที่กระตุ้นเซลล์สร้างกระดูกให้ทำงานเร็วขึ้น

 

แม้โรคกระดูกพรุน จะไม่ทำให้เสียชีวิตในทันที แต่หากกระดูกหักก็จะทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพได้ หากเกิดกับผู้สูงอายุก็อาจทำให้มีโอกาสเป็นผู้ป่วยติดเตียงสูง จนเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา และเป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่การเสียชีวิตได้เช่นกัน
 

บทความโดย : นพ.กุลพัชร จุลสำลี แผนกกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์กระดูกและข้อ

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4110

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์กระดูกและข้อ

ผศ.นพ.กลวัชร ทรัพย์สวนแตง

ศัลยแพทย์กระดูก

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.ธวัช ประสาทฤทธา

ศัลยแพทย์กระดูก

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.สุพจน์ กังวาฬ

ออร์โธปิดิกส์

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

07 มีนาคม 2567

กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท เกิดจากอะไร

ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท เกิดจากการที่กระดูกสันหลังไปกดทับเส้นประสาทสันหลัง ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกที่ตั้งแต่คอหรือกระดูกสันหลังส่วนคอ ไปจนถึงหลังส่วนล่างหรือกระดูกสันหลังส่วนเอว

นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

07 มีนาคม 2567

กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท เกิดจากอะไร

ภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท เกิดจากการที่กระดูกสันหลังไปกดทับเส้นประสาทสันหลัง ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกที่ตั้งแต่คอหรือกระดูกสันหลังส่วนคอ ไปจนถึงหลังส่วนล่างหรือกระดูกสันหลังส่วนเอว

นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัยเก๋า……..ต้องไม่เกาต์

โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนแต่จะพบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุซึ่งเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดบริเวณกระดูกและข้อส่งผลให้การเดินและการใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปได้อย่างยากลำบาก

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัยเก๋า……..ต้องไม่เกาต์

โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนแต่จะพบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุซึ่งเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดบริเวณกระดูกและข้อส่งผลให้การเดินและการใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปได้อย่างยากลำบาก

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคข้อเข่าเสื่อม ภัยจากโรคกระดูกที่ไม่ควรมองข้าม

ข้อเข่าเสื่อม ภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อ (articular cartilage) เกิดการเสื่อมสภาพและสึกหรอ โดยในระยะแรกนั้นกระดูกอ่อนผิวข้อจะมีการสูญเสียคุณสมบัติทางชีวโมเลกุล มีความหนาของชั้นผิวข้อที่ลดลง

นพ.กุลพัชร จุลสำลี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคข้อเข่าเสื่อม ภัยจากโรคกระดูกที่ไม่ควรมองข้าม

ข้อเข่าเสื่อม ภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อ (articular cartilage) เกิดการเสื่อมสภาพและสึกหรอ โดยในระยะแรกนั้นกระดูกอ่อนผิวข้อจะมีการสูญเสียคุณสมบัติทางชีวโมเลกุล มีความหนาของชั้นผิวข้อที่ลดลง

นพ.กุลพัชร จุลสำลี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม