Header

#ต้องการmRNAvaccine รู้จักกับ ‘วัคซีน mRNA’ วัคซีนที่คนไทยเรียกร้อง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการกลายพันธุ์ของไวรัส ทำให้เกิดกระแสความต้องการวัคซีนชนิด mRNA จนมีแฮชแท็กมาแรงในโลกออนไลน์ อย่าง #ต้องการmRNAvaccine เกิดขึ้นมา วันนี้เรามาทำความรู้จักกับวัคซีน mRNA ที่ใคร ๆ ต่างก็พูดถึงกันดีกว่าว่ามันคืออะไร ดีอย่างไร ทำไมคนไทยถึงต้องการวัคซีนชนิดนี้กัน โดยพวกเรา เครือโรงพยาบาลพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ได้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับวัคซีนชนิดดังกล่าวมาแบ่งปันให้ทุกคนทราบกัน ดังนี้
 

mRNA คืออะไร?

mRNA หรือ ‘เอ็ม อาร์ เอ็น เอ’ ย่อมาจาก ‘messenger Ribonucleic Acid’ เป็นสารพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่อยู่ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะทำหน้าที่ออกคำสั่งให้เซลล์ผลิตโปรตีนขึ้นตามรหัสคำสั่งนั้นๆ และโดยทั่วไปร่างกายมนุษย์จะมีผลิต mRNA อยู่แล้ว
 

ด้วยหลักการ mRNA จึงเกิด ‘วัคซีน mRNA’

จากหลักการทำงานของ mRNA ข้างต้น ทำให้ทางการแพทย์ได้คิดค้นและผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ขึ้นมานั่นเอง ถือเป็นเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนรูปแบบใหม่ โดยการนำเอาชิ้นส่วนสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนส่วนที่เป็นปุ่มหนาม (Spike) ของเชื้อไวรัส มาสังเคราะห์เป็นรหัสคำสั่งที่เรียกว่า S-spike mRNA เมื่อฉีดวัคซีนชนิด mRNA เข้าสู่ร่างกาย ก็จะเป็นเสมือนการจำลองว่าไวรัสเข้ามาในร่างกายของเราโดยที่ไม่มีการติดเชื้อ โดยเซลล์ในร่างกายก็จะมีการสร้างปุ่มหนามของไวรัสเลียนแบบขึ้นมา ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายถูกกระตุ้นให้เตรียมพร้อมที่จะต่อสู้กับเชื้อโควิด-19 อยู่เสมอ
 

ข้อดีของวัคซีน mRNA

  • ผลิตง่าย รวดเร็ว ขั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยาก
  • ราคาไม่สูงมากนัก
  • สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 สูงถึง 95%
  • สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ได้สูงสุด เมื่อเทียบกับวัคซีนชนิดอื่นๆ

 

 

หมายเหตุ : วัคซีนทั้ง 3 ยี่ห้อยังมีประสิทธิภาพป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและลดโอกาสเสียชีวิตได้ดี

  • สารพันธุกรรม mRNA เหล่านี้จะถูกขจัดออกจากร่างกายภายในระยะเวลาไม่นาน จึงไม่สะสมหรือฝังตัวอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ในร่างกาย
  • มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงต่ำ ประมาณ 3-5 : 1,000,000 โดสเท่านั้น
  • สามารถปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพของวัคซีนได้อย่างทันท่วงทีสำหรับเชื้อไวรัสกลายพันธุ์
     

ข้อจำกัดของวัคซีน mRNA

  • ยังไม่ทราบว่าภูมิคุ้มกันจะอยู่ในร่างกายเรานานเพียงใด เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการศึกษา
  • ยังไม่มีวัคซีนตัวไหนที่ผลิตโดยใช้เทคโนโลยีนี้มาก่อน ทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในระยะยาวและประสบการณ์การใช้อาจมีไม่มากนัก
  • ต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำมาก เช่น -70 หรือ -20 องศาเซลเซียส เพื่อให้คงประสิทธิภาพไว้ได้

 

อ้างอิง:

กระทรวงสาธารณสุข

ศูนย์ข้อมูล COVID-19

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8

ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม

Sarakadee Lite

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดเข่า จากการ ออกกำลังกาย เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วออกกำลังกายท่าไหนได้บ้าง?

ในบางครั้ง การออกกำลังกายก็มีส่วนให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บ เช่น ออกกำลังกายแต่ปวดเข่า และในขณะเดียวกันก็ช่วยส่งสัญญาณเตือนเมื่อร่างกายของเรากำลังมีภาวะผิดปกติได้เช่นกัน

ปวดเข่า จากการ ออกกำลังกาย เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วออกกำลังกายท่าไหนได้บ้าง?

ในบางครั้ง การออกกำลังกายก็มีส่วนให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บ เช่น ออกกำลังกายแต่ปวดเข่า และในขณะเดียวกันก็ช่วยส่งสัญญาณเตือนเมื่อร่างกายของเรากำลังมีภาวะผิดปกติได้เช่นกัน

โรคภูมิแพ้ โรคใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม

โรคภูมิแพ้สามารถพบได้ทุกเพศ และเกือบจะทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยทำงาน ข้อมูลปัจจุบันพบว่าประชากรไทยจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ โรคใกล้ตัวที่หลายคนมองข้าม

โรคภูมิแพ้สามารถพบได้ทุกเพศ และเกือบจะทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยทำงาน ข้อมูลปัจจุบันพบว่าประชากรไทยจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและทุพพลภาพ จากสถิติในประเทศไทยในรายงานปี 2562 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองกว่า 34,728 คน

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและทุพพลภาพ จากสถิติในประเทศไทยในรายงานปี 2562 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองกว่า 34,728 คน