Header

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

blank แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

อาการปวดเป็นครั้ง ๆ ที่บั้นเอวหรือหลัง ปวด ๆ หาย ๆ จนรบกวนการดำเนินชีวิตในประจำวัน อาจกำลังส่งสัญญาณเตือนว่าคุณเป็นโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะได้หรือไม่ เรามาทำความเข้าใจและหาคำตอบกันค่ะ

 

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Stone)

นิ่ว คือก้อนของสาร หรือแร่ธาตุที่ตกตะกอนจากปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากการที่มีปัสสาวะตกค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ โดยอาการจะรุนแรงแตกต่างกันออกไป เช่น ปวดท้อง หรือปัสสาวะมีเลือดปน อย่างไรก็ตาม ก้อนนิ่วที่มีขนาดเล็กจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะได้เอง และไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่บางรายก็จำเป็นต้องรักษาด้วยการรับประทานยา หรือผ่าตัด เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้ติดเชื้อ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

 

 

สาเหตุของการเกิดนิ่ว

  • กรรมพันธุ์  ผู้ป่วยที่มีพ่อแม่เป็นโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคนิ่วเช่นเดียวกันได้

  • อายุและเพศ นิ่วในไต พบได้ในชายมากกว่าหญิง ถึง 2 ต่อ 1 พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก

  • ความผิดปกติในการทำงานของต่อมพาราทัยรอยด์ ซึ่งหลั่ง hormone ที่ควบคุมสาร calcium ออกมามากกว่าปกติ

  • มีการตีบแคบของระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้น้ำปัสสาวะคั่งค้าง การตีบแคบนี้อาจมีมาแต่กำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง

  • ความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะ เกิดจากมีสารต่างๆ ถูกขับออกมาในน้ำปัสสาวะมากกว่าปกติ หรือเกิดจากการที่ผู้ป่วยดื่มน้ำน้อยกว่าปกติ หรือสูญเสียน้ำจากร่างกายทางด้านอื่นมาก เมื่อปัสสาวะเข้มข้นสูง โอกาสที่สารละลายในปัสสาวะจะตกผลึก ก็มีมากขึ้น

  • การอักเสบการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

  • ยา บางอย่าง ทำให้เกิดนิ่วได้ ยาลดกรดที่กินอยู่เป็นเวลานานๆทำให้ปัสสาวะมีฤทธิ์เป็นด่าง จะเกิดนิ่วพวกphosphate ได้ง่าย

  • อาหารที่รับประทาน เช่น ชอบทานอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ ยอดผัก สาหร่าย จะทำให้เกิดกรดยูริคได้ และการกินอาหารจำพวกผักที่มีสารออกซาเลต สูง เช่น ผักโขม หน่อไม้ ชะพลู เป็นต้น

 

อาการของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

ผู้ป่วยมักไม่ค่อยมีอาการแสดง แพทย์มักตรวจพบได้โดยบังเอิญจากการเอกซเรย์ช่องท้องจากโรคอื่น ๆ เช่น ปวดท้อง หรือปวดหลัง ส่วนในรายที่แสดงอาการ จะมีอาการที่พบได้บ่อยคือ

  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง อาจร่วมกับปวดหลังเรื้อรัง

  • การปัสสาวะผิดปกติ หรือมีอาการขัดเบา (เนื่องจากก้อนนิ่วลงไปอุดกั้นท่อปัสสาวะ) ทำให้ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปัสสาวะลำบาก ปวดเบ่งคล้ายว่ายังถ่ายปัสสาวะไม่สุด ปวดแสบปวดร้อน ปัสสาวะสะดุดและออกเป็นหยด ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะไม่ออก กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

  • ผู้ป่วยบางรายอาจปัสสาวะออกเป็นเลือดหรือมีสีน้ำตาลล้างเนื้อ หรืออาจถ่ายปัสสาวะเป็นก้อนนิ่ว หรือเม็ดกรวดทรายเล็ก ๆ หรือปัสสาวะขุ่นขาวเหมือนมีผงแป้งปนอยู่

  • หากก้อนนิ่วตกลงไปอุดกั้นท่อปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยมาก ปัสสาวะไม่ออก และมีปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ

  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย ทำให้มีอาการปวดท้องน้อย ปวดหลัง ปัสสาวะแสบปวดร้อน โดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด มีไข้ ปวดเนื้อตัว และอาจมีอาการปวดข้อร่วมด้วย

 

การรักษาโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

การรักษาโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะมีด้วยกันหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาด และตำแหน่งของนิ่ว โดยมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • การรักษาด้วยยา ส่วนใหญ่จะได้ผลกับนิ่วกรดยูริก เพราะเป็นนิ่วที่มีขนาดเล็ก โดยใช้ยาเพื่อเข้าไปทำให้นิ่วละลาย

  • การสลายนิ่ว ใช้รักษานิ่วที่มีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร และเป็นนิ่วในไตหรือท่อไต การรักษาจึงจะได้ผลดี ทำโดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงที่มีความจำเพาะ ทำให้เกิดแรงกระแทกที่ก้อนนิ่ว ทำให้เกิดรอยร้าวจนแตกเป็นผงในที่สุด ผงนิ่วจะหลุดไหลออกมาพร้อมน้ำปัสสาวะ

  • การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง เข้าไปกรอนิ่ว ขบ เพื่อให้ก้อนนิ่วแตก เหมาะสำหรับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และนิ่วในไตที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตร

  • การผ่าตัดโดยการเจาะหน้าท้อง ใช้กับการรักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตร



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกศัลยกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4110

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดหลังร้าวลงขา สัญญาณหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หลาย ๆ คนอาจจะเคยหรือกำลังประสบกับปัญหาการปวดหลัง ซึ่งฟังดูแล้วน่าจะเป็นปัญหาทางสุขภาพทั่วไปที่ไม่ได้รุนแรงอะไร สามารถรักษาได้ง่าย ๆ ด้วยการออกกำลัง ยืดเส้นยืนสาย หรือทานยาเพื่อระงับอาการปวด

ปวดหลังร้าวลงขา สัญญาณหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หลาย ๆ คนอาจจะเคยหรือกำลังประสบกับปัญหาการปวดหลัง ซึ่งฟังดูแล้วน่าจะเป็นปัญหาทางสุขภาพทั่วไปที่ไม่ได้รุนแรงอะไร สามารถรักษาได้ง่าย ๆ ด้วยการออกกำลัง ยืดเส้นยืนสาย หรือทานยาเพื่อระงับอาการปวด

บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด

บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด อุบัติเหตุการทำงาน การเล่นกีฬา หรือการใช้ชีวิตประจำวัน อาจส่งผลให้มีอาการปวด เมื่อย ตึง ชา หรือปวดร้าวที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

blank บทความโดย : แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด

บุคคลที่สามารถเข้ารับการบริการทางกายภาพบำบัด อุบัติเหตุการทำงาน การเล่นกีฬา หรือการใช้ชีวิตประจำวัน อาจส่งผลให้มีอาการปวด เมื่อย ตึง ชา หรือปวดร้าวที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

blank บทความโดย : แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปวดหลังเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย

อาการปวดหลัง ในปัจจุบันพบมากขึ้นในคนวัยทำงาน โดยอาจเป็นมากจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือการนอนหลับได้

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปวดหลังเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย

อาการปวดหลัง ในปัจจุบันพบมากขึ้นในคนวัยทำงาน โดยอาจเป็นมากจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือการนอนหลับได้

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม