Header

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ผู้หญิงควรระวัง

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นความเสี่ยงจากการทำกิจกรรมทางเพศ ผู้หญิงหลายคนที่ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจไม่มีอาการแสดงให้เห็น ทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจนนำไปสู่อาการที่รุนแรงขึ้น ซึ่งบางโรคร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต บางโรครักษาไม่หาย  ผู้หญิงน้อยคนนักที่จะตระหนักถึงความสำคัญของการมีเพศสำคัญอย่างปลอดภัย ทั้งที่จริงแล้ว ทุกคนควรเรียนรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง เพื่อรู้เท่าทันอันตรายและรักษาได้ทันท่วงที

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted diseases: STDs) คือกลุ่มโรคที่ติดต่อจากการติดเชื้อจากคนที่เป็นโรค หรือคนที่ติดเชื้อ ซึ่งส่วนใหญ่จะติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทางปาก ทางทวารหนัก หรือบางกรณีมีการถ่ายทอดสู่ทารกขณะอยู่ในครรภ์ เป็นต้น ผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ หรือมีอาการน้อยมากจึงมีโอกาสที่จะไม่รู้ว่าตนเองติดเชื้อ และเสี่ยงในการแพร่เชื้อให้กับคู่นอนต่อไป

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยในผู้หญิง

  • โรคติดเชื้อเอชพีวี (Human Papillomavirus: HPV) พบได้มากในผู้หญิง และเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อเอชพีวีจะไม่มีอาการหรือบาดแผลใด ๆ ให้เห็น  ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อ และอาจแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือการทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ ได้ง่าย ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นกังวลว่าตนเองอาจติดเชื้อไวรัสเอชพีวีควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ ส่วนผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 9-26 ปี และไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน สามารถป้องกันโรคนี้ได้ด้วยการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก
  • หนองในแท้ เป็นอีกโรคที่เกิดจากการทำกิจกรรมทางเพศกับผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของโรค หากป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นอยู่ก่อนแล้วจะยิ่งเสี่ยงติดโรคหนองในแท้มากขึ้น นอกจากนี้ อาจติดเชื้อที่บริเวณอื่น ๆ นอกเหนือจากอวัยวะเพศได้ เช่น ตา คอ ทวารหนัก เป็นต้น หลายคนอาจสับสนระหว่างโรคนี้และกับโรคหนองในเทียม เนื่องจากมีอาการคล้ายคลึงกัน เช่น มีหนองไหลออกมาจากอวัยวะเพศ เจ็บปวดหรือแสบร้อนเวลาปัสสาวะ แต่ผู้ป่วยหญิงหลายคนก็ไม่มีอาการแสดงให้เห็นหรือมีอาการน้อยมาก ทั้งนี้ โรคหนองในแท้รักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ และควรพาคู่นอนเข้ารับการรักษาพร้อมกัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
  • โรคคลามายเดีย หรือ โรคหนองในเทียม เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบบ่อยในประเทศทางตะวันตก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ คลามายเดีย แทรโคมาทิส (Clamydia trachomatis) ซึ่งการติดเชื้อทำให้เซลล์เยื่อบุผิวผิดปกติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับเซลล์เยื่อบุต่าง ๆ เช่น องคชาติเพศชาย ช่องคลอด ปากมดลูก ท่อปัสสาวะ เป็นต้น เชื้อคลามายเดียแทรโคมาทิสนั้น ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อาจไม่แสดงอาการ แต่เชื้อเข้าสู่ร่างกายและพร้อมแพร่กระจายต่อ ทำให้โรคนี้มีอัตราการติดเชื้อที่สูงได้ ซึ่งเชื้อส่วนใหญ่จะอยู่ในน้ำอสุจิของผู้ชาย และอยู่ในน้ำในช่องคลอดของผู้หญิง
  • เริมที่อวัยวะเพศ เป็นโรคจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็ก ไวรัส (Herpes Simplex Virus: HSV) ซึ่งจะเข้าไปฝังตัวบริเวณรากประสาทใกล้กับไขสันหลัง ทำให้เชื้อยังอยู่ในร่างกายแม้ในระยะที่อาการของโรคสงบลงแล้ว จึงไม่อาจรักษาให้หายขาด ทำได้เพียงควบคุมอาการไม่ให้กำเริบ การติดเชื้อโรคเริมครั้งแรกนั้นมีอาการค่อนข้างรุนแรง โดยจะปรากฏตุ่มน้ำและมีอาการบวมแดงบริเวณอวัยวะเพศหรือบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ปาก ส่วนการติดเชื้อครั้งต่อไปมักไม่มีอาการรุนแรงเท่าครั้งแรก หรืออาจมีอาการเพียงเล็กน้อยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต อย่างไรก็ตาม โรคเริมจะแสดงอาการเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลง ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน มีความเครียด เกิดการติดเชื้อ หรือต้องใช้ยาที่ส่งผลต่อระบบภูมิค้มกัน อาจมีอาการกำเริบได้บ่อยและเป็นนานกว่าผู้ป่วยทั่วไป
  • โรคซิฟิลิส เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจากการทำกิจกรรมทางเพศที่สัมผัสกับแผลโดยตรง อาการของโรคมักปรากฏบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือปาก โรคซิฟิลิสรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาเพนิซิลลิน หากรีบเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ทว่าหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อหัวใจ สมอง หรืออวัยวะอื่น ๆ และเป็นอันตรายถึงชีวิต ทั้งยังแพร่เชื้อจากมารดาไปสู่ทารกในครรภ์ได้
  • โรคไทรโคโมนิอาสิส (Trichomoniasis) เกิดจากการติดเชื้อปรสิตชนิดหนึ่งผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก อวัยวะเพศ และทวารหนัก โดยผู้ติดเชื้ออาจไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็นทำให้ไม่รู้ตัวและไม่ได้รับการตรวจรักษา ซึ่งจะทำให้เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีมากขึ้นไปด้วย โรคนี้รักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจซ้ำภายใน 3 เดือนหลังรับการรักษา เพราะมีความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้
  • การติดเชื้อเอชไอวี และโรคเอดส์ โรคติดเชื้อเอชไอวีนั้นไม่สามารถรักษาให้หายได้ โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้ติดต่อกันผ่านทางของเหลวในร่างกาย เช่น เลือด อสุจิ น้ำหล่อลื่นภายในช่องคลอด หรือนมแม่ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ได้รับเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย อย่างไรก็ตาม โรคติดเชื้อเอชไอวีควบคุมอาการได้หากรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทว่าหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้การติดเชื้อรุนแรงขึ้นจนเข้าสู่ระยะเอดส์ ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของโรคและส่งผลอันตรายถึงชีวิต

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้หญิงป้องกันได้หากรู้จักระมัดระวังและมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ควรให้คู่นอนใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ นอกจากนี้ หากมีอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษาได้อย่างทันท่วงทีและตรวจโรคเป็นประจำทุกปีโดยเฉพาะคู่ที่กำลังจะแต่งงาน



แพทย์ประจำศูนย์

แผนกสุขภาพสตรี

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

สูติศาสตร์นรีเวชวิทยา, มะเร็งวิทยานรีเวช

แผนกสุขภาพสตรี

พญ.ธันย์ชนก สมปรารถนา

มะเร็งวิทยานรีเวช

แผนกสุขภาพสตรี

พญ.ดวงสมร เกียรติสุดา

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา, เวชศาสตร์มารดาและทารก

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด 4 สายพันธุ์

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ มีประโยชน์อย่างไร

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด 4 สายพันธุ์

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ มีประโยชน์อย่างไร

เครื่องตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density, BMD)

เป็นการตรวจความหนาแน่นของกระดูกโดยใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเอกซเรย์ทั่วไป เพื่อประเมินภาวะกระดูกพรุน

เครื่องตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density, BMD)

เป็นการตรวจความหนาแน่นของกระดูกโดยใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเอกซเรย์ทั่วไป เพื่อประเมินภาวะกระดูกพรุน

5 เรื่องต้องห้ามก่อนเข้านอน

หากใครที่เป็นคนนอนหลับยากอยู่แล้ว สิ่งที่ไม่ควรทำก่อนเข้านอน 5 ข้อ หรือสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงก่อนการเข้านอนที่จะส่งผลต่อการนอนหลับ และทำให้การนอนหลับของคุณมีประสิทธิภาพน้อยลงนั้นมีอะไรบ้าง

blank บทความโดย : คลินิกโสต ศอ นาสิก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
5 เรื่องต้องห้ามก่อนเข้านอน

หากใครที่เป็นคนนอนหลับยากอยู่แล้ว สิ่งที่ไม่ควรทำก่อนเข้านอน 5 ข้อ หรือสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงก่อนการเข้านอนที่จะส่งผลต่อการนอนหลับ และทำให้การนอนหลับของคุณมีประสิทธิภาพน้อยลงนั้นมีอะไรบ้าง

blank บทความโดย : คลินิกโสต ศอ นาสิก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม