Header

โรคแผลในกระเพาะอาหาร...อาการเป็นแบบไหน?

26 มกราคม 2567

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผลในกระเพาะอาหาร | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

อาการ “ปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้นปี่เวลาท้องว่าง หรือจุก เสียด แน่นท้อง เมื่อได้รับประทานอาหารมักจะหายปวด หรือปวดยิ่งขึ้น” อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเป็น โรคแผลในกระเพาะอาหาร อยู่ก็เป็นได้ สำหรับผู้มีอาการผิดปกติเหล่านี้ หากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เรามาทำความเข้าใจกับโรคนี้ให้มากขึ้นกันนะคะ

แผลในกระเพาะอาหาร 

โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือเรียกย่อ ๆ ว่า โรคพียู (PU) หรือพียูดี (PUD, Peptic ulcer disease) เป็นโรคที่มีแผลที่เกิดขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหารบริเวณที่สัมผัสกับน้ำย่อยของกระเพาะอาหารที่มีกรดเป็นองค์ประกอบสำคัญ จึงพบแผลได้ตั้งแต่ส่วนล่างของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนตำแหน่งที่พบแผลได้บ่อย คือ กระเพาะอาหารส่วนปลาย และลำไส้เล็กส่วนต้น ใกล้รอยต่อระหว่างกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น


สาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

เกิดจากกรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นตัวทำลายเยื่อบุ กระเพาะอาหารที่สร้างแนวต้านทานกรดได้ไม่ดี ไม่ว่ากรดนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม รวมไปถึงการรับประทานยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และยาต้านเกร็ดเลือด เช่น แอสไพริน ส่วนปัจจัยอื่น ๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ด ความเครียด เป็นต้น

นอกจากนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียเอช.ไพโลไร (H.Pylori : Helicobacter pylori) มีผลโดยตรง และถือเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่ง ที่ทำให้กระเพาะอาหารมีการอักเสบเรื้อรัง จนทำลายผนังเยื่อบุกระเพาะอาหารและสำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร หากในขณะทำการรักษาแผลในกระเพาะอาหารอยู่ เชื้อนี้จะเป็นสาเหตุที่ทำให้แผลหายช้า หรือทำให้แผลที่หายแล้วกลับมาเป็นซ้ำได้อีก กลายเป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง ที่สำคัญ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วย


อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

อาการสำคัญหลัก ๆ เลย คือ

  • ปวดท้องหรือแสบที่กระเพาะอาหารบริเวณลิ้นปี่ มักมีอาการตอนท้องว่างหรือประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร 
  • ปวดท้องมากเฉพาะหลังรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด จะมีอาการปวดแน่นท้องยามดึกหลังจากหลับไปแล้ว ปวด ๆหาย ๆ เป็นแรมปี
  • อาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น รู้สึกคลื่นไส้ หรืออาเจียน น้ำหนักลดลง เบื่ออาหาร แสบร้อนกลางอก อาหารไม่ย่อย เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนโรคแผลในกระเพาะอาหาร

โดยทั่วไปพบว่าผู้ป่วยอาการจะค่อย ๆ ทุเลา และหายไปเองโดยไม่ต้องรับการรักษา แต่โอกาสที่จะกลับมาเป็นอีกมีอัตราสูงถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาดีเพียงใดก็ตาม และที่สำคัญโรคแผลในกระเพาะอาหาร หากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ได้แก่

  • ภาวะเลือดออกภายในกระเพาะอาหาร เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุด โดยผู้ป่วยที่มีเลือดออกจะมีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หน้ามืด ถ่ายเป็นเลือดหรือมีสีดำ อาเจียนเป็นเลือด รวมถึงภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเกิดจากการเสียเลือดจากแผลในกระเพาะอาหาร
  • กระเพาะอาหารทะลุ จะทำให้ปวดท้องอย่างเฉียบพลันรุนแรง หน้าท้องแข็งตึง กดเจ็บมา
  • กระเพาะอาหารอุดตัน ผู้ป่วยจะอิ่มเร็ว อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด


วิธีการรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร

การรักษาทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยวิธีการรักษามีรายละเอียดแตกต่างกันดังต่อไปนี้

  • การรักษาด้วยยา การใช้ยารักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารนั้น จำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดพร้อมกัน โดยแพทย์จะให้ยาลดกรด และยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลา 6 – 8 สัปดาห์ แผลถึงจะหาย ในกรณีที่มีการติดเชื้อแพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อกำจัด เชื้อแบคทีเรีย เอช.ไพโลไร
  • การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) อาจต้องทำการปรับเปลี่ยนยาที่ใช้ จากเดิมเปลี่ยนเป็นพาราเซตามอล หรือยาแก้ปวดต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้น้อยกว่า ร่วมกับรับประทานยาลดกรดหรือยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหารตามแต่แพทย์สั่ง
  • การผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มักใช้ในผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารแล้วไม่เข้ารับการรักษา มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กฉีกขาด เป็นต้น


การป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร

แผลในกระเพาะอาหาร เมื่อรักษาแผลหายแล้วยังมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก หากไม่รู้จักป้องกัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือวิถีชีวิตบางอย่าง โดยสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  • งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)
  • เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมากๆ จะไปกัดชั้นเมือกในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการระคายเคือง เป็นสาเหตุให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
  • เลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำปริมาณกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น
  • ผ่อนคลายความเครียดและวิตกกังวล พักผ่อนให้เพียงพอ

 

โรคแผลในกระเพาะอาหารเป็นโรคเรื้อรัง เมื่อรักษาแผลหายแล้วยังมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก หากไม่ระวังเรื่องการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง หรือยังไม่สามารถกำจัดเชื้อ H.pylori ให้หมดได้ ทั้งนี้ ควรงดอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ อาหารรสจัด ร้อนจัด เย็นจัด ของหมักดอง รวมทั้งอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซในกระเพาะอาหาร และควรรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เมื่อมีอาการดีขึ้นแล้ว จึงค่อย ๆ กลับมารับประทานอาหารที่ใกล้เคียงปกติ แค่ปรับพฤติกรรมการกิน ก็ลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้มาสร้างสุขภาพดีห่างไกลโรคกันเถอะนะคะ



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกโรคระบบทางเดินอาหารและตับ

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 1211

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดท้องเรื้อรัง ระวังมะเร็งลำไส้ใหญ่

หลาย ๆ คนที่มีอาการปวดท้องเรื้อรัง ปวดท้องเดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย อย่าปล่อยอาการเหล่านี้ไว้ !

blank บทความโดย : แผนกโรคทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปวดท้องเรื้อรัง ระวังมะเร็งลำไส้ใหญ่

หลาย ๆ คนที่มีอาการปวดท้องเรื้อรัง ปวดท้องเดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย อย่าปล่อยอาการเหล่านี้ไว้ !

blank บทความโดย : แผนกโรคทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม