Header

ปวดท้องเรื้อรัง ระวังมะเร็งลำไส้ใหญ่

blank บทความโดย : แผนกโรคทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ปวดท้องเรื้อรัง ระวังมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ปวดท้องเรื้อรัง ระวังมะเร็งลำไส้ใหญ่

หลาย ๆ คน ที่มีอาการปวดท้องเรื้อรัง ปวดเป็นประจำ ปวดท้องเดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย อย่านิ่งนอนใจ หรือปล่อยอาการเหล่านี้ไว้ ควรปรึกษาแพทย์ทางด้านระบบทางเดินอาหารและตับ เพราะหากปล่อยอาการแบบนี้ไว้ “คุณ” อาจจะเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อย เป็นอันดับ 3 ในประชากรชาวไทย โดยจะพบบ่อยในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และสามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย

 

อาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

มีทั้งที่ไม่แสดงอาการ หรืออาจมีอาการให้เราสังเกตได้ดัง เช่น

  • มีการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ถ่ายบ่อย ถ่ายลำบาก ท้องเสียสลับท้องผูก
  • ถ่ายเป็นเลือด เป็นมูก หรือมีมูกปนเลือด
  • อาการปวดท้องเรื้อรัง (ไม่ทราบสาเหตุ)
  • น้ำหนักลด (โดยไม่มีสาเหตุอื่นอธิบาย)
  • ภาวะซีด จากกการขาดธาตุเหล็ก
  • คลำพบก้อน ในช่องท้อง

 

ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • ผู้มีประวัติพบติ่งเนื้อ (Polyps) ในลำไส้ (อาจมีแนวโน้มเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่)
  • ผู้ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พ่อ แม่ หรือญาติพี่น้อง และทายาทสายตรง
  • ผู้ที่มีประวัติโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี เป็นโรคเบาหวาน (มีโอกาสเป็นมะเร็งได้ง่าย)
  • ผู้ที่รับประทานอาหาร ที่มีไขมันสูงเป็นประจำ ขาดการออกกำลังกาย 
  • ผู้ที่รับประทานอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์หรือประเภทเนื้อแดง ที่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนนาน ๆ มากเกินไป
  • ผู้ที่รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย และมีการตกค้างที่ลำไส้ ในอาหารประเภท  ปิ้ง ย่าง หมักดอง และ สารเคมีจากผักที่ล้างไม่สะอาด
  • ผู้ที่มีประวัติ ดื่มสุราหรือสูบบุหรี่
  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วน น้ำหนักเกิน 

 

เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ 

  • การตรวจโดยส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ที่เรียกว่า “โคโลโนสโคป (Colono scope)” เพื่อหาความผิดปกติ เช่น ติ่งเนื้อ แผล
  • หากแพทย์ตรวจพบติ่งเนื้อ บริเวณลำไส้ สามารถตัดชิ้นเนื้อ ตรวจหาสาเหตุของโรค เพิ่มเติม โดยเฉพาะโรคมะเร็ง 
  • ช่วยห้ามเลือดที่บริเวณลำไส้ หรือ ชี้บอกตำแหน่งให้ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดได้ อย่างแม่นยำ

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)

การส่องกล้องเป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยรูปแบบนึง โดยแพทย์จะใช้กล้องที่ออกมาเฉพาะ โดยจะผ่านกล้องเข้าไปสู่บริเวณ ที่เราต้องการจะทำการตรวจ และถ่ายทอดเป็นภาพออกมาให้เราได้เห็นภายในอวัยวะที่เราสนใจ

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ แพทย์จะสอดกล้องผ่านเข้าปากทวารหนัก เพื่อทำการตรวจลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กส่วนปลาย เพื่อประเมินว่ามีรอยโรค เป็นสาเหตุของอาการของผู้ป่วยหรือไม่

ประโยชน์ที่สามารถได้จากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ คือ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ และหากแพทย์ตรวจพบติ่งเนื้อ ซึ่งมีความเสี่ยงในการกลายเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

แพทย์ก็จะสามารถทำการตัดติ่งเนื้อออก เพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 

การค้นหาและคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

  • เมื่อมีอาการที่แพทย์สงสัยว่า จะมีรอยโรคอยู่ในลำไส้ใหญ่ และจำเป็นต้องได้รับการส่องกล้อง แพทย์จะช่วยวินิจฉัย และให้คำแนะนำกับผู้ป่วย เพื่อคลายความกังวลใจก่อนการส่องกล้อง 
  • เพื่อคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยแนะนำผู้ที่มีอายุตั้งแต่อายุ 50-75 ปี เป็นต้นไป หรือมีอาการแสดงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น 
    • ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กโดยไม่พบสาเหตุ 
    • น้ำหนักลดเยอะ ร่วมกับมีการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูกเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสีย เป็นต้น

การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่

  • เริ่มต้นจากการตรวจ และประเมินโดยแพทย์ ว่ามีข้อบ่งชี้และสภาวะของผู้ป่วย มีความเหมาะสม ในการที่จะรับการตรวจได้อย่างปลอดภัย
  • การส่องกล้องไม่ได้ทำให้เกิดบาดแผล แต่ก็อาจมีความไม่สุขสบายระหว่างกระบวนการส่องกล้องได้ แต่จะมีการให้ยาระงับความรู้สึก เพื่อป้องกันความไม่สุขสบาย และทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บปวด 
  • โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ สามารถเข้ารับการตรวจและกลับบ้านได้โดยไม่ต้องพักรักษาตัวในรพ. แต่ผู้ป่วย ควรมีญาติหรือผู้ดูแลมาด้วย (เนื่องจากหากได้รับยาระงับความรู้สึกแบบฉีด ต้องเลี่ยงการขับรถ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร อย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังการตรวจ)
  • ในบางรายที่ตรวจพบความผิดปกติ หรือด้วยสภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์อาจพิจารณาให้สังเกตอาการต่อในรพ. (โดยพิจารณาเป็นกรณีไป) 
  • สำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ถ้าผู้ป่วยมีการตรวจคัดกรองที่ดีตั้งแต่เริ่มต้น หรือรีบมาตรวจคัดกรอง จะช่วยให้ตรวจพบโรคตั้งแต่ก่อนเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งระยะแรก 
  • ดังนั้นเมื่ออยู่ในการรักษาของแพทย์ แพทย์ก็จะช่วยตรวจประเมินและวินิจฉัย เพื่อวางแผนในการรักษาโรคได้อย่างทันท่วงที และตรวจนัดหมายติดตามเป็นระยะ คืนคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยกลับมา 

 

บทความโดยนพ.กุลธนิต เจนพิทักษ์พงศ์

อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

 

 

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกโรคระบบทางเดินอาหารและตับ

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 1211

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย

ปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก โรคมะเร็งจึงถือเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศ

พญ.สุกัญญา ศกศวัตเมฆินทร์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พญ.สุกัญญา ศกศวัตเมฆินทร์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย

ปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก โรคมะเร็งจึงถือเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศ

พญ.สุกัญญา ศกศวัตเมฆินทร์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พญ.สุกัญญา ศกศวัตเมฆินทร์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

26 มกราคม 2567

โรคแผลในกระเพาะอาหาร...อาการเป็นแบบไหน?

โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือเรียกย่อ ๆ ว่า โรคพียู (PU) ทำให้มีอาการ “ปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้นปี่เวลาท้องว่าง หรือจุก เสียด แน่นท้อง เมื่อได้รับประทานอาหารมักจะหายปวด หรือปวดยิ่งขึ้น”

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

26 มกราคม 2567

โรคแผลในกระเพาะอาหาร...อาการเป็นแบบไหน?

โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือเรียกย่อ ๆ ว่า โรคพียู (PU) ทำให้มีอาการ “ปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้นปี่เวลาท้องว่าง หรือจุก เสียด แน่นท้อง เมื่อได้รับประทานอาหารมักจะหายปวด หรือปวดยิ่งขึ้น”

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ไอเรื้อรัง ระวังปอดพังไม่รู้ตัว

เคยเป็นไหม ? ไอบ่อย ๆ จนน่ารำคาญ กินยาแล้วก็ยังไม่หาย บางครั้งไอนานหลายสัปดาห์ หลายคนมีอาการแบบนี้ก็คิดว่าแค่เป็นการไอปกติทั่วไป

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ไอเรื้อรัง ระวังปอดพังไม่รู้ตัว

เคยเป็นไหม ? ไอบ่อย ๆ จนน่ารำคาญ กินยาแล้วก็ยังไม่หาย บางครั้งไอนานหลายสัปดาห์ หลายคนมีอาการแบบนี้ก็คิดว่าแค่เป็นการไอปกติทั่วไป

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม