Header

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

นพ.วุทธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หลายคนอาจไม่คุ้นหูหรือไม่เคยได้ยิน ซึ่งโรคนี้มีความรุนแรง และการดำเนินของโรคที่รวดเร็ว อาจนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งคืออะไร

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันผิดปกติเข้าทำลายปลอกหุ้มประสาทหรือเซลล์ประสาททั้งในสมองและไขสันหลัง เมื่อปลอกเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บจะไปรบกวนการนำกระแสประสาทจากสมองและไขสันหลังไปยังอวัยวะปลายทาง ซึ่งทำให้เกิดอาการผิดปกติของระบบประสาทตามมา อาการมักจะเกิดแบบฉับพลันภายในหนึ่งวันหรือไม่กี่ชั่วโมง โดยมักจะแสดงอาการในช่วงอายุ 20-40 ปี ผู้หญิงมากกว่าชาย เชื้อชาติตะวันตกมากกว่าเอเชีย


อาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ผู้ป่วยโรค Multiple Sclerosis แต่ละรายจะมีอาการแสดงและความรุนแแรงแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งของรอยโรคและไม่มีอาการใดที่บ่งบอกได้ชัดเจนว่าเป็นโรค MS รวมทั้งยังมีโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกัน จึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยแยกโรค


อาการที่พบได้บ่อยได้แก่
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น เห็นภาพซ้อน ตามัว สูญเสียการมองเห็น มองเห็นสีผิดปกติไป ปวดเวลากรอกตา โดยมักเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้
  • เกิดอาการอ่อนแรงหรืออาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • อาการชาหรือการรับรู้ความรู้สึกที่ผิดปกติ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการถ่ายหนักและเบา เช่น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะไม่ออก ท้องผูก เป็นต้น
  • ปัญหาเรื่องการทรงตัว
  • พูดไม่ชัด เคี้ยวหรือกลืนอาหารลำบาก
  • ซึมเศร้าวิตกกังวลหรืออารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรงกะทันหัน เช่น ร้องไห้ หัวเราะหรือตะโกนออกมาอย่างไม่มีเหตุผล เป็นต้น

สาเหตุของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

สาเหตุที่แท้จริงของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าเป็นผลของปัจจัยด้านระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย ที่ตอบสนองต่อปัจจัยภายนอก เช่นการติดเชื้อไวรัสบางชนิด ภาวะพร่องหรือภาวะขาดวิตามินดี เป็นต้น ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเซลล์ประสาทของตนเอง


การรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งให้หายขาดได้ การรักษาในปัจจุบันจึงเน้นไปที่การควบคุมอาการของโรคไม่ให้กำเริบเพื่อชะลออาการ การรักษาในระยะฉับพลันเพื่อลดการทำลายของเซลล์ประสาทให้ได้มากที่สุด รวมไปถึงการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น โดยใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา อย่างเช่น แพทย์อายุรกรรมระบบประสาท จักษุแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู จิตแพทย์ นักกายภาพบำบัด เป็นต้น

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้หรืออาจเป็น ๆ หาย ๆ หากอาการกำเริบขึ้นมาควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อรับยาโดยการฉีดหรือการกินตามพิจารณาของแพทย์ ที่สำคัญโรคนี้สามารถรักษาอาการให้อยู่ในภาวะสงบได้หากได้รับการวินิจฉัยถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่ภาวะพิการในคนไข้ได้เช่นกัน



แพทย์ประจำศูนย์

แผนกศัลยกรรม

นพ.พีรพงศ์ เหลืองอาภาพงศ์

ศัลยแพทย์ประสาท

แผนกศัลยกรรม

ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ศัลยเเพทย์ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก

แผนกศัลยกรรม

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญานของวัยทอง

ประจำเดือนมาน้อยวันและไม่สม่ำเสมอ ร้อนวูบวาบตามร่างกายโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย เหนื่อยง่าย ใจสั่นมีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน บางคนมีอาการหนาวสั่นโดยไม่มีสาเหตุ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สัญญานของวัยทอง

ประจำเดือนมาน้อยวันและไม่สม่ำเสมอ ร้อนวูบวาบตามร่างกายโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย เหนื่อยง่าย ใจสั่นมีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน บางคนมีอาการหนาวสั่นโดยไม่มีสาเหตุ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ความหวังใหม่กระจายวัคซีนทั่วถึง ยับยั้งการระบาด ใช้ยาน้อย ภูมิสูงใกล้เคียงฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ในสถานการณ์ที่วัคซีนยังแพร่กระจายไม่ทั่วถึง การฉีดวัคซีนเข้าในชั้นผิวหนังจึงกลายเป็นประเด็นที่ถูกยกมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งก็เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และความปลอดภัย เมื่อเทียบกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ความหวังใหม่กระจายวัคซีนทั่วถึง ยับยั้งการระบาด ใช้ยาน้อย ภูมิสูงใกล้เคียงฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ในสถานการณ์ที่วัคซีนยังแพร่กระจายไม่ทั่วถึง การฉีดวัคซีนเข้าในชั้นผิวหนังจึงกลายเป็นประเด็นที่ถูกยกมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งก็เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และความปลอดภัย เมื่อเทียบกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ทำอย่างไรเมื่อลืมทานยา ?

การรับประทานยาก่อนอาหารที่ถูกต้อง คือ ทานก่อนรับประทานอาหาร 30 นาที เพื่อประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ที่ดีที่สุด

ทำอย่างไรเมื่อลืมทานยา ?

การรับประทานยาก่อนอาหารที่ถูกต้อง คือ ทานก่อนรับประทานอาหาร 30 นาที เพื่อประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ที่ดีที่สุด