Header

ทำอย่างไรเมื่อลืมทานยา ?

การรับประทานยาก่อนอาหารที่ถูกต้อง คือ ทานก่อนรับประทานอาหาร 30 นาที เพื่อประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ที่ดีที่สุด

หากลืมทานยาก่อนอาหารต้องทำอย่างไร?

  • สำหรับยาทั่วไป เช่น ยาโรคกระเพาะ ยาลดกรดในกระเพาะ ยาปรับลำไส้ เป็นต้น หากลืมทานก่อนอาหาร สามารถข้ามมื้อนั้นไปได้เลย หากมาทานหลังอาหารแทนนั้น ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะยาบางชนิดมีผลต่อการเตรียมความพร้อมของกระเพาและลำไส้เพื่อรองรับสารอาหารที่จะเข้ามาขณะรับประทานอาหาร รวมไปถึงอาหารบางชนิดมีผลต่อประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์และการดูดซึมของยา ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพลดลงได้
  • สำหรับยาสำคัญที่ต้องทานให้ครบตามกำหนด เช่น ยาปฎิชีวนะบางชนิด เป็นต้น หากลืมทานก่อนอาหารก็สามารถทานหลังรับประทานอาหารหลังผ่านไปแล้ว 2 ชั่วโมงได้ หรือตอนท้องว่าง เพราะอาหารมีผลต่อการดูดซึมของยา และมื้อต่อไปก็สามารถทานตามปกติได้เลย
  • การรับประทานยาหลังอาหารที่ถูกต้อง คือ ทานหลังรับประทานอาหารได้ทันที หรือภายใน 15 นาที เพื่อประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ที่ดีที่สุด
     

หากลืมทานยาหลังอาหารต้องทำอย่างไร?

  • สำหรับยาทั่วไป เช่น ยาแก้ปวด เป็นต้น ควรทานหลังอาหารทันที เพราะถ้าทานตอนท้องว่าง อาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ หากลืมทานหลังมื้ออาหารทันที สามารถข้ามมื้อนั้นไปได้เลย แล้วมื้อต่อไปก็สามารถทานตามปกติได้
  • สำหรับยาสำคัญที่ต้องทานให้ครบตามกำหนด เช่น ยาปฎิชีวนะบางชนิด เป็นต้น หากลืมทานภายใน 15 นาทีหลังมื้ออาหารสามารถทานหลังรับประทานอาหารได้ทันที เพราะอาหารไม่มีผลต่อการดูดซึมของยาปฏิชีวนะ หรือควรทานอาหารมื้อย่อยแล้วค่อยทานยาตาม เพราะยาอาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียนได้
  • การรับประทานยาก่อนนอนที่ถูกต้อง คือ ทานก่อนนอนประมาณ 15 – 30 นาที เพื่อประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ที่ดีที่สุด
     

หากลืมกินยาก่อนนอนต้องทำอย่างไร?

  • ยาที่ทานก่อนนอน หากลืมทานก่อนนอน สามารถข้ามไปทานก่อนนอนในคืนถัดไปแทน ไม่ควรทานในตอนเช้าของวันถัดไป เพราะยาพวกนี้มักจะมีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน และลดผลข้างเคียงของยา
  • สำหรับยาสำคัญบางชนิด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด เป็นต้น หากลืมทานก่อนนอน สามารถทานได้ภายใน 12 ชั่วโมง หากเกิน 12 ชั่วโมงแล้วไม่ควรทาน ให้ทานในมื้อต่อไปตามปกติ

 

อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรลืมทานยาบ่อยครั้ง เนื่องจากอาจทำให้เกิดการดื้อยา ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคลดลงได้นั่นเอง

 

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เปรียบเทียบอาการ สาเหตุ และวิธีการป้องกันไข้มาลาเรียโนวไซ โควิดโอมิครอน และไข้หวัดใหญ่

นอกจากการระบาดของโควิดโอมิครอนและไข้หวัดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังในตอนนี้แล้ว ล่าสุดกรมควบคุมโรคได้ประกาศให้ระวังโรค “ไข้มาลาเรียโนวไซ” ที่ติดต่อจากลิงสู่คน

เปรียบเทียบอาการ สาเหตุ และวิธีการป้องกันไข้มาลาเรียโนวไซ โควิดโอมิครอน และไข้หวัดใหญ่

นอกจากการระบาดของโควิดโอมิครอนและไข้หวัดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังในตอนนี้แล้ว ล่าสุดกรมควบคุมโรคได้ประกาศให้ระวังโรค “ไข้มาลาเรียโนวไซ” ที่ติดต่อจากลิงสู่คน

โรคไข้เลือดออก

ซึ่งเกิดจากการที่ยุงลายที่มีเชื้ออยู่ไปกัดผู้ป่วยแล้วปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย โดยหลังจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนจากนั้นผู้ป่วยจึงจะเริ่มแสดงอาการ โดยไข้เลือดออกนั้นสามารถพบได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่มีการระบาดมักจะเป็นฤดูฝน โดยสามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคไข้เลือดออก

ซึ่งเกิดจากการที่ยุงลายที่มีเชื้ออยู่ไปกัดผู้ป่วยแล้วปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย โดยหลังจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนจากนั้นผู้ป่วยจึงจะเริ่มแสดงอาการ โดยไข้เลือดออกนั้นสามารถพบได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่มีการระบาดมักจะเป็นฤดูฝน โดยสามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ค่าตัวเลขความดันโลหิตคืออะไร ?

ค่าความดันคืออะไร วัดไปทำไม แล้วความดันโลหิตต่ำ-สูงอันตรายแค่ไหน

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ค่าตัวเลขความดันโลหิตคืออะไร ?

ค่าความดันคืออะไร วัดไปทำไม แล้วความดันโลหิตต่ำ-สูงอันตรายแค่ไหน

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม