Header

“ไวรัสตับอักเสบบี” โรคร้ายที่คุณป้องกันได้

ไวรัสตับอักเสบบีสามารถทำให้เกิดการอักเสบของตับแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรังได้ ไวรัสตับอักเสบบีเป็นสาเหตุของโรคตับแข็ง และมะเร็งตับที่สำคัญของโลก อย่างไรก็ดี ปัจจุบันเรามีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดตามมา

เชื้อไวรัสตับอักเสบบีคืออะไร ?

เชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็น double-stranded DNA virus ใน Family Hepadnaviridae, Genus Orthohepadnavirus เป็นสาเหตุที่ท าให้เซลล์ตับเกิดการอักเสบ และการอักเสบจะทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็น เรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้โรคนี้มีคนเป็นแหล่งรังโรค เชื้อไวรัสจะอยู่ในเลือดและสารคัดหลั่ง ต่าง ๆ ของผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะ และสามารถถ่ายทอดเชื้อไปยังผู้อื่นผ่านทางเลือด การมีเพศสัมพันธ์ การใช้ ของมีคมร่วมกันระหว่างบุคคล เด็กแรกเกิดสามารถติดเชื้อจากมารดาที่เป็นพาหะได้ในขณะคลอดหรือในระยะ หลังคลอด เชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีระยะฟักตัวเฉลี่ยประมาณ 75 วัน (30-180 วัน) เชื้อสามารถแบ่งตัวได้ภายใน 30-60 วันหลังจากที่ได้รับเชื้อ ซึ่งเชื้อยังอยู่ในร่างกายและสามารถพัฒนาเป็นโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ

  • ระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 1-4 เดือนหลังติดเชื้อ ซึ่งจะมีอาการดังนี้อาการไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสียและอาเจียน อ่อนเพลีย ผื่น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรง เกิดจากการที่เซลล์ตับถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ในกรณีนี้อาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้อาการตับอักเสบระยะเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และจะหายเป็นปกติเมื่อร่างกายสามารถกำจัดและควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ ซึ่งมักใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่ผู้ป่วยส่วนน้อย (5-10%) ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด ทำให้ผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง
  • ระยะเรื้อรัง แบ่งผู้ป่วยได้เป็น 2 กลุ่มคือ
    • พาหะ คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ผลการตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ
    • ตับอักเสบเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย และตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ

ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีอาการ บางรายอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือเบื่ออาหารได้ การติดเชื้อแบบเรื้อรัง พบบ่อยในเด็กที่ติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิดและยังเป็นอันตรายที่อาจนำไปสู่ ตับแข็ง มะเร็งตับ และเสียชีวิตในที่สุด

ผู้ที่ควรฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

  • ทารกแรกเกิด เด็ก และวัยรุ่นที่ไม่ได้รับวัคซีนเมื่อแรกเกิด
  • ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่ทำงานในสถานพยาบาล
  • ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกไต
  • ผู้ป่วยที่ได้รับเลือดบ่อย ๆ
  • ผู้ที่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
  • ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
  • ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมทางเพศ เช่น รักร่วมเพศ มีคู่นอนหลายคน

ผู้ที่สามารถรับวัคซีนไวรัสตับอักเสบ B

  • เริ่มฉีดได้ตั้งแต่แรกเกิด
  • ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน

วัคซีนไวรัสตับอักเสบ B ฉีดกี่ครั้ง ?

  • ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบ B ทั้งหมด 3  ครั้ง
  • ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 1 – 2 เดือน
  • ครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งแรก 6 เดือน

วิธีป้องกันตนเองจากไวรัสตับอักเสบบี

  • ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรตรวจเช็คตับปีละ 1 ครั้ง และตรวจคัดกรองมะเร็งตับเป็นระยะ
  • ควรฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบ หากร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกัน
  • ไม่ควรรับประทานยาพร่ำเพรื่อติดต่อกันเป็นเวลานาน หากไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์
  • งดดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรค
  • มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย

วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี คือ การให้วัคซีนก่อนการสัมผัสโรค เมื่อฉีดวัคซีน ครบถ้วนตามเกณฑ์แล้วจะมีประสิทธิผลในการป้องกันโรคสูงถึง ร้อยละ 90-95 % จึงควรใส่ใจและเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบถ้วนตามที่แพทย์กำหนด

 

ที่มา : กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

10 วิธี การกินอาหารเพื่อสุขภาพ

10 วิธี การกินอาหารเพื่อสุขภาพ มีดังนี้ กินอาหารเช้า เป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่ส่งผลต่อจิตใจ และพลังชีวิตของคุณไปตลอดทั้งวัน และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

blank คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
10 วิธี การกินอาหารเพื่อสุขภาพ

10 วิธี การกินอาหารเพื่อสุขภาพ มีดังนี้ กินอาหารเช้า เป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่ส่งผลต่อจิตใจ และพลังชีวิตของคุณไปตลอดทั้งวัน และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

blank คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
5 วิธีดูแลสมองให้แข็งแรง

สมองเป็นอวัยวะในร่างกายที่สำคัญอย่างมาก เปรียบเหมือนกองบัญชาการควบคุมระบบต่าง ๆ ในร่างกายมากมายหลายระบบ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
5 วิธีดูแลสมองให้แข็งแรง

สมองเป็นอวัยวะในร่างกายที่สำคัญอย่างมาก เปรียบเหมือนกองบัญชาการควบคุมระบบต่าง ๆ ในร่างกายมากมายหลายระบบ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ลูกติดจอ ติดมือถือแก้อย่างไร

อากรแบบนี้บ่งบอกลูกติดจอ ติดมือถือหนัก!

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ลูกติดจอ ติดมือถือแก้อย่างไร

อากรแบบนี้บ่งบอกลูกติดจอ ติดมือถือหนัก!

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม