Header

รู้จักการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน ตรวจง่าย วินิจฉัยโรคชัดเจน ไม่น่ากลัว

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

  • การส่องกล้องทางเดินอาหาร เป็นวิธิการตรวจวินิจฉัยรูปแบบนึง โดยแพทย์จะใช้กล้องที่ออกมาเฉพาะ โดยจะผ่านกล้องเข้าไปสู่บริเวณที่เราต้องการจะทำการตรวจ และถ่ายทอดเป็นภาพออกมาให้เราได้เห็นภายในอวัยวะที่เราสนใจ
  • การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน แพทย์จะสอดกล้องผ่านเข้าปาก เพื่อทำการตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อตรวจวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติอย่างไรหรือไม่ และอาจพิจาณาตรวจชิ้นเนื้อเพิ่มเติมได้
  • อีกประโยชน์ที่สามารถทำได้จากการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน คือการตรวจการติดเชื้อแบคทีเรีย H.pylori ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงการเกิดกระเพาะอาหารอักเสบและมะเร็งกระเพาะอาหาร

ใครบ้างที่เข้ารับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน

  • ผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หลังจากอายุ 50 ปี
  • ผู้ป่วยที่มีอาการเตือน ได้แก่ น้ำหนักตัวลดเยอะ, อาเจียนรุนแรงต่อเนื่อง, มีอาการกลืนเจ็บกลืนลำบาก, มีอาการเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน
  • ผู้ป่วยที่อาการไม่ดีขึ้นหลังจากรักษาด้วยยาต้านกรด

การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน

  • เริ่มต้นจากการตรวจ และประเมินโดยแพทย์ว่ามีข้อบ่งชี้ และสภาวะของผู้ป่วยมีความเหมาะสมในการที่จะรับการตรวจได้อย่างปลอดภัย
  • งดน้ำ อาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดก่อนมารับการตรวจอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันอันตรายจากการสำลักอาหารเข้าไปในหลอดลม
  • แจ้งโรคประจำตัว, ยาที่รับประทานประจำ และยาที่แพ้
  • ในกรณีที่ใส่ฟันปลอม หรือมีฟันที่โยก ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการส่องกล้อง
 

ขั้นตอนเมื่อมาถึงศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหาร

  • ผู้ป่วยจะได้รับการวัดสัญญาณชีพ และประเมินอาการก่อนทำการส่องกล้อง
  • ขณะเข้ารับการตรวจ จะได้รับยาชาเฉพาะที่โดยการพ่นยาชา ที่บริเวณลำคอ เพื่อไม่ให้เจ็บปวดหรือรู้สึกอยากอาเจียนขณะตรวจ
  • แพทย์จะใส่กล้องเข้าทางปาก เพื่อทำการตรวจประเมิน ซึ่งกระบวนการจะใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
  • ภายหลังเสร็จสิ้นการตรวจ ผู้ป่วยจะได้รับการสังเกตอาการหลังการส่องกล้อง เมื่อเห็นว่าปลอดภัยดีแล้ว สามารถกลับบ้านได้

คำถามที่พบบ่อย

# การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน เจ็บไหม ต้องฉีดยาให้หลับไหม

  • การส่องกล้อง ไม่ได้ทำให้เกิดบาดแผล แต่ก็อาจมีความไม่สุขสบายระหว่างการส่องกล้องได้ แต่จะมีการให้ยาระงับความรุ้สึก เพื่อป้องกันภาวะดังกล่าวโดยจะมีการพ่นยาชาที่ลำคอ และในบางรายถ้าผู้ป่วยยังมีความไม่สุขสบาย ก็อาจให้ยาระงับความรู้สึกแบบฉีดทางเส้นเลือดดำ โดยพิจารณาเป็นแต่ละกรณี

# มาส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนต้องนอนโรงพยาบาลไหม

  • โดยทั่วไป ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการตรวจ และกลับบ้านได้โดยไม่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามผู้ป่วย ควรมีญาติหรือผู้ดูแลมาด้วย เนื่องจากหากได้รับยาระงับความรู้สึกแบบฉีด ต้องเลี่ยงการขับรถ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร อย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังการตรวจ
  • ทั้งนี้ในบางรายที่ตรวจพบความผิดปกติ หรือด้วยสภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์อาจพิจารณาให้สังเกตอาการต่อในโรงพยาบาล โดยพิจารณาเป็นแต่ละกรณี

 

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคกรดไหลย้อน GERD

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disorder) คือภาวะที่เกิดการไหลย้อนของกรด จากกระเพาะอาหาร ขึ้นมาสู่หลอดอาหาร ซึ่งถูกกระตุ้นได้จากหลายปัจจัยเช่น การสูบบุหรี่, ดื่มสุรา, ความเครียด, การรับประทานอาหารไขมันสูง,ภาวะน้ำหนักตัวเกิน เป็นต้น

โรคกรดไหลย้อน GERD

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disorder) คือภาวะที่เกิดการไหลย้อนของกรด จากกระเพาะอาหาร ขึ้นมาสู่หลอดอาหาร ซึ่งถูกกระตุ้นได้จากหลายปัจจัยเช่น การสูบบุหรี่, ดื่มสุรา, ความเครียด, การรับประทานอาหารไขมันสูง,ภาวะน้ำหนักตัวเกิน เป็นต้น

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

ตรวจสุขภาพประจำปีอาจถูกหลายคนมองข้ามถึงความสำคัญ เพราะคิดว่าร่างกายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ดี อีกทั้งไม่แสดงถึงอาการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติใดๆ  แต่ความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปีนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค หรือภาวะต่าง ๆ ที่ยังไม่แสดงอาการออกมา

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

ตรวจสุขภาพประจำปีอาจถูกหลายคนมองข้ามถึงความสำคัญ เพราะคิดว่าร่างกายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ดี อีกทั้งไม่แสดงถึงอาการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติใดๆ  แต่ความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปีนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค หรือภาวะต่าง ๆ ที่ยังไม่แสดงอาการออกมา

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคปอดที่เกิดจากการทำงาน (Occupational lung disease)

ซิลิโคสิส (Silicosis) เกิดจากการหายใจเอาซิลิการูปผลึก (crystalline silica) เข้าไปในปอด โดยองค์กร International Agency for Research on Cancer (IARC) ได้จัดให้ซิลิกาเป็นสารที่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่าก่อมะเร็งปอดในมนุษย์ และผู้ป่วยที่เป็นโรคซิลิโคสิสจะมีความเสี่ยงกับโรควัณโรคมากยิ่งขึ้นด้วย

นพ.อธินันท์ ชัญญาวงศ์ศักดิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคปอดที่เกิดจากการทำงาน (Occupational lung disease)

ซิลิโคสิส (Silicosis) เกิดจากการหายใจเอาซิลิการูปผลึก (crystalline silica) เข้าไปในปอด โดยองค์กร International Agency for Research on Cancer (IARC) ได้จัดให้ซิลิกาเป็นสารที่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่าก่อมะเร็งปอดในมนุษย์ และผู้ป่วยที่เป็นโรคซิลิโคสิสจะมีความเสี่ยงกับโรควัณโรคมากยิ่งขึ้นด้วย

นพ.อธินันท์ ชัญญาวงศ์ศักดิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม