Header

ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด-19 (Covid-19 Antibody Level Test)

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่โควิดระบาดอย่างหนัก ทำให้ทุกคนมีความเสี่ยงติดโควิดสูงมาก ถึงแม้จะฉีดวัคซีนแล้วก็ตามก็อาจติดได้อีก ทำให้การดำเนินชีวิตยากขึ้นต้องระวังตัวตลอดเวลา แต่ถ้าคุณรู้ว่าในตัวคุณมีภูมิมากน้อยเพียงใด ความมั่นใจในการดำเนินชีวิตก็จะมีมากตามไปด้วย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้เปิดให้บริการตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด Anti-S (RBD) IgG โดยตรวจด้วยการเจาะเลือด เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันเชิงปริมาณ สามารถดูระดับของแอนติบอดี เพื่อประเมินภูมิคุ้มกันของร่างกาย ได้รับมาตรฐานสากล CE-IVD, Thai FDA หลักกการ CMIA เพื่อให้คุณได้รู้ภูมิในตัวคุณ และใช้ชีวิตอย่างสบายใจ

ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด-19 คืออะไร ?

เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาระดับภูมิต้านทานต่อเชื้อ SARS-CoV2 ในส่วนของ Spike Protein ที่เป็นส่วนสำคัญในการนำเชื้อเข้าสู่เซลล์ และทำให้เกิดการติดเชื้อ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อหรือวัคซีน ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย จะสร้างภูมิต้านทานขึ้นเพื่อต่อต้านเชื้อ หากระดับของภูมิต้านทานที่มากพอ จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ และลดความรุนแรงของโรคได้


 

ใครบ้างที่ควรตรวจ และทำไมต้องตรวจหาภูมิคุ้มกัน

  • ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วตรวจเพื่อติดตามการตอบสนองของระบบภูมิต้านทานหลังจากได้รับวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่จะตรวจเมื่อได้รับวัคซีนครบแล้ว 4 สัปดาห์ขึ้นไป ภูมิคุ้มกันจากการฉีดอยู่ที่ประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไปหลังฉีด และภูมิที่เพิ่มขึ้นอาจค่อย ๆ ลดลงและต้องทำการฉีดวัคซีนอีกครั้ง เป็นการกระตุ้นร่างกายจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโควิด ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
  • ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 เพื่อตรวจหาระดับภูมิต้านทานก่อนรับวัคซีน ในกรณีสงสัยว่าอาจเคยได้รับเชื้อแบบไม่มีอาการมาก่อน และอาจมีภูมิต้านทานตามธรรมชาติแล้ว

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

  • ควรตรวจหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบโดสแล้วอย่างน้อย 14-28 วัน แต่ไม่ควรเกิน 3 เดือน
  • กรณีที่เคยผ่านการติดเชื้อ COVID-19 และรักษาหายแล้วประมาณ 1 เดือน
  • ตรวจโดยการเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำ 1 หลอดประมาณ 3-5 ml
  • ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร

ตรวจภูมิคุ้มกันโควิดได้ที่ไหน

การตรวจภูมิคุ้มกันโควิดเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการทราบระดับภูมิหลังฉีดวัคซีนของตนเองเท่านั้น กรณีที่ต้องการรับการตรวจสามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การตรวจเพื่อให้ทราบระดับของภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น แต่ไม่ยืนยันว่าจะป้องกันการติดเชื้อได้ 100% ดังนั้นการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อด้วยวิธี การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ และรักษาระยะห่างยังคงต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อของโรค COVID-19



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตับ คืออะไร

ตับ ของคนเรานั้นเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ใต้ชายโครงด้านขวา โดยมีซี่โครงเป็นเกราะกำบัง มีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม  แบ่งเป็น 2 ส่วน  เรียกว่า ตับกลีบซ้ายและตับกลีบขวา

blank คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตับ คืออะไร

ตับ ของคนเรานั้นเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ใต้ชายโครงด้านขวา โดยมีซี่โครงเป็นเกราะกำบัง มีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม  แบ่งเป็น 2 ส่วน  เรียกว่า ตับกลีบซ้ายและตับกลีบขวา

blank คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ผลวิจัยสูตรวัคซีน SSA กระตุ้นภูมิโควิด-19

ก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับศิริราชพยาบาล เผยว่า การรับวัคซีนสลับชนิด อย่าง ‘ซิโนแวค – แอสตร้าเซนเนก้า’ หรือสูตรไขว้ SA พบสร้างภูมิสูงกว่าการรับซิโนแวคสองเข็มกว่า 3 เท่า และสร้างภูมิสูงกว่าการรับแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็มเล็กน้อย

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ผลวิจัยสูตรวัคซีน SSA กระตุ้นภูมิโควิด-19

ก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับศิริราชพยาบาล เผยว่า การรับวัคซีนสลับชนิด อย่าง ‘ซิโนแวค – แอสตร้าเซนเนก้า’ หรือสูตรไขว้ SA พบสร้างภูมิสูงกว่าการรับซิโนแวคสองเข็มกว่า 3 เท่า และสร้างภูมิสูงกว่าการรับแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็มเล็กน้อย

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาการสมองเสื่อมถอย หลังติดเชื้อ COVID-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ผู้ป่วยบางรายได้รับผลกระทบหลังติดเชื้อ COVID-19 คือ อาการสมองเสื่อมถอย มักพบในช่วง 1-6 เดือน หลังติดเชื้อ

อาการสมองเสื่อมถอย หลังติดเชื้อ COVID-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ผู้ป่วยบางรายได้รับผลกระทบหลังติดเชื้อ COVID-19 คือ อาการสมองเสื่อมถอย มักพบในช่วง 1-6 เดือน หลังติดเชื้อ