Header

เป็นเบาหวานแล้วติด COVID-19 มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าคนทั่วไป !!

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคโควิด-19 ไม่แตกต่างจากคนทั่วไปแต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดีเนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายมีประสิทธิภาพป้องกันโรคลดลงจริงหรือไม่ ? มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันกับบทความนี้ได้เลยค่ะ

โรคเบาหวานกับโควิด-19

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ห่วงผู้ป่วยเบาหวาน คุมน้ำตาลให้ดี อย่าขาดยาอย่างเด็ดขาดเพราะผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดีมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 มากกว่าคนทั่วไปเนื่องจาก

  • ระดับน้ำตาลที่สูงกว่าค่าปกติ จะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลง ทำให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ไม่ดี ไวรัสสามารถเติบโตและกระจายตัวได้ง่ายขึ้น
  • โรคร่วมหรือผลข้างเคียงจากเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี มักจะมีโรคร่วม หรือผลข้างเคียงจากเบาหวานร่วมด้วย ซึ่งการที่มีโรคร่วมดังกล่าวทำให้เมื่อติดเชื้อไวรัส COVID-19 มีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น มีผลข้างเคียงง่ายและเพิ่มขึ้นได้
  • ปฏิกิริยาการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส ทำให้การควบคุมเบาหวานทำได้แย่ลง เมื่อผู้ป่วยเบาหวานติดเชื้อไวรัส COVID-19 ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อต้านไวรัสและเกิดการอักเสบ ปฏิกิริยาการอักเสบจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดยิ่งสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันและโรคที่เป็นผลข้างเคียงจากเบาหวานดังกล่าวข้างต้น

ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรค หากผู้ป่วยเบาหวานได้รับเชื้อไวรัส COVID-19 ขึ้นอยู่กับอายุ ระดับน้ำตาลในเลือด โรคร่วม หรือผลข้างเคียงจากโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยเป็นอยู่  ไม่ได้ขึ้นกับว่าผู้ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2

 

การควบคุมระดับน้ำตาลในผู้เป็นโรคเบาหวานในสภาวะที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ผู้เป็นโรคเบาหวานที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีค่าระดับน้ำตาลสะสมมากกว่า 8% จะมีอัตราการเสียชีวิตที่มากกว่าคนที่เป็นเบาหวานและสามารถควบคุมค่าน้ำตาลได้ดี โดยสรุปผู้เป็นโรคเบาหวานติดเชื้อไวรัสก็เพิ่มความรุนแรงของการเจ็บป่วยจากโควิด-19 แล้ว และถ้าหากยิ่งคุมระดับน้ำตาลไม่ดี ยิ่งเสียงต่อการเสียชีวิตได้ง่ายขึ้น

 

ความเสี่ยงของผู้เป็นเบาหวานกับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ผู้เป็นเบาหวานไม่ได้เพิ่มอัตราการรับเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ถ้าหากติดเชื้อแล้ว จะทำอาการรุนแรงของโรคมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้เป็นเบาหวานต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

 

การใช้ยาในผู้เป็นเบาหวานที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ถ้าผู้เป็นเบาหวานได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ต้องทำการปรึกษาแพทย์ เพราะมียาหลายชนิดที่อาจจะต้องพิจารณาลดขนาดลง หยุดรับประทาน หรือบางตัวยังสามารถใช้ได้ต่อ โดยเฉพาะอินซูลินไม่แนะนำให้หยุด หากไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน เนื่องจากหากหยุดอินซูลินกะทันหัน และเกิดภาวะน้ำตาลสูงมากจนเลือดเป็นกรดอาจอันตรายถึงชีวิต ทั้งนี้หากมีน้ำตาลต่ำ อาจพิจารณาลดขนาดอินซูลินลงได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด

วิธีดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานและโรคอ้วนให้ห่างไกล COVID-19

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานและโรคอ้วนนั้น การได้รับเชื้อไวรัส COVID-19 มักจะส่งผลรุนแรงกว่าคนทั่วไป ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพอย่างจริงจัง ดังนี้

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงหลังจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 มากกว่าบุคคลทั่วไปหากควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี จึงควรควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ วัดระดับน้ำตาลปลายนิ้วอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำ
  • ดูแลสุขภาพกายใจ ผู้ป่วยเบาหวานควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และลดความเครียด การมีสุขภาพกายและใจที่ดีจะเป็นส่วนช่วยในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้
  • รับประทานอาหารให้เหมาะสมถูกสุขลักษณะ เตรียมอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล(คาร์โบไฮเดรต) ไว้ที่บ้านให้เพียงพอ ในกรณีที่เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ จะสามารถแก้ไขระดับน้ำตาลได้ทันที
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ หรือทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮฮล์
  • ห้ามใช้ช้อน ส้อม แก้วน้ำร่วมกับคนอื่น ๆ
  • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน
  • รักษาระยะห่าง (Social Distancing)
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเมื่อขาดน้ำ ระดับน้ำตาลจะยิ่งสูงขึ้น
  • เตรียมยาประจำตัวไว้ที่บ้านให้เพียงพอ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องกักตัว (Quarantine) อยู่ที่บ้าน 2-3 สัปดาห์
  • บันทึกเบอร์โทรศัพท์สำคัญ ทั้งเบอร์โทรศัพท์ของโรงพยาบาลที่รักษาอยู่ เบอร์โทรศัพท์ของแพทย์ที่ทำการรักษา เพื่อให้สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน และควรให้คนใกล้ชิดบันทึกเบอร์โทรศัพท์นี้ไว้ด้วย
  • หมั่นสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น ไข้ หายใจหอบเหนื่อย ไอ น้ำมูก เจ็บคอควรปรึกษาแพทย์ทันที นอกจากนี้หากมีอาการที่เป็นผลจากระดับน้ำตาลที่ผิดปกติ เช่น    หน้ามืด ใจสั่น มือสั่น มึนงง เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน ความรู้สึกตัวลดลง หรือวัดระดับน้ำตาลที่บ้านแล้วค่าระดับน้ำตาลต่ำหรือสูงกว่าภาวะปกติ ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด
  • ที่สำคัญที่สุดตามประกาศจากนโยบายของรัฐ ที่ให้ฉีดวัคซีนสำหรับกลุ่มเสี่ยง 7 โรคเรื้อรัง ซึ่งโรคเบาหวานและโรคอ้วน อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 อย่างเร่งด่วน ผู้มีโรคจึงควรพิจารณาเข้ารับวัคซีน หากไม่มั่นใจหรือยังกังวล สามารถปรึกษาแพทย์ที่ดูท่านอยู่ เชื่อว่าแพทย์ทุกท่านพร้อมจะตอบทุกข้อสงสัย

โดยสรุปจะเห็นว่าผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่มเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ COVID-19 ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตที่มากขึ้น ผู้ป่วยควรทราบวิธีการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม รวมถึงให้ความสำคัญกับการป้องกันการติดเชื้อและหมั่นสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือวัดระดับน้ำตาลที่บ้านแล้วค่าระดับน้ำตาลต่ำหรือสูงกว่าภาวะปกติ ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

วัยเก๋า……..ต้องไม่เกาต์

โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนแต่จะพบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุซึ่งเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดบริเวณกระดูกและข้อส่งผลให้การเดินและการใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปได้อย่างยากลำบาก

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัยเก๋า……..ต้องไม่เกาต์

โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนแต่จะพบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุซึ่งเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดบริเวณกระดูกและข้อส่งผลให้การเดินและการใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปได้อย่างยากลำบาก

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ความหวังใหม่กระจายวัคซีนทั่วถึง ยับยั้งการระบาด ใช้ยาน้อย ภูมิสูงใกล้เคียงฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ในสถานการณ์ที่วัคซีนยังแพร่กระจายไม่ทั่วถึง การฉีดวัคซีนเข้าในชั้นผิวหนังจึงกลายเป็นประเด็นที่ถูกยกมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งก็เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และความปลอดภัย เมื่อเทียบกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ความหวังใหม่กระจายวัคซีนทั่วถึง ยับยั้งการระบาด ใช้ยาน้อย ภูมิสูงใกล้เคียงฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ในสถานการณ์ที่วัคซีนยังแพร่กระจายไม่ทั่วถึง การฉีดวัคซีนเข้าในชั้นผิวหนังจึงกลายเป็นประเด็นที่ถูกยกมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งก็เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และความปลอดภัย เมื่อเทียบกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

โรคนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในประชาชนทั่วไป โดยปกติมักไม่แสดงอาการ หากมีอาการผู้ป่วยมักมีอาการคล้ายอาการของโรคกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยส่วนมากจะซื้อยามารับประทานเองทำให้นิ่วในถุงน้ำดีอาจมีอาการรุนแรงขึ้นได้

โรคนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในประชาชนทั่วไป โดยปกติมักไม่แสดงอาการ หากมีอาการผู้ป่วยมักมีอาการคล้ายอาการของโรคกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยส่วนมากจะซื้อยามารับประทานเองทำให้นิ่วในถุงน้ำดีอาจมีอาการรุนแรงขึ้นได้