Header

อาการสมองเสื่อมถอย หลังติดเชื้อ COVID-19

กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ผู้ป่วยบางรายได้รับผลกระทบหลังติดเชื้อ COVID-19 คือ อาการสมองเสื่อมถอย มักพบในช่วง 1-6 เดือน หลังติดเชื้อ ซึ่งเป็นภาวะที่สมรรถภาพการทำงานของสมองถดถอย ส่วนมากในด้านสมาธิ ทักษะในการตัดสินใจ การวางแผน และความจำระยะสั้น โดยจะมีอาการรู้สึกสมองล้า (brain fog) รู้สึกตื้อ มึน ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งหนึ่ง สิ่งใดได้ ส่งผล กระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวัน การทำงาน หรือการเข้าสังคม ทำให้ส่งผลเสียในระยะยาวได้

ปัจจัยเสี่ยงเกิดจากผู้ป่วยมีโรคทางระบบประสาทและสมองอยู่เดิม เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคร่วมหลายอย่าง เมื่อติดเชื้อ COVID-19 แบบเฉียบพลันและมีอาการรุนแรง จะทำให้มีภาวะขาดออกซิเจน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล มีอาการทางระบบประสาทและสมองเสื่อมถอย ซึ่งอาการสามารถดีขึ้นเองได้เมื่อเวลาผ่านไป

การดูแลตนเองอย่างดี ทั้งการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง กินอาหารดีและมีประโยชน์ โดยเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทำกิจกรรมที่มีส่วนช่วยในการกระตุ้นสมอง ฝึกการคิดวิเคราะห์ ฝึกสมาธิ หรืองานอดิเรกที่สร้างความผ่อนคลาย จะช่วยให้สมองและระบบประสาทฟื้นตัวและกลับมาเป็นปกติได้เร็วและดียิ่งขึ้น

สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือผู้สูงอายุที่มีโรคร่วมหลาย ๆ อย่าง ควรติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง ปฏิบัติตัวตามมาตรการการดำรงชีวิตวิถีใหม่ สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อย ๆ เข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน COVID-19 เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อและลดความรุนแรงของโรค ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดอาการสมองเสื่อมถอยหลังติดเชื้อได้ หากเกิดติดเชื้อและมีอาการสมองเสื่อมถอยแล้วพบว่าอาการไม่ดีขึ้นในระยะเวลา 6 เดือน ควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อขอคำปรึกษาและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 

ที่มา : กรมการแพทย์

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Signal for help สัญญาณมือขอความช่วยเหลือสากล

ในปัจจุบัน ปัญหาความรุนแรง หรือการถูกคุกคามกลายเป็นเรื่องที่พบเจอได้บ่อยขึ้น จากที่เรามักเห็นข่าวกันว่าโดยส่วนมากจะเป็นความรุนแรงภายในครอบครัว

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Signal for help สัญญาณมือขอความช่วยเหลือสากล

ในปัจจุบัน ปัญหาความรุนแรง หรือการถูกคุกคามกลายเป็นเรื่องที่พบเจอได้บ่อยขึ้น จากที่เรามักเห็นข่าวกันว่าโดยส่วนมากจะเป็นความรุนแรงภายในครอบครัว

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคยอดฮิตที่มากับฝน

เข้าสู่ฤดูฝนก็เป็นอีกหนึ่งฤดูที่จะต้องดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้ดีนอกจากเชื้อไวรัส Covid-19 ที่เราต้องคอยระวังกันเป็นอย่างดีแล้ว ก็ยังมีโรคติดต่ออื่น ๆ ที่สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคยอดฮิตที่มากับฝน

เข้าสู่ฤดูฝนก็เป็นอีกหนึ่งฤดูที่จะต้องดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้ดีนอกจากเชื้อไวรัส Covid-19 ที่เราต้องคอยระวังกันเป็นอย่างดีแล้ว ก็ยังมีโรคติดต่ออื่น ๆ ที่สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม